เห็ดหลินจือแดง

เห็ดหลินจือแดง เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน สมุนไพรมหัศจรรย์จากสารสกัดธรรมชาติ

เห็ดหลินจือแดง .. เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน สมุนไพรมหัศจรรย์จากสารสกัดธรรมชาติ

เห็ดหลินจือฉายา ราชาแห่งสมุนไพร สัญลักษณ์แห่งความเป็นสิริมงคล และยังเป็นสมุนไพรที่วงการแพทย์แผนจีน ให้การยอมรับและใช้ในการดูแลสุขภาพมานานมากกว่า 2,000 ปี โดยหลายคนให้คำนิยามว่า เห็ดหลินจือ เป็นยาอายุวัฒนะ พร้อมทั้งยังถูกบันทึกลงในตำราของสมุนไพรจีนว่าเป็นสมุนไพรที่มีอายุมากที่สุดของประเทศจีนอีกด้วย ซึ่งมีหลากหลายสายพันธุ์ โดยสายพันธุ์ที่นิยมและมีสรรพคุณทางยาที่ดีที่สุด คือ สายพันธุ์สีแดง เรียกว่า “ เห็ดหลินจือแดง หรือ กาโนเดอร์มา ลูซิดัม (Ganoderma lucidum)

เห็ดหลินจือแดง ราชาแห่งสมุนไพร

หากพูดถึงเห็ดหลินจือแล้ว ตามธรรมชาติจะพบได้หลากหลายสี ไม่ว่าจะเป็นสายพันธุ์ สีม่วง สีเขียว สีดำ สีเหลือง สีขาว และสีแดง ซึ่งแต่ละสีก็จะมีสรรพคุณทางยาที่มากน้อยแตกต่างกันไป เช่น สีม่วงก็จะช่วยในเรื่องข้อกระดูก สีดำช่วยขับปัสสาวะ สีเขียวรักษาโรคหัวใจ เป็นต้น แต่สีที่ได้รับความนิยมและได้รับการยอมรับจากทั่วโลกนั่นคือ เห็ดหลินจือสายพันธุ์สีแดง เพราะเห็ดหลินจือแดงมีความโดดเด่นด้านสรรพคุณทางตัวยาเป็นพิเศษมากกว่าสายพันธุ์อื่นๆ โดยเฉพาะเรื่อง การมีส่วนช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน และมีส่วนช่วยในการนอนหลับ 

สรรพคุณทางยาของเห็ดหลินจือแดง

  1. ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย
  2. รักษาอาการภูมิแพ้
  3. ช่วยการทำงานของตับและยับยั้งเซลล์มะเร็ง
  4. ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ
  5. บรรเทาอาการของโรคเบาหวาน
  6. ลดความดันโลหิต
  7. ช่วยรักษาอาการอ่อนเพลียและซึมเศร้า
  8. ปรับสมดุลแก่ร่างกาย
  9. ช่วยบำรุงผิวพรรณให้อ่อนเยาว์

เห็ดหลินจือแดงจะมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น ถ้าทำการเพาะปลูกในโรงเรือนระบบปิดโดยไม่ใช้สารเคมี  มีการควบคุมอุณหภูมิและความชื้น และหากทำการเพาะปลูกเห็ดหลินจือแดงบนไม้โอ๊คที่มีอายุ 25-30 ปี ก็จะทำให้ได้เห็ดหลินจือแดงที่มีคุณภาพสูงยิ่งขึ้น เพราะในไม้โอ๊ต จะมีแร่ธาตุและความชื้นที่เหมาะสมในการเจริญเติบโตของเห็ดหลินจือแดงมากที่สุดนั่นเอง หากเห็ดหลินจือแดงมีคุณภาพสูงแล้วจะยิ่งช่วยเพิ่มสรรพคุณทางตัวยาและแร่ธาตุต่าง ๆ ขึ้นไปอีกด้วย จากงานวิจัยรวมไปถึงผลลัพธ์ของผู้ที่รับประทาน ทำให้เห็ดหลินจือแดงขึ้นชื่อด้านสมุนไพรบำรุงสุขภาพแบบองค์รวม จึงเป็นที่มาของฉายา ราชาแห่งสมุนไพร

เห็ดหลินจือแดง

เห็ดหลินจือแดงกับการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน

จากส่วนประกอบสำคัญจาก เห็ดหลินจือแดง ที่มีสารสำคัญและสรรพคุณในด้านเสริมภูมิคุ้มกัน ดังนี้

  1. โพลีแซคคาไรด์ (Polysaccharide) เป็นสารออกฤทธิ์หลัก มีบทบาทในการเพิ่มและขยายตัวของเซลล์เม็ดเลือดขาว และเพิ่ม IL-6 และ IFN-γ (Chang et al. 2009) และมีการเพิ่มขึ้นของเซลล์แมคโคฟลาส Macrophages และเซลล์ NK โดยมีผลในการเพิ่มความสามารถของระบบภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายได้อีกด้วย โดยสามารถแยกเป็น
    • กาโนเดอแรนส์ (Ganoderans) ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด
    • เบต้าดีกลูแคน (Beta–D–glucan) เป็นโพลีแซคคาไรด์ตัวสำคัญที่มีบทบาทในการต่อต้านเซลล์มะเร็ง โดยหน้าที่ที่สำคัญคือช่วยในการฟื้นฟูประสิทธิภาพของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ซึ่งจากการศึกษาวิจัยในหลายประเทศพบว่าสารเบต้า – ดี – กลูแคน จากเห็ดหลินจือ มีผลต่อการทำงานของเซลล์มะเร็ง ยกตัวอย่างเช่น การทดลองในประเทศจีน เพื่อรักษาหนูที่เป็นมะเร็งตับ ซึ่งสารดังกล่าวให้ผลในการยังยั้งเซลล์มะเร็งได้ 95.6 – 98.5% และเมื่อใช้รักษาหนูที่เป็นมะเร็ง ร่วมกับยาเคมีบำบัด ชนิด 5 เอฟยู ก็ให้ผลการรักษาที่ดีกว่าการใช้ยาเคมีบำบัดเพียงอย่างเดียวนอกจากนี้เบต้ากลูแคนยังช่วยต้านอนุมูลอิสระให้กับร่างกายและ ช่วยการไหลเวียนเลือดสมบูรณ์มากขึ้นอีกด้วย
  1. ไตรเตอร์พีนอยด์ (Triterpenoid) คือกลุ่มของสารประกอบในเห็ดหลินจือที่ให้รสขม ซึ่งมีราว 100 ชนิด โดยสารไตรเทอร์พีนอยด์ตัวสำคัญ คือ กรดกาโนเดอริค เอ, บี, ซี 1 และ ซี 2 (ganoderic acid A,B,C1 and C2)  และกรดลูซิเดอนิค  (lucidenic acid) ซึ่งกลุ่มของสารเหล่านี้โดยเฉพาะกรดกาโนเดอริค เป็นตัวยับยั้งการหลั่งของสารฮีสตามีน ซึ่งเป็นตัวที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้ชนิดหนึ่ง ช่วยลดความดันโลหิต และช่วยลดไขมันในเลือด โดยการลดไขมันนี้ มีผลทั้งในด้านการป้องกันการอุดตันของไขมันในเส้นเลือด และการบำบัดรักษาหลังจากเกิดการอุดตันแล้ว
  2. เยอรมาเนียมอินทรีย์ (Organic germanium) มีคุณสมบัติช่วยกระตุ้นให้เม็ดเลือดแดงรับออกซิเจนได้มากกว่าเดิม จึงส่งผลให้เลือดและเซลล์มีปริมาณออกซิเจนเพิ่มมากขึ้น
  3. อะดีโนซีน (Adenosine) หรือ นิวคลีโอไทด์ (Nucleotide) มีหน้าที่ช่วยออกฤทธิ์บรรเทาอาการเจ็บปวด ป้องกันลิ่มเลือดแข็งตัวในเส้นเลือด ลดความเสี่ยงโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อไวรัส

เห็ดหลินจือแดง

ซึ่งนอกจากสรรพคุณทางการแพทย์ที่กล่าวมาในข้างต้นแล้ว ยังพบว่าเห็ดหลินจือแดง มีคุณค่าทางโภชนาการมากมาย เช่น โปรตีน แคลเซียม แมกนีเซียม โซเดียม ฯลฯ อีกทั้งยังประกอบไปด้วยวิตามิน มีคุณค่าไม่แพ้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีวางขายตามท้องตลาด ซึ่งเพราะเหตุผลมากมายเหล่านี้ ทำให้นานาประเทศยอมรับและเลือกเห็ดหลินจือแดงในการดูแลสุขภาพ  

ผู้ใดควรใช้เห็ดหลินจือแดง จากสรรพคุณที่มีมากมายทั้งในตามที่กล่าวข้างต้น เห็ดหลินจือแดง จึงเหมาะกับ ผู้สูงอายุและวัยก่อนสูงอายุตลอดจนผู้ที่ต้องการดูแลสุขภาพ

 งานวิจัยเห็ดหลินจือแดงกับการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน

เนื่องจากโรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นมากกว่า 80% มีส่วนเกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกัน  เราจึงต้องเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง ซึ่งการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากในขณะนี้ทั่วโลกกำลังเผชิญกับการระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ซึ่งทางเลือกที่อยากแนะนำเพิ่มเติม คือ การเลือกรับประทานสมุนไพรที่มีประโยชน์ อย่างเช่น เห็ดหลินจือแดง โดยมีงานวิจัยระบุว่า เห็ดหลินจือแดง มีส่วนช่วยในการเพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย โดยการเพิ่มการทำงานของ T และ B lymphocytes เซลล์โมโนนิวเคลียร์ และกลุ่มเซลล์เม็ดเลือดขาวในร่างกาย และนอกจากนี้สารพอลิแซ็กคาไรด์ (Polysaccharide) จากเห็ดหลินจือยังมี Triterpenoid lanostane และ กรด Ganoderic ซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งเนื้องอกและการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งปอดชนิดลูอิส โดยกลไกการเสริมสร้างการทำงานของภูมิคุ้มกันในแง่ของการเพิ่มสาร IL-2 และ IFN-γ และ การทำงานของเซลล์เม็ดเลือดขาวในร่างกายอีกด้วย (Wang et al. 2007, Zhu and Lin 2006)

เห็ดหลินจือแดง

เห็ดหลินจือแดงรับประทานในรูปแบบไหนดี

เห็ดหลินจือแดง

คำเตือนการรับประทาน เห็ดหลินจือแดง

  • ไม่แนะนำให้สตรีมีครรภ์หรือสตรีให้นมบุตรรับประทาน
  • เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ไม่แนะนำให้รับประทาน
  • ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว SLE ไม่แนะนำให้รับประทาน
  • ไม่แนะนำให้ผู้ที่มีประวัติแพ้เห็ดหรือวิตามินรับประทาน
  • ผู้ป่วยโรคไตที่มีแนวโน้มจะต้องฟอกหรืออยู่ในระยะฟอกไตแล้ว ไม่แนะนำให้รับประทาน

แหล่งอ้างอิงที่มา

  • Baby S, Johnson AJ and Govindan B. 2015. Secondary metabolites from Ganoderma.  Phytochemistry  114 : 66 – 101
  • Bishop KS, Kao CH, Glucina MP, Paterson RR, and Ferguson LR. 2015. Phytochemistry  114 : 56 – 65.
  • Chen P, Yong Y, Gu Y, Wang Z, Zhang S and Lu L. 2015. Int J Med Mushroom 17 : 287 – 295.
  • Chen Y, Qiao J, Luo J, Wu F, Meng G, Chen H, Zheng H and Xu J. 2011. Effect of Ganodema lucidum polysaccharides on advance glycation end products and receptor of aorta pectoralis in T2DM rats. Zhongguo Zhong yao Za Zhi 36 (5) : 624 – 627.
  • Ganul O, Aydin HH, Kalmis HE, Kayalar H, Ozkaya AB, Atay S and Ak H. 2015. Int J Med Mushroom 17 : 231 – 239.
  • Hajaji et al. 2005. Appl Environ Microbiol 71 (7) : 3653 – 3658.
  • Qiao J, Dou ZH, Wu F, Chen H and Zh HH. 2014. Intervention of Ganoderma lucidum polysaccharide combined with metformin on AGEs and CTGF in thoracic aorta of diabetic rats. Zhong Cao Yao 45(20) : 2939 – 2945.
  • Weng et al. 2011. Biosci Biotechnol Biochem 71 (4) : 800 – 803.
  • Wang G, Zhao J, Liu J, Huang Y, Zhong J. J, Tang W. Enhancement of IL-2 and IFN-gamma expression and NK cells activity involved in the anti-tumor effect of ganoderic acid Me in vivo. Int Immunopharmacol. 2007;7:864–70. [PubMed]
  • Wang H, Ng T. B. Ganodermin, an antifungal protein from fruiting bodies of the medicinal mushroom Ganoderma lucidum. Peptides. 2006;27:27–30. [PubMed]

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.