ลำไส้ขี้เกียจ ท้องผูก

ลำไส้ขี้เกียจ เมื่อลำไส้ไม่ยอมทำงาน

ลำไส้ขี้เกียจ โรคนี้เกิดขึ้นเพราะลำไส้ไม่ยอมทำงาน

ลำไส้ขี้เกียจ เป็นอีกอาการที่เกิดขึ้นกับระบบลำไส้ของเรา โดยอาการก็เหมือนกับชื่อเลย คือลำไส้ขี้เกียจ ไม่ยอมทำงาน บีบตัวช้าลงทำให้ของเสียคั่งค้างอยู่ข้างในเกิดเป็นอาหารท้องผูก ขับถ่ายยากนั้นเอง โดยต้นตอมาจากการทำงานผิดปกติของระบบประสาท และกล้ามเนื้อลำไส้ที่ทำงานไม่ปกติ จนทำให้การขยับตัวของลำไส้เพื่อขับของเสียออกไปจากร่างกายช้าลง

อันตรายของยาระบาย กับลำไส้จอมขี้เกียจ

สำหรับตัวร้ายที่ทำให้ลำไส้เกิดอาการขี้เกียจเลยก็คือการทาน ยาระบาย มากเกินไป (ทุกวัน ต่อเนื่อง 1- 2 อาทิตย์) เนื่องจากการกินยาระบายทำให้กล้ามเนื้อในลำไส้เสพติดการกระตุ้นจากยาระบาย จนไม่ยอมทำงานด้วยตนเอง นอกจากนี้แล้ว ยาระบายแต่ละประเภทก็ยังทำให้เกิดผลเสียอื่นๆ ที่ต่างกัน เช่น

ยาระบายที่ช่วยเพิ่มปริมาณอุจจาระ (buclk-forming laxatives) ทำให้อุจจาระเป็นก้อนและนิ่มขึ้น แต่อาจทำให้ท้องอืดและในอนาคตอาจเริ่มถ่ายยาก หากมีการดื่มน้ำที่น้อยเกินไป

ยาที่กระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ (stimulant laxatives) เพื่อเป็นการเร่งให้ลำไส้ทำงานได้รวดเร็วขึ้น แต่ถ้าใช้ไปเรื่อยๆ จะทำให้การทำงานของลำไส้มีการเปลี่ยนแปลง และอาจมีจุดดำเกิดขึ้นในลำไส้ได้

ยาชนิดสวน สำหรับยาชนิดนี้อาจเป็นอันตรายต่อผู้ป่วยที่เป็นโรคไต เพราะมันมีสารประกอบประเภทเกลืออยู่ ดังนั้นต้องระวังการใช้ยาสอดให้ดี หากเป็นไปได้ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้

ดังนั้นการใช้ยาระบายควรอยู่ในการควบคุมของแพทย์

อาการลำไส้ขี้เกียจ

เมื่อลำไส้ขี้เกียจ สิ่งที่เกิดขึ้นคือทำให้ ท้องผูก ซึ่งเมื่อเรื้อรังเป็นเวลานานก็จะรุกลามสร้างปัญหาใหญ่โต ไม่ว่าจะเป็น ริดสีดวงทวาน หรือรู้สึกเจ็บขณะขับถ่าย สำหรับการดูว่าท้องผูกที่เป็นอยู่ เป็นแค่ท้องผูกทั่วๆ ไป หรือควรหาหมอ ก็สังเกตได้ตามนี้เลย

  • ถ่ายน้อยกว่า 3 ครั้ง/สัปดาห์
  • ออกแรงเบ่งขณะขับถ่ายมากกว่าปกติ
  • ถ่ายไม่สุด เหมือนมีสิ่งอุดกั้น
  • อุจจาระเป็นก้อนแข็ง

หากมีอาการเหล่านี้ 2อาการขึ้นไป ติดต่อกันนานกว่า 3 เดือน ควรไปรีบพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยหาความผิดปกติของลำไส่ และรักษาได้อย่างทันท่วงที

การรักษาลำไส้ขี้เกียจ

ถามว่าอาการขี้เกียจนี้รักษายากไหม ก็ตอบเลยว่า ไม่ยาก และไม่ง่าย สำหรับจุดเริ่มต้นของการรักษาคือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เลือกทานอาหารที่เส้นใยสูง ดื่มน้ำบ่อยๆ ออกกำลังกายเพื่อให้ลำไส้ได้ขยับเขยือน แต่หากปรับพฤติกรรมไม่ได้แล้ว ก็มีการรักษาในขั้นตอนต่อไป

ลำดับถัดมา สำหรับการรักษาภาวะขี้เกียจ คือการทานปรับการเคลื่อนตัวของลำไส้ ซึ่งต้องทำควบคู่ไปกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จึงจะได้ผล

แต่หากไม่ได้ผลจริงๆ คุณหมอก็มีวิธีการขั้นสุดท้าย นั่นก็คือการตัดลำไส้ส่วนที่ไม่ปกติออก แต่การรักษาแบบนี้มีเงื่อนไขอยู่ว่า

  • เป็นการรักษาขั้นตอนสุดท้าย
  • จะต้องตรวจพบความผิดปกติระบบประสาท และกล้ามเนื้อลำไส้จริงๆ
  • ระบบย่อยอาหารอื่นๆ เช่นกระเพาะ ลำไส้เล็ก ต้องได้รับการตรวจสอบว่าไม่มีความเสียหาย

ความอันตรายของลำไส้ขี้เกียจ

แม้จะดูเหมือนเป็นภาวะท้องผูกธรรมดาทั่วไป แต่ที่จริงแล้วหากปล่อยทิ้งไว้ไม่ได้รักษา ก็ทำให้เกิดโรคร้ายตามมาได้ เช่น เป็นแผลในลำไส้ จากอุจจาระที่แห้งแข็ง และอาจนำไปสู่การถ่ายเป็นมูกเลือดได้ด้วยนะคะ

ที่มา : โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์


เนื้อหาอื่นๆ ที่น่าสนใจ

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.