3 เมนูทำเองได้ที่บ้าน เกราะป้องกันสุขภาพสู้โรค(โควิด) !
ต้องยอมรับว่าวิกฤต COVID-19 ระลอกนี้ยาวนานและรุนแรงกว่าที่เคย แต่จะทำอย่างไรให้เราทุกคนมีภูมิคุ้มกันทางสุขภาพที่ดีขึ้น โดยเฉพาะการเลือกรับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ ที่เป็น เมนูทำเองได้ที่บ้าน คู่ขนานไปกับการเข้ารับวัคซีนจากศูนย์ฉีดวัคซีนโควิด-19 ที่รัฐบายกระจายจุดให้บริการในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ
ในวันนี้ทาง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) โดย ผศ. ดร.นภัสรพี เหลืองสกุล หัวหน้าศูนย์วิจัยและพัฒนาทางอุตสาหกรรมอาหาร และอาจารย์ประจำคณะอุตสาหกรรมอาหาร ขอแนะนำ 6 เมนูต้นแบบที่สามารถทำทานเองง่าย ๆ ได้ที่บ้าน แถมมีสารสำคัญแฝงอยู่ในวัตถุดิบ (Ingredient) ที่มีส่วนกระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกาย และช่วยป้องกันโควิด-19
ผัดผักสี่สหาย
เริ่มต้นด้วยเมนูสุดน่ารักเหมาะสำหรับน้อง ๆ หนู ๆ หรือคนที่ไม่ทานเผ็ด เรียกได้ว่าใคร ๆ ก็สามารถทำเมนู ‘ผัดผักสี่สหาย’ ได้ เพียงแค่มี แครอท ข้าวโพดอ่อน บรอกโคลี เห็ดฟาง (หรือจะเสริมด้วยผักชนิดอื่นที่ชื่นชอบ) และซอสปรุงรสตามใจชอบ ที่มาพร้อมคุณค่าทางโภชนาการสูง จากการรวมตัวของสารสำคัญที่ได้จากผักทั้งสี่ชนิด เช่น ‘เบต้าแคโรทีน’ (Beta-Carotene) จากแครอทและข้าวโพดอ่อน ที่มีส่วนช่วยต้านการอักเสบ ป้องกันมะเร็ง เพิ่มระบบภูมิคุ้มกัน ‘ซัลโฟราเฟน’ (Sulforaphane) จากบรอกโคลี ที่มีฤทธิ์ต้านไวรัสหวัด แถมมีเส้นใยอาหารสูงที่ช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน ‘โวฟลาทอกซิน’ (Vovatoxin) จากเห็ดฟาง ที่มีส่วนช่วยป้องกันการเติบโตของไวรัส ที่ทำให้เกิดไข้หวัดใหญ่ ช่วยลดปัญหาเกี่ยวกับไขมันในเส้นเลือดและโรคหัวใจ
ทอดมันเห็ด
อีกหนึ่งเมนูที่เมื่อดูภายนอกแล้ว เหมือนจะเตรียมวัตถุดิบไม่มากนักกับ ‘ทอดมันเห็ด’ เพราะมีเพียงทอดมันเห็ดและน้ำจิ้ม แต่เมื่อเปิดสูตรจะพบว่ามีวัตถุดิบค่อนข้างเยอะเลยทีเดียว โดยเมนูนี้จะโดดเด่นด้วยสารสำคัญจากเห็ดสองชนิด อย่าง เห็ดนางฟ้า ที่มาพร้อม ‘สารซีลีเนียม’ (Selenium) สารสำคัญที่มีส่วนช่วยต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันโรคอัลไซเมอร์ ลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและเส้นเลือดในสมองตีบ ‘เบต้า-กลูแคนส์’ (beta-glucans) มีฤทธิ์ปรับภูมิคุ้มกันและลดความรุนแรงของหวัด เห็ดเข็มทอง ที่มี ‘เฟลมมูลิน’ (Flammulin) ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง ลดคอเลสเตอรอลในร่างกาย และดักจับไขมันส่วนเกินในเลือด นอกจากนี้ ยังมีสารสำคัญจำนวนมากที่ได้รับจากวัตถุดิบอื่น ๆ เช่น ‘แกมป์เฟโรล’ (Kaempferol) ‘เควอซิทีน’ (Quercetin) และ‘กาแลนจิน’ (Galangin) จากข่า ที่เมื่อจำลองภาพสามมิติในคอมพิวเตอร์ พบว่าสามารถแย่งจับกับตำแหน่งที่ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ 2019 จะเข้าสู่เซลล์ปอด และตำแหน่งที่มีผลยับยั้งการแบ่งตัวของไวรัสได้
ผัดฉ่าทะเล
เมนูที่ให้ความเผ็ดร้อนและอาจจะทำให้คุณต้องน้ำตา รวมถึงพ่อครัว/แม่ครัวมือใหม่อีกด้วย เพราะต้องเตรียมวัตถุดิบประกอบอาหารเกือบสิบอย่าง ! กับ ‘ผัดฉ่าทะเล’ แต่เมื่อได้ทานแล้วจะได้รับสารอาหารมากมาย นอกเหนือจากสารอาหารที่ได้รับจากกระชาย ใบมะกรูด และข้าวโพดอ่อน ในเมนูก่อนหน้านี้ เช่น ‘พิเพอรีน’(Piperine) จากพริกไทยอ่อน ช่วยเพิ่มการไหลเวียนเลือดของผู้ทาน ‘แคพไซซิน’ (Capsaicin) ในพริกชี้ฟ้า ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียในกระเพาะอาหาร ‘อัลลิซิน’ (Allicin) จากกระเทียม ต้านการอักเสบและอนุมูลอิสระ ช่วยยับยั้งการแบ่งตัวของไวรัสโคโรนา 2019 อีกทั้งยังป้องกันไม่ให้ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูง ‘โอเรียนทิน’ (Orientin) ‘ไวซีนิน’ (Vicenin) จากใบกะเพรา ช่วยรักษาหวัด แก้ปวดศีรษะ คลายเครียด มีฤทธิ์ต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ ต้านเชื้อแบคทีเรีย ช่วยป้องกันไม่ให้ไวรัสเข้าเซลล์
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
ข้าวกล้องแก้โรคหัวใจ + ปลากะพงย่าง เมนูอาหารสุขภาพชีวจิต
รู้หรือไม่ เราปรับอาหารสำเร็จรูปให้เป็นอาหารสุขภาพได้ด้วย!
กินอาหารสุขภาพ ปรับสมดุลกระเพาะอาหารและร่างกายโดยรวม