แม่กาเผือก มารดาแห่ง พระพุทธเจ้า 5 พระองค์
นิทานธรรมะเรื่อง แม่กาเผือก เล่าการบำเพ็ญบารมีของ พระพุทธเจ้า 5 พระองค์ ในพระชาติหนึ่งที่เคยเกิดเป็นพี่น้องร่วมอุทรเดียวกันว่า
มีนางกาเผือกออกไข่มา 5 ฟอง ระหว่างที่นางกาเผือกไม่อยู่รัง บังเกิดพายุพังรังหายไป ไข่แต่ละฟองก็กระจัดกระจายไปในที่ต่าง ๆ ไข่ฟองแรกไปตกที่แม่ไก่ ไข่ฟองที่สองไปตกที่นางนาค ไข่ฟองที่สามไปตกที่แม่เต่า ไข่ฟองที่สี่ไปตกที่แม่โค ไข่ฟองสุดท้ายไปตกที่นางราชสีห์
นางกาเผือกบินกลับมารัง ไม่พบรังและไข่ทั้ง 5 จึงเศร้าใจจนสิ้นใจ ด้วยผลบุญของนางกาเผือกที่บำเพ็ญมาส่งผลให้เกิดเป็นพรหมมีนามว่า “ฆติกามหาพรหม”
เมื่อไข่แต่ละฟองฟักเป็นตัวออกมากลายเป็นคน ถึงแม่ ๆ ทั้ง 5 จะทราบว่าไข่ที่ตนดูแลมาจะมีหน้าตาไม่เหมือนตน แต่ก็รักเหมือนลูกแท้ ๆ ของตน
เด็กชายทั้ง 5 เติบโตเป็นชายหนุ่ม พวกเขาอยากออกบวชเป็นฤาษีบำเพ็ญบารมีเพื่อได้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต เหล่าแม่ ๆ อนุญาต พร้อมกับขอลูก ๆ ว่า ถ้าลูกได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ขอให้พระนามของลูกมีชื่อของแม่ปรากฏอยู่ด้วย
ชายที่แม่ไก่เลี้ยงมาคือ พระกกุสันธะพุทธเจ้า
ชายที่นางนาคเลี้ยงมาคือ พระโกนาคมนะพุทธเจ้า
ชายที่แม่เต่าเลี้ยงมาคือ พระกัสสปะพุทธเจ้า
ชายที่แม่โคเลี้ยงมาคือ พระโคตมะพุทธเจ้า
ชายที่นางราชสีห์เลี้ยงมาคือ พระเมตไตรยะพุทธเจ้า
แม่ทั้ง 5 บอกเล่าความจริงแก่ชายหนุ่มว่าพวกตนไม่ใช่แม่ที่แท้จริง ชายหนุ่มทั้ง 5 หลังจากออกบวชเป็นฤาษีก็อธิษฐานถึงแม่บังเกิดเกล้าพร้อมกัน พระอินทร์ทรงทราบจึงเชิญฆติกามหาพรหมซึ่งเคยเป็นแม่กาเผือกลงมาเยี่ยมเยือนฤาษีทั้ง 5 แล้วได้มอบตีนกาที่ทำจากเส้นด้ายแก่ลูก ๆ ทั้ง 5 เพื่อใช้เป็นไส้เทียนเพื่อจุดพระประทีปบูชาในวันพระ
ที่มา : พระศรีอริยเมตไตรย พระโพธิสัตว์แห่งความอุดมสมบูรณ์ เรียบเรียงโดย ณัฐนภ ตระกลธนภาส
บทความน่าสนใจ
การพัฒนาจิต 2 วิธี ที่พระพุทธเจ้าทรงสอน บทความธรรมะจากพระอาจารย์ชาญชัย อธิปญฺโญ
สิ่งที่ พระนางพิมพา ทำเพื่อพระพุทธเจ้า …แง่มุมที่ชาวพุทธไม่ค่อยรู้
หนทางพระพุทธเจ้า หนทางของมหาบุรุษ
พร 8 ข้อที่ พระอานนท์ ทูลขอพระพุทธเจ้า
เรื่องเล่าวันพระพุทธเจ้าลอยถาดลงในแม่น้ำก่อนตรัสรู้ บทความเตือนสติ จากท่าน ว.วชิรเมธี
นิทานธรรมะชาดก 500 ชาติ เรื่อง เหตุที่พระพุทธเจ้าต้องมีอายุ 80 ปี
“คาถาเรียกความผอม…!” สูตรลดความอ้วน จากพระพุทธเจ้า
รู้หรือไม่ 7 สัปดาห์ หลังตรัสรู้ พระพุทธเจ้าทรงทำอะไร
ปัญหาธรรมประจำวันนี้ : พระพุทธเจ้าตรัสถึงเรื่อง “ฤกษ์ยาม” ไว้อย่างไร