พระปุจฉา – วิสัชนาธรรมระหว่างในหลวง รัชกาลที่ 9 กับพระวิสุทธิญาณเถร ( หลวงพ่อสมชาย ฐิตวิริโย )
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช : การสอนให้คนนึกถึงความตายนั้น ถ้าหากสอนไม่ดีแล้วก็เป็นเหตุให้เกิดความเกียจคร้านในการแสวงหาเลี้ยงชีพ ทำให้เป็นคนจน เป็นภาระของสังคมก็เป็นได้ เพราะฉะนั้น ต้องระวังในการสอน อย่าให้เกิดผลร้าย
หลวงพ่อสมชาย ฐิตวิริโย : โดยปกติ พระจะสอนให้เห็นโทษของความมัวเมาซึ่งเป็นตัวเหตุให้เกิดความเห็นผิดเป็นชอบ มักจะสอนให้คิดรู้เห็นในทางที่ถูกก่อน เช่น อย่ามัวเมาในวัยว่ายังเป็นหนุ่มเป็นสาวอยู่ อย่ามัวเมาในความไม่มีโรคมาเบียดเบียน อย่ามัวเมาในชีวิตว่าเวลาของเรายังมีอยู่ ด้วยเหตุดังถวายพระพรมาแล้ว ทางพระจึงสอนให้ทุกคนนึกถึงความตาย ถ้าไม่สอนให้เขาเข้าใจในทางถูกก่อนแล้ว กลับจะเป็นผลร้ายดังพระราชปุจฉาโดยแท้
การเจริญมรณสตินั้น ชั้นต้นเพื่อให้รู้ว่า ทุกคนหนีความตายไม่พ้น ไม่ว่าจะเป็นคนมีคนจน มีความตายเหมือนกันทั้งนั้น สำหรับผู้ทำการภาวนาเจริญกรรมฐาน เพื่อให้นิวรณ์สงบ ก็จำเป็นต้องพิจารณาเป็นอย่างๆไป ความตายคือนายเพชฌฆาต ความตายคือต้องพลัดพรากจากสมบัติทุกอย่าง เขาตาย เราก็ต้องตายเหมือนเขา ชีวิตเป็นของที่กำหนดเองไม่ได้ หรือจะกำหนดเอาว่าอายุเท่านั้นเท่านี้จะตาย ก็กำหนดไม่ได้ ทั้งนี้ เพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า ชีวิตเป็นของน้อยจะตายเมื่อไหร่ไม่มีใครรู้ได้ ขอถวายพระพร
ที่มา :
หนังสือ มหาบพิตร ในหลวงทรงถาม อรหันต์ตอบ
ภาพ :
บทความน่าสนใจ
พระปุจฉา – วิสัชนาธรรมระหว่างในหลวง รัชกาลที่ 9 กับ หลวงปู่ฝั้น อาจารโร
พระปุจฉา – วิสัชนาธรรมระหว่างในหลวง รัชกาลที่ 9 กับ หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
พระราชปุจฉาวิสัชนาธรรมเรื่อง มรรค ระหว่างในหลวงรัชกาลที่ 9 กับ หลวงพ่อพุธ ฐานิโย
พระปุจฉา – วิสัชนาธรรมระหว่างในหลวงรัชกาลที่ 9 กับ พระพรหมมุนี
ในหลวง รัชกาลที่ 9 – พระราชาผู้ทรงศรัทธาในธรรม
ในหลวง รัชกาลที่ 9 – พระราชาผู้เปี่ยมด้วยอัจฉริยภาพด้าน ดนตรี
พระปุจฉา – วิสัชนาธรรมระหว่างในหลวงรัชกาลที่ 9 กับ หลวงพ่อเกษม เขมโก