หัวใจล้มเหลวภัยเงียบที่ไม่ส่งสัญญาณ
ปัจจุบันมีผู้ป่วยที่เป็นภาวะ หัวใจล้มเหลว เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ซึ่งหลาย ๆ คนนั้นมีสาเหตุมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่ระมัดระวัง ซึ่งเมื่อก่อนโรคนี้ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุเสียส่วนมาก แต่ปัจจุบันพบว่า ภาวะหัวใจล้มเหลวไม่ได้เกิดแค่ในเฉพาะผู้สูงอายุเท่านั้น แต่ในกลุ่มคนที่อายุยังน้อย ร่างกายแข็งแรง ก็สามารถเกิดภาวะนี้ได้เช่นกัน
แต่ผู้ที่จัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงของการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวโดยตรง คือ ผู้ที่มีภาวะอ้วน ผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำ ผู้ที่ขาดการออกกำลังกาย และพักผ่อนไม่เพียงพอ และผู้ที่มีภาวะไขมันในเลือดสูง ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น ความดันโลหิตสูง, เบาหวาน
แต่วันนี้เราอยากมาพูดกันถึงงเรื่องภาวะหัวใจล้มเหลวที่เกิดขึ้นในผู้สุงอายุ นั่นเพราะเป็นโรคฮิตที่คร่าผู้สูงอายุ ถือเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของผู้สูงอายุที่เรามักได้ยินบ่อยจนคุ้นหู และถือเป็นภัยใกล้ตัวกว่าที่คิด เพราะที่จริงแล้วไม่ว่าคุณจะอายุเท่าไรก็สามารถเผชิญหน้ากับภาวะนี้ได้ทั้งนั้น คุณจึงควรทำความรู้จักกับโรคนี้ให้ดียิ่งขึ้น จะได้หมั่นคอยดูแลและรักษาดวงใจของทั้งตัวเองและคนใกล้ชิดได้อย่างทันท่วงที
หัวใจล้มเหลวเป็นภาวะที่หัวใจทำงานผิดปกติ โดยไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงเนื้อเยื่อและอวัยวะต่างๆ ของร่างกายได้อย่างเพียงพอต่อความต้องการ และไม่สามารถรับเลือดกลับเข้าสู่หัวใจได้ตามปกติ พูดง่ายๆ ว่าการทำงานของหัวใจบกพร่องและล้มเหลวสมชื่อนั่นเอง
สาเหตุเกิดจากอะไรของภาวะหัวใจล้มเหลวเกิดจากอะไร?
ภาวะหัวใจล้มเหลวที่พบบ่อยนั้น มักเกิดจากหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบ โดยผู้ป่วยมักมีประวัติเจ็บและแน่นหน้าอกมาก่อน และในกรณีที่ผู้ที่มีหลอดเลือดหัวใจตีบตันอย่างเฉียบพลัน จะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและตายไปบางส่วน และถ้าบริเวณที่ตายกินบริเวณกว้าง ก็อาจจะเกิดภาวะหัวใจวายเฉียบพลันได้
แต่อย่าเพิ่งตกใจไปค่ะ เพราะภาวะหัวใจล้มเหลวไม่ได้เกิดอาการแบบเฉียบพลันเสมอไป สำหรับบางคนอาการก็ไม่ได้เกิดขึ้นแบบรุนแรง ดังนั้น การสังเกตอาการจึงมีความสำคัญมาก โดยลักษณะอาการที่เด่นชัดคือ แน่นหน้าอกเหมือนถูกกดหรือบีบประมาณ 2 – 3 นาที บางคนเป็นต่อเนื่อง บางคนเป็นๆ หายๆ
ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวส่วนใหญ่จะมีอาการเหนื่อยง่ายเวลาออกแรง เมื่อมีอาการเพิ่มมากขึ้น จะมีอาการเหนื่อยเมื่ออยู่เฉย ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลานอนราบจะมีอาการหายใจไม่ออก หลายรายมีอาการบวมกดบุ๋มที่บริเวณหลังเท้าและหน้าขา มีอาการท้องโต รับประทานอาหารแล้วอิ่มง่ายเนื่องจากมีภาวะคั่งของน้ำและเลือดในตับ ทำให้เกิดภาวะตับโตและน้ำในช่องท้อง ผู้ป่วยบางรายจะมีอาการอ่อนเพลีย เนื่องจากมีเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายไม่เพียงพอ
แต่ถ้าพบว่ามีอาการลักษณะนี้ควรรีบพบแพทย์ทันที ก่อนที่อาการจะแย่ลงและลามไปที่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย
ผู้ป่วยที่มีนอกจากการรับประทานยา และมาพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอแล้ว การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตของผู้ป่วย ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เนื่องจากจะช่วยให้อาการของผู้ป่วยดีขึ้นได้ ผู้ป่วยควรงดอาหารที่มีรสเค็ม หรือมีส่วนประกอบของโซเดียม และควรทำการสำรวจภาวะน้ำและเกลือคั่งเป็นประจำทุกวัน โดยหากมีอาการบวมกดบุ๋ม หรือน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุควรรีบพบแพทย์ รวมทั้งงดสูบบุหรี่และงดดื่มแอลกอฮอล์ ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอโดยเริ่มทีละน้อย เช่น การเดินบนทางราบ และหากมีอาการเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย รู้สึกไม่สบาย ควรงดออกกำลังกาย
เช็กอาการว่าเคยเกิดอาการแบบนี้หรือเปล่า
ผู้สูงอายุสามารถสังเกตตัวเองได้ว่ากำลังมีโอกาสเสี่ยงต่อภาวะนี้หรือไม่ ลองเช็กดูว่าคุณเคยเกิดอาการแบบนี้หรือเปล่า เช่น อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย อึดอัด หายใจลำบากเมื่อออกกำลังกาย หรือหายใจลำบากเมื่อนอนหงาย ตื่นขึ้นกลางดึกเพราะไอ หรือหายใจลำบาก เข้าห้องน้ำบ่อยตอนกลางคืน ขาบวม เมื่อลองกดแล้วบุ๋มทั้งสองข้าง ฯลฯ หากพบว่ามีอาการเหล่านี้ควรพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพโดยด่วน
ภาวะหัวใจล้มเหลวก็ไม่ต่างจากหลายโรคที่เราสามารถป้องกันได้ ด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มเหล้า ไม่กินอาหารที่มีไขมันสูง ฯลฯ
ต้องไม่ลืมว่า ผู้ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวหากไม่รู้ตัวอาจเกิดอันตรายถึงชีวิต แต่ถ้ารู้สาเหตุก็จะช่วยป้องกันตนเองได้ทัน
ข้อมูลประกอบจาก: คณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
เจ็บป่วยเรื้อรัง ตัวการทำอารมณ์แปรปรวน
รู้จัก “โรคหัวใจขาดเลือด” ที่เกิดจากหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจตีบหรือตัน
ตามไปดูเคล็ดลับเสริมหัวใจแข็งแรง แม้ว่าจะสูงวัย!