บรรเทาโรคเอสแอลอีด้วยการดูแลตัวเอง

บรรเทาโรคเอสแอลอีด้วยการดูแลตัวเอง

 

โรคเอสแอลอี

วิธีการของคุณวิไลลักษณ์คือ

  1. หักดิบอาหารที่กิน (จากอาหารตามใจปาก เช่น หมู เนื้อย่างเกรียมๆ ของทอดเยิ้มๆ น้ำอัดลม เค้ก ช็อกโกแลต ก๋วยเตี๋ยวปรุงรสด้วยน้ำตาล น้ำส้ม พริกป่น อย่างละ 3 ช้อนโต๊ะ) มาเป็นชีวจิตอย่างเข้มข้นข้าวกล้อง ผัก ปลา น้ำซุปก็ต้องเป็นซุปที่ทำเอง

เพราะงานยุ่งตลอดเวลา หากเป็นคนชอบทำอาหารอยู่แล้วฉะนั้นทุกวันหยุดเธอจึงทำอาหารชีวจิตเป็นแพ็คใส่ตู้เย็นไว้จนครบทุกมื้อ ทุกวันทำงาน  เมื่อถึงเวลาทานจึงนำมาอุ่น

  1. เมื่อรู้สึกเหนื่อยหรือเพลีย เธอจะคั้นน้ำเอนไซม์ (ด้วยเครื่องคั้นแยกกาก) ดื่ม โดยดื่มวันละ 2 แก้ว เช้า – เย็น และผักผลไม้ที่ใช้นั้นจะหลากหลาย ไม่ค่อยให้ซ้ำกัน
  2. ต้มน้ำอาร์.ซี.ดื่มเกือบทุกวัน
  3. ทำดีท็อกซ์สองเดือนครั้ง
  4. ตื่นเช้ารำกระบองเป็นเวลา 1 ชั่วโมงก่อนมาทำงาน
  5. ไม่เครียด นอนพักผ่อนให้เพียงพอ
  6. ฝึกวิปัสสนาและทำต่อเนื่องสม่ำเสมอ
  7. เลี่ยงปัจจัยที่กระตุ้นโรค เช่น แสงแดด หรือที่ที่มีผู้คนแออัด

คุณวิไลลักษณ์เล่าว่า “เลิกกินยามาหลายปีแล้ว ถามว่าเกล็ดเลือดสูงไหม ก็ไม่เคยถึงแสน แค่ 7 – 8หมื่น แต่เราเลือกไม่กินยาเพราะบางทีไปหาหมอ คือหมอให้ไปเองทุก 3 เดือนหรือ 6 เดือนเกล็ดเลือดเหลือ 5 หมื่น หมอจะสั่งยา แต่เราก็บอกไม่ต้อง

โรคเอสแอลอี

“เราคิดว่ารู้จักตัวเองดี เพราะบางช่วงรู้สึกเหนื่อยหลังตื่นนอนตอนเช้า ก็จะรู้แล้วว่าเกล็ดเลือดต่ำ ไปหาหมอ ผลเกล็ดเลือดก็ต่ำอย่างที่เข้าใจจริงๆ ช่วงนั้นก็จะรีบหันมาเข้มงวดกับการกิน การพักผ่อน ออกกำลังกาย และพยายามไม่เครียด”

จิตสั่งกายของคุณวิไลลักษณ์จึงไม่มีอะไรซับซ้อนหรือลึกล้ำเกินเหตุและผล แค่จิตมีความตั้งมั่นที่จะไม่ยอมให้ตัวเองป่วย จึงสั่งให้กาย (ซึ่งหมายรวมถึงการกระทำ) ไปปรุงอาหารสุขภาพ คิดเมนูใหม่ไม่ซ้ำเดิม และมีความสุขกับการปรุงและการกินเมนูเพื่อสุขภาพเหล่านั้น แถมจิตยังสั่งกายให้ลุกขึ้นออกกำลังกาย ไม่ว่าจะเหนื่อยเพลียจากงานในออฟฟิศแค่ไหนก็ตาม รวมถึงวันหยุดยาว จิตก็สั่งกายให้เคลียร์งานทุกอย่าง เข้าวัดวิปัสสนา ซึ่งนอกจากจิตใจตัวเองจะปลอดโปร่งแล้ว เพื่อนร่วมงานก็ได้รับบุญที่เธอแบ่งให้กันถ้วนหน้า

“ตอนแรกที่เป็นโรคนี้เราบอกตัวเองว่าเราป่วย เราน่าสงสาร เพื่อนดูแลฉันหน่อย แฟนต้องดูแลฉันนะ แล้วก็ป่วยมากขึ้นจริงๆ ด้วย แต่ตอนหลังมานี้บอกตัวเองว่าเราไม่ป่วย เราก็ไม่ได้เป็นอะไรจริงๆ”

เธอทิ้งท้ายเป็นอุทาหรณ์สำหรับทุกคน ทั้งผู้ป่วยและผู้ที่ยังไม่ป่วย

 

รู้จักโรคเอสแอลอี

โรคเอสแอลอี (SLE ย่อมาจาก Systemic Lupus Erythematosus) คือโรคที่เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน ก่อให้เกิดอาการอักเสบโดยไม่สามารถหาสาเหตุได้คำว่า “Lupus” เป็นภาษาละติน หมายถึงหมาป่า ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความลึกลับจึงนำมาใช้กับโรคที่หาสาเหตุไม่ได้ ส่วน“Systemic” คือ ร่างกายสร้างระบบภูมิคุ้มกันที่ต่อต้านเซลล์ตามระบบต่างๆ ก่อให้เกิดอาการอักเสบ และ “Erythematosus” หมายถึงแดง ใช้บรรยายอาการอักเสบ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์กิตติ โตเต็มโชคชัยการ โรงพยาบาลรามาธิบดีกล่าวว่า อาการอักเสบที่พบบ่อยที่สุดในผู้ป่วยบ้านเรา ได้แก่ การอักเสบที่ผิวหนังทำให้เกิดผื่นที่ผิวหนัง ซึ่งมีผื่นหลายแบบ บางแบบก็เป็นลักษณะเฉพาะของโรคเอสแอลอีเอง เช่น ผื่นรูปผีเสื้อ หรือผื่นวงกลมๆ แล้วก็มีผิวหนังอักเสบ ผิวหนังตายบริเวณกลางๆ หรือเกิด การอักเสบของข้อ คือมีอาการข้ออักเสบ ข้อบวม

อาการไตอักเสบ คนไข้จะมีอาการบวม เนื่องจากเมื่อมีการอักเสบที่ไตทำให้โปรตีนไข่ขาวที่มีอยู่ในเลือดรั่วออกมาในปัสสาวะจำนวนมาก ส่งผลให้ระดับโปรตีนไข่ขาวในเลือดลดลงจนไม่สามารถอุ้มสารน้ำเอาไว้ในเส้นเลือดได้ สารน้ำจึงรั่วออกมาจากเส้นเลือดมาอยู่ในเนื้อเยื่อต่างๆ ทำให้เกิดอาการบวมได้ ถ้านั่งห้อยเท้าหรือยืนก็บวมเท้า นอนก็บวมหลัง

นอกจากนี้ยังมี การอักเสบของระบบประสาท ระบบเลือด โดยภูมิคุ้มกันจะทำลายเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว หรือเกล็ดเลือด ทำให้ผู้ป่วยมีเม็ดเลือดขาวต่ำลงเกล็ดเลือดต่ำลง หรือมีภาวะเลือดจางจากการที่เม็ดเลือดแดงถูกทำลาย

ผู้ป่วยโรคเอสแอลอีที่พบบ่อยที่สุดคือผู้หญิงอายุระหว่าง 20 – 30 ปี โดยโรคนี้มักเกิดในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายถึง 9 เท่าแปลว่าผู้ป่วย 10 ราย จะพบผู้หญิง 9 รายและผู้ชาย 1 รายเท่านั้น

โรคเอสแอลอีเกิดขึ้นได้กับคนทุกชาติ แต่จากการสำรวจพบว่าคนในทวีปเอเชียมีโอกาสเป็นโรคเอสแอลอีมากกว่าคนในทวีปยุโรปหรืออเมริกา และคนผิวดำเป็นมากกว่าคนผิวขาว นอกจากนี้แล้ว โรคที่เกิดในคนเอเชียจะมีความรุนแรงมากกว่าคนผิวขาว และเฉพาะในทวีปเอเชียพบว่ามีผู้ป่วย 70 – 100 คนต่อประชากรหนึ่งแสนคน หรือ 0.07 เปอร์เซ็นต์

 

คลิกเพื่ออ่านต่อหน้าถัดไป

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.