ฮีโมฟีเลีย เลือดไหลไม่หยุด ผู้ชายเท่านั้นที่จะเป็น!

ฮีโมฟีเลีย หรือ “โรคเลือดไหลไม่หยุด” เป็นโรคที่เรามักได้ยินจากในประวัติศาสตร์ หรือหนังสือ ต่างๆ มากมาย หลายคนมีภาพอยู่ในหัวว่าเลือดจะต้องไหลอย่างต่อเนื่องจนเสียชีวิตแน่ๆ แท้จริงแล้วเป็นแบบนั้นหรือเปล่า เรามาทำความรู้จักโรคนี้กันค่ะ

ผู้ชายเท่านั้นที่จะเป็น

หนึ่งในความลึกลับที่ทำให้โรคนี้แปลกกว่าโรคอื่นๆ คือ ผู้ชายเท่านั้นที่จะเป็นได้! ซึ่งไม่ใช่เพราะเหตุผลทางอวัยวะที่ผู้หญิงและผู้ชายมีต่างกัน เหมือนโรคอื่นๆ เช่น มะเร็งอัณฑะ ที่ผู้หญิงเป็นไมไ่ด้ เพราะผู้หญิงไม่มีอัณฑะ

แต่โรคฮีโมฟีเลีย เป็นโรคทางพันธุกรรม ที่ถ่ายทอดจากพ่อแม่ไปสู่ลูกหลาน โดยที่อาการจะแสดงในผู้ชาย ในขณะที่ผู้หญิงเป็นเพียงพาหะที่จะถ่ายทอดยีนผิดปกตินี้ไปสู่คนรุ่นหลัง

อะไรคือ ฮีโมฟีเลีย

ความจริงแล้วโรคนี้ไม่ใช่โรคเลือดไหลไม่หยุด แต่คือโรคเลือดออกง่ายหยุดยาก โดยปกติแล้วการที่เลือดไหลออกมาจะหยุดได้นั้น ร่างกายมีการทำงานร่วมกัน 2 อย่างคือ การหดตัวของหลอดเลือด ร่วมกับการเกาะกลุ่มของเกร็ดเลือด และการเกิดลิ่มเลือด ซึ่งต้องอาศัยโปรตีนหลายชนิดที่เรียกว่า แฟคเตอร์ มาทำให้เกิดเกร็ดเลือดมาทำให้เลือดหยุดไหล

สำหรับผู้ที่มีอาการฮีโมฟีเลีย ร่างกายการจะขาดแฟคเตอร์บางตัว ทำให้เลือดไม่สามารถเกาะกลุ่มเป็นเกร็ดได้ โดยหากขาดแฟคเตอร์ 8 จะเรียกว่า โรคฮีโมฟีเลีย เอ (Hemophilia A)หรือขาดแฟคเตอร์ 9  เรียกว่า โรคฮีโมฟีเลีย บี (Hemophilia B)

อาการ

ในผู้ป่วยแต่ละคนก็มีอาการและความรุนแรงที่ต่างกัน ในรายที่รุนแรงมาก จะมีอาการตั้งแต่เด็กโดยเกิดรอยจ้ำเขียวได้ง่าย เมื่อหกล้มจากการฝึกเเดิน ฝึกคลาน และอาจมีอาการเลือดออกในข้อ ในจุดที่ต้องรับน้ำหนัก เช่น ข้อเท้า ข้อเข่า ข้อศอก ซึ่งจะทำให้เกิดอาการ

  • ปวดฉับพลันในข้อ
  • ข้อบวม แดง ร้อน
  • ขยับข้อไม่ได้
  • ต้องนอนนิ่งๆ ในท่างอเพื่อบรรเทาอาการปวด

นอกจากนั้นแล้วผู้ป่วยอาจมีอาการเลือดออกในทางเดินอาหาร ปัสสาวะเป็นเลือด และเลือดออกในสมอง

สำหรับผู้ที่มีอาการน้อย มักไม่แสดงอาการเลือดออก จนกระทั่งได้รับบาดเจ็บ เข้าผ่าตัด หรือทำทันตกรรม และพบว่าเลือดไหลไม่หยุด

การรักษา

โรคฮีโมฟีเลีย เป็นโรคที่รักษาไม่หายขาด แต่ถึงอย่างนั้นก็มีการรักษาผู้ป่วยในเวลาฉุกเฉินคือ

  1. มีแฟคเตอร์ 8 และ 9 เข้มข้นที่สกัดจากพลาสมาและทำเป็นผง เก็บในตู้เย็นใกล้ตัว หากฉุกเฉิน ให้ผสมกับน่้ำกลั่นฉีดเข้าแผล ทำให้เลือดหยุดไหล
  2. พกพาบัตรที่แสดงว่าเป็นผู้ป่วยฮีโมฟีเลีย และบอกกรุ๊ปเลือด หากฉุกเฉิน จะขอรับการช่วยเหลือได้ทันท่วงที

ปรับไลฟ์สไตล์

เพราะเป็นโรคที่รักษาไม่หาย การดูแลตัวเองของผู้ป่วยจึงเป็นที่สำคัญ ดังนั้นจึงควรดูแลไลฟ์สไตล์ความเป็นอยู่ คือ

  1. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เสริมความความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ กระดูก และข้อ
  2. เลือกกีฬาที่เหมาะสม ไม่เสี่ยงให้เกิดบาดแผล เช่น ว่ายน้ำ เดินเร็ว
  3. เลี่ยงกิจกรรมที่มีการกระแทก
  4. รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมและวิตามินดี
  5. ได้รับการรักษาด้วยการฉีดแฟคเตอร์อย่างต่อเนื่อง (ตามแผนการรักษาของแพทย์)
  6. หลีกเลี่ยงการใช้ยาแอสไพรินซึ่งอาจทำให้เลือดออกได้ง่าย

 

ที่มา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล, โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.