ข้อดีของการแช่เท้า

แพทย์แผนจีนชี้! 5 ข้อดีของการแช่เท้า

ข้อดีของการแช่เท้า ช่วยลดหลากหลายอาการป่วย

การแช่เท้าด้วยน้ำอุ่น ช่วยทำให้เท้าเกิดการผ่อนคลายและสามารถป้องกันโรคได้ วันนี้จะมาบอก ข้อดีของการแช่เท้า และขอแนะนำการแช่เท้าด้วยยาจีนเพื่อแก้อาการ

แพทย์แผนจีนเปรียบเท้าเสมือนหัวใจดวงที่สอง เป็นฐานรากของร่างกายซึ่งเชื่อมปลายประสาทระหว่างเท้ากับสมองเข้าด้วยกัน ดังนั้นการดูแลเท้าเป็นเรื่องสำคัญนะคะ ดังนั้นวันนี้แพทย์จีนนภษร แสงศิวะฤทธิ์ อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านแพทย์แผนจีนของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติจึงมีข้อดีของการดูแลเท้าด้วยวิธีการ “แช่เท้า” มาฝากค่ะ

 

  1. ลดอาการปวดประจำเดือน

          1.1. ผู้ที่มีอาการปวดประจำเดือนที่เกิดจากลมปราณติดขัด เลือดไหลเวียนไม่ดี ซึ่งสามารถสังเกตจากประจำเดือนจะมีสีแดงเข้ม มีลิ่มเลือดปนมา จะมีอาการปวดท้องน้อย อารมณ์ฉุนเฉียว หงุดหงิด ช่วงก่อนมีประจำเดือน 2 วัน – 1 สัปดาห์ หรือในช่วงมีประจำเดือน 1-2 วันแรก

แนะนำให้แช่เท้าด้วยยาที่มีฤทธิ์ซึมซาบเข้าสู่เส้นลมปราณตับ เช่น อี้หมูฉ่าว (กัญชาเทศ) ฮงฮวา (ดอกคำฝอย) เหมยกุยฮวา (ดอกกุหลาบ)

1.2. ผู้ที่มีอาการปวดประจำเดือนจากภาวะหยางพร่อง ความเย็นสะสม ซึ่งจะมีอาการปวดท้องน้อย เมื่อประคบร้อนแล้วจะรู้สึกดีขึ้น มือเท้า เย็น ต้องใช้ยาจีนที่ช่วยเพิ่มความอุ่น ขจัดความเย็น เนื่องจากแพทย์จีนกล่าวว่า ไตเป็นตัวควบคุมพลังงานหยางทั้งร่างกาย

แนะนำให้แช่เท้าด้วยยาที่มีฤทธิ์ซึมซาบเข้าสู่เส้นลมปราณไต เช่น โร่วกุ้ย (อบเชย) ติงเซียง(กานพลู) เสี่ยวหุยเซียง(เมล็ดยี่หร่า) ตังกุย(โกฐเชียง) กันเจียง(ขิงแห้ง)

 

คลิกเพื่ออ่านต่อหน้าถัดไป

ข้อดีของการแช่เท้า

  1. ลดส้นเท้าแตก

          ควรแช่เท้าด้วยน้ำเกลือผสมน้ำมันมะพร้าว

3. ลดอาการรองช้ำ

          ปวดเท้าจากการยืนหรือเดิน ปวดเรื้อรังจากข้อเท้าแพลง ควรแช่เท้าด้วยน้ำฮงฮวา (ดอกคำฝอย)

4. หวัดหรือภูมิแพ้

          ควรแช่เท้าด้วยน้ำอ๋ายเย่ (โกฐจุฬาลำพา) สอบถามเติมได้ตามร้านแพทย์แผนจีนทั่วไป

นอกจากนี้เราสามารถดูแลเท้าก่อนนอนได้ทุกวัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการไหลเวียนเลือดและลมปราณ ปรับการทำงานของอวัยวะภายใน เป็นวิธีดูแลสุขภาพง่ายๆ ที่ไม่ต้องเสียเงินแพงเลยค่ะ

 

DID YOU KNOW ?

แช่เท้าให้ถูกวิธี

          ล้างเท้าให้สะอาด แช่ลงในน้ำอุ่น อุณหภูมิประมาณ 40-50 องศาเซลเซียส ระดับน้ำประมาณ 10 เซนติเมตรหรือถึงบริเวณตาตุ่ม แช่นาน 5-10 นาที

—————————————————-

ข้อมูลจาก : นิตยสารชีวจิต ฉบับที่ 436

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.