ถ้าพูดถึงน้ำบูดู บางคนอาจจะงง เอ๊ะ…!! มันคืออะไรนะ ? หน้าตาเป็นอย่างไร ? เอาไว้ทำอะไรได้บ้าง ?
น้ำบูดู เป็นวิธีการถนอมอาหารโดยภูมิปัญญาชาวบ้าน ของคนรุ่นก่อน อีกทั้งยังเป็นอาหารพื้นบ้านของชาวปักษ์ใต้ ลักษณะคล้ายน้ำปลา แต่ข้นกว่า นิยมนำไปทำอาหารใต้อร่อย ๆ หลายเมนู เช่น ข้าวยำน้ำบูดู บูดูทรงเครื่อง บูดูหลน โดยต้องนำน้ำบูดูไปเคี่ยวด้วยความร้อน และปรุงรสด้วยน้ำตาล เพื่อให้พอมีรสหวาน สามารถนำมาปรุงรสชาติต่อได้ตามต้องการ
กรรมวิธีในการทำน้ำบูดู
วัตถุดิบที่นำมาทำ คือปลาที่มีขนาดเล็ก เช่น ปลาไส้ตัน ปลากะตัก นำมาล้างให้สะอาด หมักกับเกลือ แล้วนำไปหมักใส่ไว้ในบ่อซีเมนต์ ที่ชาวบ้านเรียกว่า “บ่อบูดู”
บ่อบูดู มีลักษณะเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 เมตรและสูง 1 เมตร เมื่อทำเสร็จแล้วจะโรยเกลือปิดส่วนบน และใช้ไม้ไผ่สานกดทับไม่ให้ปลาลอย และปิดปากบ่อให้แน่นเพื่อไม่ให้อากาศเข้าไป โดยจะเปิดช่องเอาไว้นิดนึง เพื่อให้แก๊สที่เกิดจากการหมัก ไม่สามารถดันฝาเปิดออกมาได้ จากนั้นก็ตากแดดเป็นเวลา 8-12 เดือน โดยไม่เปิดบ่อบูดูและป้องกันไม่ให้น้ำในหน้าฝนเข้าไปในบ่อ เพราะจะทำให้บูดูเป็นสีดำและมีกลิ่นเหม็น เมื่อครบกำหนดเวลาเปิดบ่อแล้วจึงทำการแยกส่วนใสออกจากส่วนขุ่น โดยส่วนใสเรียกกว่า “น้ำบูดูใส” ส่วนบูดูที่มีเนื้อปะปนอยู่ในบ่อ จะถูกนำไปผลิตเป็น “น้ำบูดูข้น” บรรจุใส่ขวดเพื่อให้เก็บไว้ได้นาน
ทีนี้ เราก็รู้ที่มาของน้ำบูดูกันแล้ว นั่นก็มาจาก ชื่อบ่อนั่นเอง “บ่อบูดู” ที่เอาไว้หมัก หวังว่า เพื่อน ๆ คงหายสงสัย กันแล้วใช่ไหมคะ แต่ถึงอย่างไร หากเพื่อน ๆ กลัวไม่สะอาด ขอแนะนำให้ทำสุกก่อนนำไปปรุงอาหารกันนะคะ
#ACuisine #เอควิซีน #CherryKitCook #Recipes
อยากกิน อยากฟิน อยากทำ อย่าลืมติดตาม A Cuisine (เอควิซีน)
📌Website: https://cheewajit.com/healthy-food
📌Messenger : http://m.me/AcuisineTH
📌Instagram : www.instagram.com/acuisine.th/
📌Pinterest : www.pinterest.com/AcuisineTH/