ภาวะติดน้ำตาล

ภาวะติดน้ำตาล ตัวการแก่เร็ว เซลล์เสื่อมอายุ

ภาวะติดน้ำตาล ภัยจากของหวานที่ไม่ควรมองข้าม

เชื่อว่าของหวานนั้นเป็นอาหารโปรดของใครหลายๆ คน โดยเฉพาะสาวๆ การกินหวานนิดๆหน่อยๆ หรือกินพอหายอยากเป็นบางครั้งนั้นไม่ใช่เรื่องน่ากังวลเท่าไรนัก แต่หากกินปริมาณมากๆ จนเคยชิน ต้องกินเป็นประจำทุกวัน ควรระวัง ภาวะติดน้ำตาล ไว้ด้วย

ของหวานทำเสียสุขภาพ

อากาศร้อนๆ ของเมืองไทย การเลือกรับประทานอาหารที่มีรสชาติหวานและมีความเย็น ทั้งนี้เพื่อช่วยดับกระหายคลายร้อน ซึ่งอาจจะมีรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป ยกตัวอย่างเช่น ไอศกรีม ผลไม้ลอยแก้ว น้ำแข็งไส น้ำหวาน และน้ำอัดลม เป็นต้น จนเกิดเป็นความเคยชินว่าอาหารและเครื่องดื่มที่มีรสหวานจะทําให้รู้สึกสดชื่น กระปรี้กระเปร่า หากไม่ได้รับประทานของหวานก็จะรู้สึกไม่มีแรง อ่อนเพลีย หงุดหงิด เราเรียกลักษณะอาการนี้ว่า ภาวะติดนํ้าตาล

และเมื่อร่างกายได้รับน้ำตาลในปริมาณมากเกินความต้องการ น้ำตาลเหล่านั้นก็จะแปรรูปเป็นไขมันสะสมไปทั่วร่างกาย ผลที่ตามมาก็คือการเกิดโรคอ้วน โรคเบาหวาน อีกทั้งยังเพิ่มอัตราความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดอีกด้วย

มาทําความรู้จักกับ Glycation และ AGEs

การรับประทานของหวานในปริมาณมากเป็นประจํานั้นส่งผลให้ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ก่อให้เกิดปฏิกิริยาไกลเคชั่น (Glycation) อันเป็นสาเหตุของความชราก่อนวัยอันควร เนื่องจากโมเลกุลของน้ำตาลที่เรารับประทานเข้าไปจะไปเกาะติดกับโปรตีน ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักของอวัยวะรวมถึงเซลล์ต่างๆ ภายในร่างกาย ก่อให้เกิดสารตัวหนึ่งที่เรียกว่า AGEs (Advanced Glycation End-Products )

เมื่อสารตัวนี้ผ่านเข้าสู่เซลล์ต่างๆ ของร่างกายก็จะส่งผลให้เซลล์บริเวณนั้นตายหรือเสื่อมสมรรถภาพในการทําางานลง จากการวิจัยพบว่า AGEs เป็นตัวทําาลายคอลลาเจนรวมไปถึงใยโปรตีนในผิวหนัง ส่งผลให้เกิดริ้วรอยและมีจุดด่างดําตามมา นอกจากนี้ยังมีผลกระทบต่อเซลล์สมองก่อให้เกิดโรคอัลไซเมอร์ อีกทั้งยังเป็นสาเหตุของโรคความดันโลหิตสูง เนื่องจากโมเลกุลของน้ำตาลที่ไปเกาะโปรตีนในหลอดเลือดนั้นส่งผลให้ความยืดหยุ่นของหลอดเลือดลดลง

7 วิธีลดหวาน ต้านแก่

เลือกดื่มน้ำเปล่าแทนน้ำหวาน

น้ำทำหน้าที่ในการกําาจัดของเสียออกจากร่างกาย และอีกทั้งยังให้ความชุ่มชื้นแก่เซลล์ โดยปกติเราควรดื่มนํา้าวันละ 8 แก้วขึ้นไป การดื่มน้ำน้อยนอกจากจะทำให้ผิวไม่สดใสแล้วยังส่งผลให้อวัยวะต่างๆ ทําางานหนักอีกด้วย

รับประทานผลไม้สดแทนขนมหวาน

ผลไม้นั้นมีวิตามิน เกลือแร่ และใยอาหารที่ช่วยในการขับถ่าย ผลไม้มีรสหวานจากฟรักโทส (fructose) และกลูโคส สามารถช่วยทำให้ร่างกายสดชื่นโดยที่ไม่ต้องรับน้ำตาลในปริมาณที่มากเกินไป

เลือกชนิดของขนมหวานที่จะรับประทาน

ในกรณีที่หลีกเลี่ยงการรับประทานขนมหวานไม่ได้ แนะนําาให้เลือกชนิดของอาหารที่จะนําามาประกอบเป็นของหวาน ยกตัวอย่างเช่น น้ำแข็งไสหรือหวานเย็น ควรรับประทานควบคู่กับธัญพืชที่มีใยอาหารสูง ประเภท ลูกเดือย ถั่วแดง ถั่วเขียว ข้าวโพด เป็นต้น ใยอาหารมีส่วนช่วยในการชะลอการดูดซึมน้ำตาลเข้าสู่ร่างกาย ทำให้อิ่มท้องได้นาน ลดความอยากของหวาน และลดความอ้วนได้ดี

หลีกเลี่ยงหรือลดปริมาณการเติมนํ้าตาล

เลี่ยงหรือลดปริมาณการเติมน้ำตาลลงในอาหารและเครื่องดื่ม ในที่นี้หมายถึงนํา้าตาลทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็น นํา้าตาลทราย นํา้าตาลทรายแดง น้ำผึ้ง ไซรัป และไฮฟรักโทสคอร์นไซรัป (high fructose corn syrup) หรือ น้ำตาลที่สกัดจากข้าวโพดเป็นต้น

บ้วนปากทุกครั้งหลังรับประทานของหวาน

เนื่องจากความรู้สึกที่สัมผัสได้ถึงความหวานจากต่อมรับรสชาติภายในช่องปากจะส่งผลให้เกิดความอยากอาหาร และยังเป็นสาเหตุหลักที่ทําาให้ฟันผุ เพราะแบคทีเรียที่ยังคงหลงเหลืออยู่หลังจากรับประทานอาหารจะทําาลายผิวเคลือบฟัน

อ่านฉลากโภชนาการข้างบรรจุภัณฑ์

การอ่านฉลากเป็นเรื่องสำคัญ โดยควรมองที่บรรทัดน้ำตาล หากผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีปริมาณ น้ำตาลมากกว่า 15 กรัม (3 ช้อนชา) ก็ควรจะหลีกเลี่ยง นอกจากนั้นยังควรระวังเรื่องโซเดียมด้วย

ให้เวลาร่างกายในการปรับตัว

ร่างกายของเราจะใช้เวลาประมาณ 10 วัน ในการปรับสภาพลิ้นที่ติดรสชาติอาหารหวาน ดังนั้นเมื่อเวลาผ่านไปก็จะทําให้ความต้องการน้ำตาลลดลง

ถึงแม้ว่าการรับประทานน้ำตาลมากเกินจะเป็นปัจจัยของโรคเรื้อรังต่างๆ และยังเป็นสาเหตุของความชราก่อนวัยอันควร อย่างไรก็ตามน้ำตาลก็ยังเป็นสิ่งที่มีประโยชน์และจําเป็นต่อร่างกาย โดยมีทําหน้าที่หลักในการให้พลังงาน อีกทั้งยังเป็นอาหารสมองสําหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน เมื่อเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ การดื่มน้ำหวานหรืออม ลูกอมก็สามารถทําให้อาการดีขึ้นได้ ในผู้ที่สูญเสียเหงื่อหรือมีอาการท้องเสีย การรับประทานของหวานก็จะทําให้รู้สึกสดชื่นขึ้น ไม่อ่อนแรง

เพราะฉะนั้นหากเราเลือกรับประทานนํ้าตาลในปริมาณที่เหมาะสมให้ถูกต้องตามปัจจัยแวดล้อมของแต่ละบุคคลอันประกอบไปด้วยอายุ เพศ นํ้าหนัก ส่วนสูง และกิจกรรมระหว่างวันก็จะทําให้ร่างกายไม่ขาดสมดุลและไม่ก่อให้เกิดความชราก่อนวัยอันควร

สัญญาณอันตราย เบาหวานมาเยือน

หากปล่อยให้เกิดภาวะติดน้ำตาลเป็นเวลานาน แน่นอนว่าการกินน้ำตาลบ่อยๆ จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง หากปล่อยไว้ไม่ดูแลจะส่งผลเสียต่อหลอดเลือดแดงทั่วร่างกาย ทําให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ ตามมา เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง โรคเบาหวานขึ้นจอตาและไตวาย เราสามารถเช็กอาการผิดปกติที่เกิดจากโรคเบาหวาน ได้ดังนี้

  1. เหนื่อยหรืออ่อนเพลีย
  2. ผิวหนังแห้งและคัน
  3. มีความอยากอาหารมากขึ้น
  4. แผลหายช้า
  5. กระหายน้ำบ่อย
  6. ครั่นเนื้อครั่นตัวเหมือนเป็นไข้
  7. ปัสสาวะบ่อย
  8. ปวดศีรษะ
  9. ตาพร่ามัว

ข้อมูลจาก บทความออนไลน์ นิตยสารวาไรตี้เพื่อสุขภาพ โดย ดร.ฉัตรภา หัตถโกศล อาจารย์ประจําภาควิชาโภชนาทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

เรื่องอื่นๆ ที่น่าติดตาม

รวม FAD DIETS เทรนด์ อาหารลดน้ำหนัก หุ่นดี ไม่เสียสุขภาพ

“หวานจัด เค็มจัด มันจัด” 3 อาหารรสจัด ส่งผลเสียต่อสุขภาพได้อย่างไรบ้าง

ทำไมกิน “น้ำตาล” มากๆ ก็ทำให้เป็นโรคไตได้ คำอธิบายของ เบาหวานลงไต

ติดตามชีวจิตได้ที่

Instagram Cheewajitmedia
Facebook นิตยสารชีวจิต

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.