เมื่อพูดถึง “วิตามินดี” หลายคนก็คงจะนึกถึงแสงแดด ผิวหนัง กระดูก อาหารเสริมวิตามิน เป็นต้น ซึ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างเสริมวิตามินดีของเรา แต่ทราบหรือไม่ว่า คนเรามีความต้องการวิตามินดีที่แตกต่างกันและประโยชน์หลักของวิตามินดีคือการป้องกันกระดูกไม่ให้เป็นกระดูกพรุน ซึ่งนับว่าเป็นภัยเงียบที่เกิดขึ้นในคนไทย โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มักพบปัญหาเรื่องกระดูกได้ง่าย
โดยในวันนี้เราจึงอยากมาพูดกันถึงเรื่องนี้ เพราะบางทีคนมักจะรู้แค่ว่าวิตามินดี ต้องดีกับร่างกาย บางคนเข้าใจผิดคิดไปว่าอยากได้วิตามินดีก็แค่พาร่างกายออกไปตากแดด ซึ่งนั่นเป็นความเข้าใจที่ผิดค่ะ
มีเรื่องราวเกี่ยวกับงานวิจัยวิตามินดีผ่านแพทย์นักวิจัย 3 ท่าน ได้แก่ ศ.นพ.บุญส่ง องคพิพัฒนกุล รองคณบดีฝ่ายวิจัย คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล รศ.พญ.ณัฏฐารัชตะนาวิน หัวหน้าหน่วยโรคผิวหนัง ภาควิชาอายุรศาสตร์คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดลและ ผศ.พญ.หทัยกาญจน์ นิมิตพงษ์ สาขาวิชาต่อมไร้ท่อ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีมหาวิทยาลัยมหิดล เกี่ยวกับเรื่องของ “วิตามินดี” เอาไว้ ดังนี้
ศ.นพ.บุญส่ง องคพิพัฒนกุล รองคณบดีฝ่ายวิจัย คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวเอาไว้ว่า วิตามินดีอาจเรียกได้ว่าเป็นวิตามินเดียวที่ร่างกายเราสามารถสร้างเองได้ มีความสำคัญต่อร่างกายช่วยทำให้แคลเซียมที่รับประทานเข้าไปสามารถดูดซึมได้ดียิ่งขึ้น และอย่างที่ทราบกันว่าแคลเซียมมีความสำคัญต่อกระดูกของร่างกาย หากขาดวิตามินดีก็จะทำให้แคลเซียมดูดซึมและมีผลดีต่อกระดูกไม่ได้เต็มที่ นอกจากนี้การศึกษาในระยะหลังยังพบว่าวิตามินดีสัมพันธ์กับโรคอื่น ๆ บางชนิดที่ไม่เกี่ยวข้องกับกระดูกด้วย
ข้อมูลจากการสำรวจสุขภาพประชากรไทยของ ศ.นพ.วิชัย เอกพลากร ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีมหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า ประชากรไทยบางแห่งมีการขาดวิตามินดีมาก บางแห่งขาดวิตามินดีน้อยไม่เท่ากัน ซึ่งในเขตเมืองจะขาดวิตามินดีมากกว่าเขตนอกเมือง ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีการขาดวิตามินดีน้อยกว่าในภาคกลาง อาจเป็นเพราะรูปแบบการใช้ชีวิตและการถูกแดดที่ไม่เหมือนกัน นอกจากนี้ยังพบอีกว่าคนกลุ่มอายุน้อยจะขาดวิตามินดีมากกว่าซึ่งข้อมูลนี้จะตรงกันกับประเทศในเอเชียอย่างเช่น เกาหลีใต้และ มาเลเซีย อาจเป็นเพราะว่าประชากรวัยหนุ่มสาวแถบนี้ มีแนวที่จะหลบแดดกันมากกว่าผู้สูงอายุซึ่งแตกต่างจากประเทศทางตะวันตก
อาหารที่มีวิตามินดีสูงนั้นหาได้ยากในบางโอกาสหากถูกแสงแดดเพียงพอไม่ได้ก็อาจจำเป็นต้องรับประทานวิตามินดีเสริม เมื่อรับประทานวิตามินดีเสริมในปริมาณที่เพียงพอ ก็จะได้รับวิตามินดีพอ ประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจคือ ทำอย่างไรให้ทราบว่าขาดวิตามินดีโดยที่ไม่ต้องเจาะเลือดตรวจ ซึ่งเสียค่าใช้จ่ายมาก หรือการคัดกรองผู้ที่จำเป็นต้องเจาะเลือดตรวจอย่างไร เหล่านี้เป็นประเด็นที่ทางกลุ่มวิจัยกำลังดำเนินการเพื่อให้ได้แนวทางกันอยู่
ด้าน รศ.พญ.ณัฏฐา รัชตะนาวิน หัวหน้าหน่วยโรคผิวหนัง ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เราทราบว่าวิตามินดีสร้างได้จากผิวหนัง หากเราจะสัมผัสแสงแดดให้ผิวหนังสร้างวิตามินดีได้นั้น ต้องให้ผิวหนังสัมผัสแสงแดดโดยตรง ไม่มีเสื้อผ้ามาปกปิด ทางกลุ่มวิจัยพยายามหาคำตอบว่าคนไทยควรจะถูกแสงแดดอย่างไรเพื่อให้ได้วิตามินดีเพียงพอโดยได้เริ่มทำการวิจัยในช่วงเดือนเมษายนซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีแสงแดดมาก แต่ด้วยอากาศที่ค่อนข้างร้อนกว่า40 องศาเซลเซียส ทำให้ไม่สามารถนั่งตากแดดเพื่อทำวิจัยได้
จึงเปลี่ยนมาทำในช่วงฤดูหนาวโดยกำหนดให้อาสาสมัครใส่เสื้อแขนสั้น นุ่งกระโปรงให้เขาเปิดเผยส่วนและแขน ในท่าทางอิริยาบถใดก็ได้ท่ามกลางแสงแดดเป็นเวลา 15 นาทีสัปดาห์ละ2ครั้งจากนั้นจะทำเจาะเลือดเพื่อตรวจวัดระดับวิตามินดีซึ่งผลก็คือระดับวิตามินดีไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเลย
จากข้อมูลนี้ก็ทำให้ทราบว่า หากจะแก้ไขในส่วนนี้อาจต้องตากแดดบ่อยขึ้นและเปิดเผยผิวหนังมากขึ้น เพราะการเพิ่มพื้นที่รับแสงจะช่วยเพิ่มการสร้างวิตามินดีได้ รูปแบบการใช้ชีวิตและทัศนคติของสังคมไทยปัจจุบันแตกต่างกันทางตะวันตกเราไม่มีเหมือนฝรั่ง เมื่อมีแดดฝรั่งก็จะออกไปตากแดดแต่คนไทยเรากางร่มหลบแดดฉะนั้น การที่จะให้ข้อแนะนำในการตากแดดเพิ่มขึ้นเพื่อป้องกันการขาดวิตามินก็อาจจะไม่เหมาะสมและมีอาจอุปสรรคซึ่งต้องค้นคว้าหาวิธีการที่เหมาะสมต่อไป นอกจากนี้หากมองไปในอนาคตจะมีความเป็นห่วงเด็กรุ่นหลังมาก เพราะว่าเกิดมาในสมัยที่ไม่ค่อยกล้าสัมผัสแสงแดด
ไม่ว่าจะเล่นกีฬา ว่ายน้ำก็อยู่ในที่ร่มหมด ต่างจากเด็กสมัยก่อนที่จะวิ่งเล่น ตากแดด เพราะร่างกายจะสร้างกระดูกในช่วงอายุ20 ปีแรกฉะนั้น วิตามินดีจะมีความสำคัญมากในการเสริมสร้างกระดูกและการเติบโต หากยังกลัวแดดจนเกินเหตุการแก้ไขปัญหาการขาดวิตามินดีก็จะยังไม่เห็นผลในคนไทย
ผศ.พญ.หทัยกาญจน์ นิมิตพงษ์ สาขาวิชาต่อมไร้ท่อ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล จนถึงปัจจุบันเรายังตอบไม่ได้ชัดเจนว่า ทำอย่างไรจึงจะลดปัญหาการพร่องวิตามินดีในประชากรไทยได้อย่างเหมาะสม การเจาะเลือดตรวจวัดระดับวิตามินดีมีความจำเป็นมากน้อยเพียงใด มีความคุ้มทุนในการเจาะหรือไม่และวิธีการแก้ไขปัญหาการขาดวิตามินดีสามารถทำได้จริงหรือเปล่าตรงนี้เรายังค้นหาคำตอบจากการวิจัยกันอยู่แต่สำหรับใครที่มีรูปแบบชีวิต HealthyLifestyle อยู่แล้วก็ให้คงเช่นเดิมไว้เพราะเชื่อว่าจะคงระดับวิตามินดีไว้ได้ดีกว่า
ส่วนคำถามวิจัยที่ว่า จำเป็นแค่ไหนที่จะต้องกำหนดให้มีวิตามินดีเสริมในอาหารและการรับประทานอาหารที่ผสม วิตามินดีจะทำให้เด็กไทยมีระดับวิตามินดีและกระดูกดีขึ้นเมื่อโตขึ้นหรือไม่อันนี้ก็เป็นคำถามวิจัยที่ต้องการการศึกษาระยะยาว นอกจากกระดูกแล้ววิตามินดีจะมีความเกี่ยวข้องกับโรคเบาหวาน โรคอ้วน และโรคอื่นอีกด้วยหรือไม่ประเด็นนี้ยังเป็นเรื่องที่ทั่วโลกกำลังศึกษากันอยู่
อย่างไรก็ตามประโยชน์ของวิตามินดีนั้นก็ยังคงมีอยู่อย่างมากมายซึ่งไม่เพียงแต่เฉพาะในกระดูก แต่มีผลสำคัญในระบบอื่นๆด้วย ดังนั้น และเพื่อเป็นการป้องกันการขาดวิตามินดี เราจึงควรเลือกรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินดีสูง ร่วมกับ ปรับวิถีการดำเนินชีวิต เช่น ออกสัมผัสแสงแดดยามเช้า อะไรดีๆ ก็ควรเอาเข้าสู่ร่างกาย ด้วยปริมาณที่พอดีด้วยค่ะ
ข้อมูลจาก: คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีมหาวิทยาลัยมหิดล
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ