อาการ หัวใจเต้นผิดจังหวะ
คุณ แบรี่ เฮนนี่ เจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญด้านการเงิน ประจำสถานเอกอัคราชทูตสหรัฐอเมริกา ตัดสินใจใช้แนวทางดูแลสุขภาพแบบชีวจิต เพื่อบรรเทาอาการ หัวใจเต้นผิดจังหวะ ควบคู่กับการรักษาด้วยการแพทย์แผนปัจจุบัน
พ.ศ.2536 ขณะที่ได้รับมอบหมายให้ไปประจำที่กรุงจาการ์ต้า ประเทศอินโดนีเซีย คุณแบรี่ ป่วยด้วยอาการคล้ายโรคไข้หวัดใหญ่ หลังจากนั้นก็พบว่ามีปัญหาหัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอเป็นครั้งคราว แต่ด้วยอาการนี้เกิดขึ้นไม่บ่อยมากนัก จึงไม่ได้รักษาอย่างจริงจัง
ช่วงปลายปี พ.ศ. 2536 ก่อนที่จะย้ายไปประจำที่ประเทศคอสตาริกา คุณแบรี่ ต้องย้ายไปที่กรุงวอชิงตันเพื่อเรียนภาษาสเปนเป็นการเตรียมพร้อม ปรากฏว่าขณะที่กรุงวอร์ชิงตัน เขามีอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะอย่างรุนแรงราว 220-240 ครั้งต่อนาทีติดต่อกันถึง 20 นาที เทียบกับอัตราการเต้นของหัวใจปกติอยู่ที่ 120 ครั้ง จนต้องเข้าโรงพยาบาลทันที
หลังการตรวจวินิจฉัยโดยละเอียดแล้ว แพทย์สันนิษฐานว่า อาการผิดปกติดังกล่าวเกิดจากการติดเชื้อไวรัสขณะที่อยู่กรุงจาการ์ต้าอาจแพร่กระจายเข้าไปทำลายเนื้อเยื่อหัวใจบางส่วน ทำให้ผัวใจทำงานผิดปกติ ซึงแพทย์ใช้วิธีกระตุ้นเพื่อรักษาอาการหัวใจเต้นผิดปกติด้วยไฟฟ้า และให้ยาควบคุมการเต้นของหัวใจ แม้จะใช้ทั้ง 2 วิธีควบคู่กันคุณแบรี่ก็ยังทรมานกับอาการหัวใจเต้นผิดปกติอยู่
แนวทางการรักษาของแพทย์ทำให้คุณแบรี่ต้องกินยาควบคุมการเต้นของหัวใจไปตลอด วิธีนี้ทำให้หัวใจเต้นคงที่ แต่เป็นอัตราที่ต่ำมาก คือ 40 ครั้งต่อนาที ซึ่งต่ำกว่าอัตราปกติ มีผลให้เขารู้สึกเหนื่อยอ่อนง่าย ผ่านไปราว 10 ปี เมื่อไปตรวจสุขภาพที่กรุงแคนเบอรร่า ประเทศออสเตรเลีย แพทย์เห็นว่าการใช้ยาไม่ได้ช่วยให้อาการดีขึ้นมากเท่าที่ควร จึงเสนอให้เปลี่ยนแนวทางการรักษาไปใช้วิธีฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจไว้ในร่างกาย ซึ่งทางคุณแบรี่และภรรยาปฏิเสธทันที
คุณ ศุภมิตร ภรรยาของคุณแบรี่ เป็นห่วงว่า การกินยาอย่างต่อเนื่องจะมีผลข้างเคียงต่อสุขภาพในระยะยาว จึงแนะนำให้คุณแบรี่ดูแลสุขภาพแบบชีวจิต ปรับเปลี่ยนทั้งอาหารและแนวทางการใช้ชีวิต เรื่องอาหารมีคุณศุภมิตทำอาหารสุขภาพด้วยความรักและเอาใจใส่ทุกมื้อ เรื่องการปรับวิถีชีวิต คุณแบรี่หันมาฝึกสมาธิเพื่อช่วยลดความเครียดและทำให้รู้สึกสงบผ่อนคลาย หลังจากที่ปรับวิถีชีวิตอย่างต่อเนื่อง ทำให้คุณแบรี่ อาการดีขึ้นและสามารถลดปริมาณยาที่กินอยู่จากเดิมวันละ 320 มิลลิกรัม ค่อยๆ ลดลงเหลือเพียง 80 มิลลิกรัมได้ในที่สุด ผลจากการลดยาทำให้เขารู้สึกสดชื่นและกระปรี้กระเปร่าขึ้นกว่าเดิม ปัจจุบัน อัตราการเต้นของหัวใจ อยู่ที่ 50 ครั้งต่อนาที ใกล้เคียงอัตราการเต้นของหัวใจปกติที่ 70 ครั้งต่อนาที
รู้อาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ
นพ.ภัทรพงศ์ ภัทรเวส อายุรแพทย์ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า อาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ เกิดจากความผิดปกติของหัวใจ หรือเป็นผลจากโรคอื่นๆ เช่น โรคปอด โรคไทรอยด์ และกลุ่มอาการที่ทำระดับเกลือแร่ผิดปกติ รวมถึงการใช้ชีวิตที่ผิด เช่น ความเครียด การสูบบุหรี่ และการดื่มสุรา
ส่วนการรักษาแผนปัจจุบัน มี 3 วิธี ได้แก่ การรักษาโดยใช้ยา 2.ใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า ซึ่งใช้รักษาในกรณีที่หัวใจเต้นช้า และ ใช้อุปกรณ์ที่มีคลื่นไฟฟ้า สอดเข้าไปตรวจดูส่วนต่างๆ ของหัวใจว่ามีส่วนใดทำงานผิดปกติ ซึ่งวิธีนี้ ใช้รักษากลุ่มอาการหัวใจเต้นเร็วเป็นหลัก
ข้อมูลจาก : นิตยสารชีวจิต ฉบับที่ 156
เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ