ข้าวหมาก เคล็ด(ไม่)ลับ ของคนโบราณ กินแล้วผิวสวย แก่ช้า ลดอ้วน

ข้าวหมาก เคล็ด(ไม่)ลับ ของคนโบราณ กินแล้วผิวสวย  แก่ช้า ลดอ้วน

ข้าวหมาก สุดยอดโพรไบโอติกส์ไทย กินเท่าไรก็สวย หุ่นดี แถมยังแก่ช้าอีกด้วย เพราะข้าวหมากเป็นแหล่งของจุลินทรีย์โพรไบโอติกส์ (Probiotic) ที่ดีต่อสุขภาพ และมีคุณค่าทางโภชนการอย่างมหาศาล

เราเห็นคุณตา คุณยาย กินข้าวหมากกันมาตั้งแต่เด็ก แต่ปัจจุบันไม่ค่อยมีใครกินกันแล้ว ทั้งที่เป็นอาหารสะท้อนภูมิปัญญาไทย  ที่เราหลงลืมไป มันอาจจะดูเหมือนราวกับว่าเราโหยหากลับไปในอดีต แต่ถ้าพิจารณาให้ดีแล้ว ข้าวหมากมีคุณค่ามากกว่าการเป็นอาหารโบราณที่ควรอนุรักษ์ หรือคงไว้เฉพาะคนที่สัมผัสแค่เปลือกนอกของความเป็นไทยเท่านั้น

“คนสมัยก่อนกินอะไร ทำไมถึงไม่อ้วน แข็งแรง  ไม่เจ็บป่วยง่าย” คำถามของ ดร.ฉัตรภา หัตถโกศล อาจารย์ประจำภาควิชาโภชนวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหิดล ย้อนมายังผู้เขียน

จากข้อสงสัยนี้เองอาจารย์ฉัตรภา จึงหันมาสนใจศึกษาภูมิปัญญาของไทยอย่าง “ข้าวหมาก” อย่างจริงจัง และพบว่าข้าวหมากของเรานั้นมีส่วนประกอบที่สำคัญ ซึ่งเป็นแหล่งของจุลินทรีย์โพรไบโอติกส์ (Probiotic) ที่ดีต่อสุขภาพ และมีคุณค่าทางโภชนการอย่างมหาศาล

 

โพรไบโอติกส์ คืออะไร

มนุษย์มีการนำโบรไบโอติกส์มาใช้ในอาหารมาเป็นเวลานานมากกว่าหลายร้อยปีในหลายประเทศทั่วโลก  บางชนิดอาจะเป็นที่คุ้นชิน แต่เราไม่ทราบว่ามันคือโพรไบโอติกส์ อย่างเช่น

  • ในประเทศญี่ปุ่น ได้แก่ นัตโต (Natto) ถั่วเหลืองหมักด้วยเชื้อแบคทีเรีย และมิโซะ(Miso) ถั่วเหลืองหมักเกลือ
  • ประเทศเกาหลี ได้แก่ กิมจิ (Kimchi) ผักดองเค็มหมักด้วยพริกสีแดง
  • ประเทศอินโดนีเซีย ได้แก่ เทมเป้ (Tempe) ถั่วเหลืองหมักเป็นแท่งคล้ายเค้ก
  • ประเทศแถบยุโรป ได้แก่ โยเกิร์ต หรือนมเปรี้ยว คีเฟอร์ (Kefir) เชื้อแบคทีเรียและยีสต์ที่ยึดเกาะกันเป็นกลุ่มใช้หมักนม ซาวเคราท์ (Sauerkraut) กะหล่ำปลีหมักเกลือของประเทศเยอรมนี
  • ประเทศไทย ได้แก่ ปลาร้า ผักดอง และข้าวหมาก ที่เป็นไฮไลท์ในปักษ์นี้

อาจารย์ฉัตรภา ได้อธิบายความหมายของโพรไบโอติกส์ (Probiotics) ว่าเป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่มีชีวิต เป็นสายพันธุ์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เมื่อรับประทานเข้าไปในร่างกายแล้วอาศัยอยู่ในลำไส้ใหญ่  ช่วยปรับสมดุลของจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่แต่เดิมแล้ว ให้มีแบคทีเรียที่ดีมีจำนวนมากขึ้น และแบคทีเรียที่ไม่ดีจำนวนลดลง (คือพวกที่ทำให้ท้องอืด ท้องเสีย) ส่งผลทำให้สุขภาพของลำไส้ดีขึ้น

แต่อย่างไรก็ตามเชื้อจุลินทรีย์จะสามารถเจริญเติบโตได้ดีนั้นก็จำเป็นต้องมี โพรไบโอติกส์ (Prebiotics) ซึ่งเป็นอาหารสำหรับเชื้อจุลินทรีย์โปรไบโอติกส์ เช่น ธัชพืชต่างๆ ถัวเขียว ถั่วเหลือง ถั่วแดง ถั่วดำ หน่อไม้ฝรั่ง กล้วย กระเทียม เป็นต้น

2 ยุคสมัยของข้าวหมาก

1st ยุคคุณตา

 

ข้าวหมาก, โพรไบโอติกส์, อาหารที่มีโพรไบโอติกส์, ลดความอ้วน, ผิวสวย
กินข้าวหมาก เพิ่มการไหลเวียนของโลหิต ดีต่อผิวพรรณ

“ข้าวหมากเป็นอาหารไทยแต่โบราณ เป็นกรรมวิธีการถนอมอาหารเพื่อยึดอายุการเก็บข้าวให้ได้นานยิ่งขึ้น เนื่องจากในการหูงข้าวในแต่ละครั้งแล้วกินไม่หมด ”  อาจารย์ฉัตรภากล่าว

ข้าวหมากจะมีรสหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย เป็นผลผลิตจากกระบวนการหมักของจุลินทรีย์ หากพิจารณาถึงรสแล้วรสหวาน จะซึบซาบไปทั่วเนื้อของร่างกาย เป็นการบำรุงร่างกายในส่วนของธาตุดิน(มังสัง)ให้มีสุขภาพสมบูรณ์ และเพิ่มพลังงานขับเคลื่อนของร่างกาย และรสเปรี้ยว เพิ่มการไหลเวียนของโลหิต ช่วยระบบการย่อยอาหารไห้ดีขึ้น ขับเสมหะ บำรุงธาตุให้ความสมดุลของร่างกาย

ในระหว่างสนทนา อาจารย์ฉัตรภาก็ได้นึกถึงคุณตากับคุณยาย ของท่านที่ชอบกินข้าวหมากเป็นประจำ ไม่ว่าวันใดที่คุณตารู้สึกท้องไส้ไม่ดี ก็จะให้คุณยายออกไปหาซื้อข้าวหมากมาให้กินเป็นประจำ

จากคำบอกเล่าของคุณตา “ข้าวหมากสามารถกินได้ตั้งแต่เด็กจนถึงผู้ใหญ่” กล่าวคือ

  • เด็กที่มีร่างกายผอม กะร่องกะแร่ง เมื่อทานข้าวหมากจะทำให้เด็กแข็งแรงและเจริญเติบโตสมวัย
  • หญิงสาวที่ชอบกินข้าวหมาก จะทำให้หุ่นดี ผิวพรรรณสวยงาม มีน้ำมีนวล มีเลือดฝาด
  • หญิงมีครรภ์ จะทำให้กินอาหารได้รสชาติที่อร่อยมากขึ้น และลดอาการแพ้ท้องได้เนื่องจากความเปรี้ยวนิดๆของข้าวหมาก
  • ผู้สูงอายุ ที่กินข้าวหมากเป็นประจำจะทำให้สุขภาพแข็งแรง ไม่เจ็บปวยได้ง่าย
  • คนที่มีปัญหาระบบขับถ่ายไม่ดี การกินข้าวหมากก็จะช่วยให้ลำไส้ทำงานได้ดี ปรับเข้าสู่สมดุลของระบบขับถ่ายได้
  • สุดท้ายการกินข้าวหมากหลังอาหารมื้อหลักช่วยทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดียิ่งขึ้น ลดอาการท้องอืด อึดอัดท้อง

2ed ยุคคุณหลาน

ความชาญฉลาดของคนโบราณ บางครั้งก็ทำให้เรารู้สึกทึ่ง และเกิดคำถามว่าท่านรู้ได้อย่างไร หากนำวิธีคิดในแบบชาวบ้านมาอธิบายแง่ความเป็นวิทยาศาสตร์ที่ร่วมสมัยในสังคม

อาจารย์ฉัตรภา ได้นำประโยชน์จากการบอกเล่าของคุณตา มาเทียบเคียงกับคุณค่าทางโภชนาการของข้าวหมาก พบว่ามีจริงอยู่ตามคำบอกเล่า โดยสรุปได้ดังต่อไปนี้

  • ข้าวหมากจะประกอบไปด้วยสารอาหารกลุ่มของวิตามินบี ช่วยในเรื่องบำรุงประสาท ทำให้มีระบบความจำที่ดีขึ้น ลดอาการความจำเสื่อมได้
  • เพิ่มระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกาย หรือภูมิชีวิต ทำให้ร่างกายแข็งแรง ไม่เป็นหวัดได้ง่าย
  • ทำให้ระบบย่อยอาหารได้ดียิ่งขึ้น เนื่องจากมีจุลินทรีย์เข้าไปช่วยปรับสมดุลของจุลินทรีย์ในร่างกาย
  • ระบบขับถ่าย ลดอาการท้องผูก และแก้อาการท้องเสีย จุลินทรีย์จะเข้าไปช่วยเพิ่มปริมาณกากใยของอาหารมากขึ้น
  • ช่วยในการควบคุมระบบไขมัน เพิ่มการดูดกลับไขมันออกจากร่างกาย ทำให้ไม่มีภาวะไขมันในเลือดสูง
  • ใช้เป็นทางเลือกสำหรับคนที่แพ้นมไม่สามารถดื่มนมได้ ก็สามารถกินข้าวหมากแทนได้เหมือนกัน

แต่อย่างไรก็ตามการกินข้าวหมากนั้นก็มีควรระวังเหมือนกัน หากกินเป็นก็จะถือว่าเป็นยา แต่ถ้า กินไม่เป็นหรือเยอะเกินไป ก็จะทำให้เกิดโทษได้  โดยมีวิธีการกินดังต่อไปนี้

  • ควรกินในปริมาณ 1 ฝ่ามือ หรือปริมาณ ½ ถ้วย หรือ1-2 ห่อ ต่อวัน
  • ไม่ควรกินเยอะจนเกินไป เพราะอาจจะทำให้มีอาการมึนเมา และอาการท้องเสียได้
  • ไม่แนะนำสำหรับผู้ป่วยที่มีน้ำตาลในโลหิตสูง หรือเบาหวาน เพราะจะมีผลต่อปริมาณของน้ำตาลในโลหิตได้

สำหรับผู้ที่ไม่ชื่นชอบในรสชาติ และกลิ่นของข้าวหมาก สามารถนำข้าวหมากมาเป็นส่วนประกอบของอาหารได้หลายชนิด เช่น ใส่ในน้ำพริก ใส่ในเครื่องต้มยำ หรือทำเป็นยำ นอกจากนี้ก็ยังสามารถนำมากินเป็นของหวานได้เหมือนกัน เช่น กินคู่กับไอศครีม โยเกิร์ต ใส่ในน้ำแข็งใส  แค่นี้เราก็สามารถกินข้าวหมากได้หลายรูปแบบ ดร.ฉัตรภากล่าว

บทความน่าสนใจอื่นๆ

ยาธาตุอบเชย กินแก้ท้องอืด หายได้ภายในเร็ววัน

ข้าวยำ VS น้ำพริกปลาทู เมนูสุดแซ่บต้านโรค อินเทรนด์

กวาดยา แก้โรคตาน ซาง เจ็บคอในเด็ก

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.