กลูโคซามีน กระดูกอ่อน กระดูก สารสร้างกระดูก

กลูโคซามีน ชนิดไหนที่ใช่ต่อกระดูก

กลูโคซามีน ชนิดไหนที่ใช่ต่อกระดูก

ก่อนอื่นหมอ (พญ.สุมาภา ชัยอำนวย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคข้อ)  ขออธิบายคำว่า “กลูโคซามีน” กลูโคซามีน (Glucosamine) คือ สารประกอบทางเคมีที่ร่างกายผลิตได้เองจากกลูโคสธรรมชาติ มีลักษณะเป็นโมเลกุลเดี่ยว ซึ่งแปลงเป็นอนุพันธ์ขนาดเล็กกว่าโปรตีนเพื่อใช้ในการสร้างกระดูกอ่อนและเสริมสร้างข้อต่อต่างๆ ส่วนใหญ่มักพบในเปลือกกุ้ง เปลือกปู และหอยบางชนิด

กลูโคซามีนมี 3 ประเภท ดังนี้คือ กลูโคซามีนซัลเฟต (Glucosamine Sulfate) กลูโคซามีนไฮโดรคลอไรด์ (Glucosamine Hydrochloride) และ กลูโคซามีนคลอโรไฮเดรต (Glucosamine Chlorohydrate)

ทั้งนี้ในประเทศไทยนั้นมีเฉพาะ “กลูโคซามีนซัลเฟต” เท่านั้นที่ขึ้นทะเบียนเป็นยาอันตรายและสามารถใช้ในการรักษาโรคข้อเสื่อม โดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแห่งประเทศไทย (อย.) อนุญาตให้จำหน่ายได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย

ยา “กลูโคซามีน” จึงถูกใช้เป็นสารตั้งต้นเพื่อให้ร่างกายใช้สังเคราะห์ และเปลี่ยนเป็นสารประกอบสำคัญของโครงสร้างกระดูกอ่อน ด้วย เหตุผลนี้ทำให้ร่างกายของผู้ที่ได้รับยากลูโคซามีนนั้น สามารถสร้างกระดูกอ่อนขึ้นมาทดแทนกระดูกอ่อนที่มีสภาพชำรุดเสียหายได้

กลูโคซามีน กระดูกอ่อน กระดูก สารสร้างกระดูก

การทำงานของกระดูกอ่อนทำหน้าที่คล้ายทกับเบาะรองรับและป้องกันไม่ให้กระดูกตรงข้อต่อเกิดการเสียดสีกัน ส่งผลให้ลดการเกิดภาวะการสึกกร่อนของกระดูก

เห็นได้ว่าประโยชน์ของกลูโคซามีน มีผลออกฤทธิ์มากมายจากการศึกษา และผลวิจัยกับสัตว์ทดลองในห้องแล็บแต่การใช้กับร่างกายคนนั้นกลูโคซามีนออกฤทธิ์ได้เพียงบางส่วน

สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บข้อเข่าและข้อต่อ โดสปกติที่หมอแนะนำให้ควรกินคือวันละ 1,500 มิลลิกรัม ดังนั้นการออกฤทธิ์ในร่างกายคน เพื่อลดการอักเสบและอาการปวด จึงต้องมีค่าความเข้มข้นของกลูโคซามีนในเลือดสูงถึง 1,000 มิลลิกรัมต่อลิตร การรับประทานให้ถูกวิธีและสม่ำเสมอจึงมีความสำคัญมาก เพื่อให้ระดับกลูโคซามีนในเลือดสูงเพียงพอ

การศึกษาส่วนใหญ่ทำในหลอดทดลองหรือทำในสัตว์ทดลองซึ่งมีระดับกลูโคซามีนสูงมาก แตกต่างจากการรับประทานในคนจริงๆ ซึ่งระดับกลูโคซามีนในเลือดจะไม่สูงเท่า

 

 

 

 

<< อ่านต่อหน้าที่ 2 >>

© COPYRIGHT 2025 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.