หัวใจโต ถึงจะไม่ใช่โรค แต่ก็ทำให้ถึงตายได้ด้วยโรคแทรกซ้อน
เมื่อไม่นานมานี้ได้เจอคนรู้จัก ที่อายุไม่เกิน 40 ปี ร่างกายแข็งแรง แต่น่าตกใจตรงที่เขาเพิ่งรู้ตัวค่ะ ว่ามีภาวะ หัวใจโต ทำให้แอดสงสัย และยิ่งเมื่อได้อ่านก็ยิ่งรู้สึกว่า น่ากลัวเพราะเป็นได้ทุกคน ที่สำคัญคือเป็นได้โดยไม่รู้ตัว
หัวใจโต ไม่ใช่โรค แต่เป็นภาวะที่เกิดขึ้นกับหัวใจค่ะ โดยหัวใจจะมีขนาดใหญ่หรือหนาขึ้นกว่าปกติ ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้นานๆ จะทำให้หัวใจทำงานผิดปกติได้ค่ะ
สาเหตุ
หัวใจโตเกิดขึ้นได้จากหลายๆ สาเหตุ ทั้งการป่วยด้วยโรคเรื้อรัง กรรมพันธุ์ รวมไปถึงอาหารการกิน ซึ่งหลักๆ มีปัจจัยดังนี้ค่ะ
- กลุ่มโรคเรื้อรัง ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเส้นเลือด
- โรคที่เกี่ยวข้องกับหัวใจ หัวใจ เช่นโรคลิ้นหัวใจ โรคของกล้ามเนื้อหัวใจ หัวใจพิการแต่กำเนิด
- ผู้ที่มีโลหิตจาง
- ไทรอยด์ทำงานผิดปกติ
- การรับประทานธาตุเหล็กมากเกินไป
- ผู้ที่มีคนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคหัวใจ โดยเฉพาะโรคหลอดเลือดหัวใจ
อาการ
ภาวะหัวใจโตนั้นมักจะไม่มีสัญญาณ บอกเหตุ แต่กว่าจะรู้ตัวก็เมื่อหัวใจเริ่มทำงานปิดปกติไปแล้ว ซึ่งแปลว่าหัวใจโตขึ้นจนผิดปกติแล้วนั้นเอง โดยมีอาการเหล่านี้
– หายใจเร็ว และลำบาก
– เหนื่อยง่ายกว่าปกติ
– เวียนหัว อ่อนเพลีย
– ใจสั่น
– เท้าบวมช่วงสายๆ
– ไอเวลานอน
– แน่นหน้าอกขณะนอนราบ
การรักษา
ในปัจจุบันอาการรักษาอาการหัวใจโต เป็นการรักษาตามอาการ โดยแพทย์จะหาสาเหตุของการเกิดหัวใจโต แล้วรักษาที่ต้นเหตุ โดยมีทั้งการผ่าตัด ให้ยารักษา ปรับพฤติกรรม และใช้เครื่องคุมจังหวะการเต้นของหัวใจ
การป้องกัน
เนื่องจากหัวใจโตเป็นภาวะที่เกิดขึ้นจากหลายๆ สาเหตุ ดังนั้นการป้องกันจึงต้องทำหลายอย่างควบคู่กันไป
- งดสูบบุหรี่และหลีกเลี่ยงการได้รับควันบุหรี่
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- จำกัดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด
- ควบคุมอาหารเพื่อป้องการเกิด โรคอ้วน
- รักษาโรคที่เป็นสาเหตุ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง
- ผู้ที่ครอบครัวมีประวัติการเป็นโรคหัวใจ หรือผู้ที่มีอายุเกิน 35 ปี ให้ตรวจสุขภาพประจำปีอยู่สม่ำเสมอ
ข้อมูล โรงพยาบาลเวชธานี, โรงพยาบาลเปาโล, โรงพยาบาลศิครินทร์, โรงพยาบาลกรุงเทพ