เตียงคนไข้ เป็นอุปกรณ์สำคัญสำหรับผู้ป่วย ซึ่งเป็นเตียงที่ถูกออกแบบมาโดยเฉพาะ ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ที่ใช้เตียงประเภทนี้มักจะเป็นผู้สูงอายุ หรือคนที่มีโรคที่จำเป็นต้องพักฟื้นบนเตียงนานๆ ปกติแล้วผู้ป่วยทั่วไปจะไม่ซื้อเตียงประเภทนี้มาใช้เอง และผู้ที่ซื้อมาให้ส่วนใหญ่ก็คือผู้ดูแล หรือลูกๆ หลานๆ โดยสิ่งที่ต้องคำนึงถึงมากที่สุด คงจะเป็นเรื่องของคุณภาพและการใช้งานของเตียง เพราะการนอนหลับบนเตียงอย่างมีความสุข เป็นอีกหนึ่งปัจจัยต่อสุขภาพชีวิตที่ดีนั่นเอง
สำหรับผู้สูงอายุ รวมถึงผู้ป่วย ซึ่งร่างกายไม่ได้แข็งแรงพอที่จะช่วยเหลือตัวเองได้อย่างเต็มที่ การนอนเตียงธรรมดา อาจจะทำให้ไม่สามารถใช้ชีวิตได้สะดวกสบายนัก และอาจก่อให้เกิดอันตรายที่ไม่คาดคิด
วันนี้ “ชีวจิตออนไลน์” จึงอยากนำเสนอนำเสนอความรู้ในการ เลือกซื้อ เตียงผู้ป่วย หรือเตียงผู้สูงอายุ ที่สามารถปรับท่าทางได้ประเภทต่างๆ เพื่อให้ผู้อ่านได้ทราบความแตกต่าง ข้อดี ข้อเสียของ เตียงผู้ป่วย หรือเตียงผู้สูงอายุแต่ละประเภท และนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจ เลือกซื้อเตียงผู้ป่วย ได้ด้วยตนเอง
การเลือกเตียงผู้ป่วย
ในการที่จะเลือกเตียงผู้ป่วยเรามีวิธีเลือกอย่างไร เรามาดูกันค่ะ
- ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อเตียงผู้ป่วย เรามีสิ่งที่ต้องคำนึงก็คือ คนดูแลผู้ป่วยมีความแข็งแรงมากน้อยขนาดใหน นั่นหมายถึงอะไร ในการจะยกผู้ป่วยขึ้นทานข้าว แน่นอนครับ นั่นหมายถึงต้องออกแรงจำนวนมาก ในการยกตัวผู้ป่วยให้ลุกขึ้นนั่งบนเตียงผู้ป่วย เตียงผู้ป่วยไฟฟ้า จะช่วยได้มากเลยทีเดียว
- งบประมาณ แน่นอนว่าการที่จะได้เตียงผู้ป่วยที่ดีมีฟังก์ชั่นที่เยอะ นั่นก็ต้องใช้งบประมาณที่สูงตามไปด้วย
- การเคลื่อนย้าย หากเราต้องการเตียงผู้ป่วยที่เคลื่อนย้ายด้วย เราก็ต้องเลือกเตียงผู้ป่วยที่มีล้อ จะได้ทำให้เราสะดวกมากขึ้น
การแบ่งประเภทเตียงคนไข้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ เตียงคนไข้แบบมือหมุนและเตียงผู้ป่วยไฟฟ้า
1.เตียงคนไข้แบบมือหมุน พบได้ทั่วไปในโรงพยาบาล มีกลไกปรับระดับองศาหัวเตียง (หลัง) ท้ายเตียง (เข่าหรือขา) หรือระดับความสูงได้ด้วยเพลาแบบมือหมุน
2.เตียงคนไข้ไฟฟ้า มีกลไกปรับระดับองศาหัวเตียง (หลัง) ท้ายเตียง (เข่าหรือขา) หรือระดับความสูงได้ด้วยระบบมอเตอร์ใช้ไฟฟ้า 220 โวลท์ ควบคุมด้วยรีโมทมีสาย ซึ่งผู้ป่วยสามารถควบคุมการใช้งานเตียงได้ด้วยตนเองลดภาระของผู้ดูแลผู้ป่วย
เตียงผู้ป่วย ในท้องตลาดมีหลากหลาย ซึ่งคุณสมบัติของเตียงนั้นก็มีแตกต่างกันไป ดังนั้นเราจึงควรเลือก เตียงผู้ป่วย ที่ตอบโจทย์ และเหมาะสมกับการใช้งานเพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ป่วย โดยเฉพาะข้อกำหนดด้านความปลอดภัยของ เตียงผู้ป่วย มีดังนี้
- มีขนาดไม่ต่ำกว่า 90×200 เซนติเมตร
- มีความสูงจากพื้นถึงพื้นเตียง 25-40 เซนติเมตร
- ความสูงของราวกั้นเตียงเมื่อวัดจากฟูก ไม่น้อยกว่า 22 เซนติเมตร
- วัสดุที่ใช้ผลิตมีความแข็งแรง ไร้สนิม ง่ายต่อการทำความสะอาด
- ระบุน้ำหนักสูงสุดที่เตียงสามารถรับได้ (Safe working load)
การพิจารณาจากวัสดุในการผลิต ดังต่อไปนี้
- เลือกวัสดุที่ใช้ในการผลิตโดยการเลือกจากเตียง ที่ผลิตจากเหล็กเคลือบสารกันสนิม หรือสแตนเลส แต่จะต้องมีคุณสมบัติของความแข็งแรงทนทาน ไม่หลุดหรือหักง่าย
- วัสดุหัวเตียง ควรเป็นวัสดุ ที่มีน้ำหนักเบา สามารถทำความสะอาด และดูแลได้ง่าย แต่จะต้องมีความแข็งแรงทนทาน แต่เดิมผลิตจากวัสดุประเภทไม้ พลาสติก แผ่นไฟเบอร์ เป็นต้น แต่ปัจจุบันมักจะทำจากพลาสติก ABS ซึ่งเบา และมีความทนทาน สามารถผลิตได้ง่าย
- ราวกันเตียง เป็นส่วนที่ผลิตจากเหล็ก หรือสแตนเลส ที่มีความทนทาน เพราะจะเป็นตัวกั้นตัวผู้ป่วยไม่ให้ตก ระหว่างอยู่บนเตียง ควรพิจารณาจากวัสดุประเภทที่ไม่เกิดสนิมได้ง่าย เช่น เหล็ก สแตนเลส หรือพลาสติกขึ้นรูป ABS
- พื้นเตียงควรเป็นวัสดุที่มีความแน่นหนา ทนทานเป็นอย่างมาก เพราะว่ามันจะทำต้องรับน้ำหนักของร่างกายผู้ป่วยเป็นเวลานานๆ โดยมากพื้นเตียงควรทำจกวัสดุประเภทแผ่นไม้อัด และเหล็กตะแกรงซึ่งถือได้ว่าเป็นวัสดุ ที่มีความแข็งแรงทนทานมากที่สุดครับ
- การพิจารณาจากรูปแบบการใช้งานหรือพิจารณาจากผู้ป่วย เช่น หากผู้ป่วยไม่สามารถเคลื่อนที่ขึ้นลงเตียงเองได้ ควรเลือกเตียงที่สามารถปรับได้ 3 ระดับ, หากผู้ป่วยสามารถเคลื่อนที่ขึ้นลงเตียงเอไงได้ จะต้องเลือกเตียงที่ไม่เป็นอุปสรรค์ในการขึ้นลงของผู้ป่วย , หากผู้ป่วยมีอาการป่วย หรือการบาดเจ็บ ที่เสี่ยงต่อการเป็นแผลกดทับ ควรเลือกเตียงที่โปร่ง และระบายอากาศได้ดี เป็นต้น
แล้วเราควรเลือกซื้อเตียงผู้ป่วย อย่างไรดี?
- แนวทางการเลือกซื้อ เตียงผู้ป่วย หรือเตียงผู้สูงอายุ
- เตียงทำจากวัสดุที่มีความแข็งแรง ไม่เป็นสนิมได้ง่าย สามารถรับน้ำหนักได้อย่างน้อย 150 Kg เป็นต้นไป (เพราะยิ่งรับน้ำหนักได้มาก = มีความแข็งแรง อายุการใช้งานยาวนาน)
- มีระบบความปลอดภัยต่างๆ เช่น ราวข้างเตียง หริือ ระบบล๊อคล้อเตียง
- ความยาวของเตียงโดยทั่วไป จะอยู่ที่ประมาณ 180 เซนติเมตร ซึ่งเป็นความยาวที่พอเหมาะ และไม่ทำให้รู้สึกอึดอัด
- ความสูงของเตียงนอนสำหรับผู้ป่วย หรือผู้สูงอายุที่ดีนั้น ควรสูงจากพื้นประมาณ 40 เซนติเมตร หรือมีความสูงประมาณข้อพับเข่าของผู้สูงอายุ เมื่อเวลาลุกขึ้นนั่ง เพื่อที่จะยืน หรือทำกิจกรรมใดๆ จะได้วางเท้าถึงพื้นพอดี
- ความสวยงาม ก็เป็นสิ่งสำคัญ เตียงที่มีความสวยงามจะทำให้ผู้ป่วย หรือผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตที่ดี ไม่รู้สึกหดหู่ และเหมาะเป็นเฟอร์นิเจอร์สำหรับตกแต่งภายในบ้าน
- ผู้ผลิต หรือผู้นำเข้าต้องมีใบจดทะเบียนสถานประกอบการผลิต หรือนำเข้าเครื่องมือแพทย์ และหนังสือรับรองประกอบการนำเข้าเครื่องมือแพทย์ (อย.)
- โรงงานผู้ผลิตได้รับมาตรฐานการผลิตจาก อย. หรือมาตรฐาน ISO 13485 (มาตรฐานคุณภาพการผลิตเครื่องมือแพทย์)
- มีมาตรฐาน IEC 60601-2-38 (มาตรฐานเตียงผู้ป่วย) หรือ IEC 60601-2-52 (มาตรฐานประสิทธิภาพการใช้งาน)
- พิจารณาตามความต้องการของผู้ใช้งาน
ใครที่กำลังมองหา หรือกำลังตัดสินใจไม่ได้ว่าจะเลือกซื้อเตียงผู้ป่วย ให้คนที่เรารักด้ำใช้งานอย่างไร เราหวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์ต่อผู้อ่านไม่มากก็น้อยนะคะ
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ