พฤติกรรมแบบผิดๆ ที่อาจส่งผลให้ร่างกายเกิดเป็น ” โรคกระดูกและข้อ “
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ (พิเศษ) นายแพทย์ธนะเทพ ตั่นเผ่าพงษ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โรคกระดูกและข้อ ฝ่ายออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ได้ไขปัญหาสารพัดคำถามเกี่ยวกับโรคสุดฮิตอย่างกระดูก ไว้ดังนี้
1. ปล่อยให้เด็กเล็ก ๆ สะพายเป้หนัก ๆ ทำให้กระดูกสันหลังคดได้
- False กระดูกสันหลังคด คือภาวะที่กระดูกสันหลังคด (Cobb Angle) มากกว่า 10 องศา เป็นความผิดปกติโดยกำเนิด ส่วนการสะพายเป้ที่มีน้ำหนักมากนั้น จะทำให้เกิดความปวดเมื่อยกล้ามเนื้อหรืออาการบาดเจ็บ แต่ไม่มีผลกระทบต่อกระดูก
- Fact ก่อนที่จะมาพบแพทย์เพื่อรักษาความผิดปกติ ควรสังเกตว่าเด็กมีแนวกระดูกสันหลังไม่ตรงหรือไม่ โดยสังเกตจากระดับหัวไหล่สองข้างไม่เท่ากัน หรือในท่าก้มตัวไปข้างหน้าจะสังเกตเห็นกระดูกหลังนูนขึ้นมาชัดเจน เป็นต้น มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่มาพบแพทย์ด้วยอาการปวดหลัง
2. กระดูกพรุนรักษาได้ด้วยการกินแคลเซียมเสริม
- False กระดูกพรุนเป็นความเสื่อมที่เกิดขึ้นตามวัยและการขาดฮอร์โมนเพศหญิงจึงไม่สามารถฟื้นมวลกระดูกให้สมบูรณ์ดังเดิมได้
- Fact แต่เราสามารถช่วยชะลอความเสื่อมของกระดูกลงได้ โดยแพทย์แนะนำให้กินอาหารที่มีแคลเซียมสูงร่วมกับวิตามินดีและปรับระดับฮอร์โมนในกรณีที่เป็นหญิงวัยหมดประจำเดือน
คลิกเพื่ออ่านต่อหน้าถัดไป
3. ใช้แท็บเล็ต / สมาร์ทโฟนติดต่อกันเกิน 1 ชั่วโมง เสี่ยงโรคหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อม
- True อาการเริ่มต้นหากใช้แท็บเล็ตและสมาร์ทโฟนเป็นเวลานาน คือ รู้สึกปวดกล้ามเนื้อคอ บ่า ไหล่มาก หากปล่อยทิ้งไว้จะรู้สึกปวดร้าวขึ้นไปถึงศีรษะ ขมับและกระบอกตา ทำให้เวียนศีรษะและปวดร้าวลงไปแขนและมีอาการชาตามนิ้วมือร่วมด้วย ต่อมาหากก้มคอต่อเนื่องบ่อย ๆ จะเกิดแรงดันที่หมอนรองกระดูกสันหลังส่วนคอเพิ่มขึ้น ทำให้หมอนรองกระดูกคอโป่งออกด้านหลังหรือเสื่อมและเคลื่อนได้
- Fact ลดการใช้แท็บเล็ตหรือโทรศัพท์ติดต่อกันไม่เกินครั้งละ 1 ชั่วโมง ควรลุกขึ้นมาปรับเปลี่ยนอิริยาบถทุก ๆ 15 นาที นอกจากนี้ควรฝึกบริหารร่างกายเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อที่อยู่รอบ ๆ ต้นคอ บ่า ไหล่ และสามารถประคบด้วยลูกประคบสมุนไพรครั้งละ 20 – 30 นาทีร่วมด้วยได้
-
อาการปวดหลังแล้วปวดร้าวลงขา แค่ใส่อุปกรณ์ช่วยพยุงหลังก็แก้ได้
- False อาการปวดหลังแล้วรู้สึกร้าวลงขาแสดงว่าระบบเส้นประสาทเกิดความผิดปกติ เนื่องจากหมอนรองกระดูกอาจเคลื่อนออกมาเบียดหรือกดทับเส้นประสาท ทำให้เกิดอาการชาหรือรู้สึกผิวหนาๆ คล้ายใส่ถุงเท้า หมดความรู้สึก หยิกไม่เจ็บ มีอาการกล้ามเนื้อบางส่วนอ่อนแรง
- Fact จำเป็นต้องรีบไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษา โดยกินยาร่วมกับการทำกายภาพบำบัด โดยทั่วไปผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้นภายใน 4 – 6 สัปดาห์ หลังจากนั้นต้องปรับเปลี่ยนท่าทางในการใช้ชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นท่านั่งทำงาน ท่ายกของหนัก หรือการขึ้นบันได รวมถึงเลือกรูปแบบการออกกำลังกายที่เหมาะสมและหลีกเลี่ยงกีฬาที่ทำให้กระดูกสันหลังส่วนล่างได้
ทราบข้อเท็จจริงให้ถ่องแท้ คุณก็สามารถดูแลตนเองและสมาชิกในครอบครัวให้ห่างไกลโรคกระดูกและข้อได้อย่างไร้ข้อกังขาแล้วครับ
ข้อมูลจาก : นิตยสารชีวจิต ฉบับที่ 369
เรื่อง : พท.ป.ชารีฟ หลีอรัญ