อย่าไรก็ตาม ผู้มีอำนาจหลายภาคส่วนในสหรัฐอเมริกา เป็นกังวลว่า การวิจัยนี้จะทำให้สัตว์มีคุณสมบัติที่ทดแทนคนได้ และอาจเหนือกว่า กลุ่มผู้รณรงค์ด้านสิทธิของสัตว์ก็โต้แย้งการทดลองนี้ โดยใช้คำบรรยายว่าเป็นวิทยาศาสตร์แบบแฟรงเกนสไตน์ (Frankenscience) ซึ่งจะทำร้ายทั้งคนและสัตว์ เพราะสัตว์เองก็มีความรู้สึก และเจ็บปวดได้เช่นเดียวกับคน
ด้านนักวิทยาศาสตร์เอง ระบุว่า เคยใช้ไคมีราประเภทนี้ในการทดลองแล้ว เช่น หนูขาว ซึ่งโตมาพร้อมกับระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์ในร่างกาย นายแพทย์ ดร.มาร์ติน โบโบรว อดีตอาจารย์วิชาเวชพันธุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ สหราชอาณาจักร ชี้ว่า หากไม่มีใครริเริ่มการทดลอง คงไม่อาจรู้ได้ว่าจะให้ประโยชน์หรือโทษมากกว่ากัน โดยการวิจัยไคมีราชิ้นนี้ อาจเป็นความก้าวหน้าที่สำคัญของวงการแพทย์ก็เป็นได้
ในสัปดาห์นี้ คณะกรรมการว่าด้วยวิทยาศาสตร์สัตว์ทดลอง กระทรวงกิจการภายใน จะตีพิมพ์คู่มือการใช้ไคมีรา (Chimera) ระหว่างคนและสัตว์ เล่มแรก ซึ่งทุกคนหวังว่าคณะกรรมการจะประกาศให้การวิจัยรูปแบบนี้ อยู่ภายใต้การควบคุมที่เข้มงวด
ที่มา: หนังสือพิมพ์เดอะเทเลกราฟ (The Telegraph)