ลดความอ้วน ไม่ใช้ยา

ลดความอ้วน ไม่ใช้ยา ทำตามด่วน แค่คุม 2 อย่าง

ลดความอ้วน ไม่ใช้ยา รีบทำตามด่วน แค่คุม 3 อย่าง ก็ผอมแบบไมม่อันตราย

หลายคน เดินหายาลดน้ำหนัก เพราะอยากผอม แต่รู้ไหมว่า เราสามารถ ลดความอ้วน แบบไม่พึ่งพายาได้ ขอแค่ควบคุม อาหาร และออกกำลังกาย

โรคอ้วน เป็นปัญหาสำคัญที่พบบ่อยขึ้นเรื่อยๆ  ด้วยวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ และอาหารในปัจจุบัน เป็นปัจจัยส่งผลให้เกิดภาวะดังกล่าว

จากการรับประทานอาหารมากเกินความต้องการของร่างกาย รับประทานอาหารจุกจิก หลายมื้อ หรือรับประทานอาหารที่มีแคลอรี่ (ให้พลังงาน) สูง  ร่วมกับมีกิจกรรมทางกายลดลง หันไปใช้เครื่องผ่อนแรง   เช่น  บันไดเลื่อน  ลิฟต์  หรือยานพาหนะแทน   รวมไปถึงขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

ปัจจุบันโรคอ้วนไม่ได้เป็นเพียงปัญหาของผู้ใหญ่เท่านั้น   เด็กก็พบปัญหาเป็นโรคอ้วนเพิ่มขึ้นเช่นกัน   นอกจากนี้ผู้ที่เป็นโรคอ้วนลงพุง (metabolic syndrome) มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นต่อการเกิดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง นิ่วในถุงน้ำดี  โรคหัวใจและหลอดเลือด

การวินิจฉัยโรคอ้วน และโรคอ้วนลงพุง

สำหรับคนไทย เส้นรอบเอวเพศชาย ไม่ควรมีรอบเอวเกิน 90 เซนติเมตร (36 นิ้ว) และ เพศหญิง ไม่ควรมีรอบเอวเกิน 80 เซนติเมตร (32 นิ้ว)

ลดน้ำหนักอย่างปลอดภัย ได้ผล

การลดน้ำหนัก ประกอบด้วย การคุมอาหารและออกกำลังกาย หรืออาจพิจารณาใช้ยาลดน้ำหนักร่วมด้วย สําหรับการผ่าตัดลดน้ำหนัก แพทย์จะใช้เฉพาะผู้มีดัชนีมวลกาย ≥ 40 กก./ม2 หรือ เกิน 35 กก./ม2  ที่มีภาวะโรคเรื้อรังจากความอ้วน ( obesity related comorbidities) ร่วมด้วย

ว่าไปแล้วหากลดแคลอรี่จากอาหารที่รับประทานลงวันละประมาณ 500 กิโลแคลอรี่  จะสามารถลดน้ำหนักได้เฉลี่ยสัปดาห์ละ ครึ่งกิโลกรัม หรือ 1-2  กิโลกรัมต่อเดือน

สูตรอาหารลดน้ำหนักมีหลายชนิด ซึ่งมีประสิทธิภาพลดน้ำหนักในระยะสั้นแตกต่างกัน  แต่ในระยะยาว ประสิทธิภาพในการลดน้ำหนักคล้ายคลึงกัน  หากสามารถปฏิบัติได้ต่อเนื่องและสม่ำเสมอ

อย่างไรก็ตาม ผู้เป็นโรคเบาหวานควรปรึกษาแพทย์ หากจะลดน้ำหนักโดยใช้สูตรลดแป้ง หรือโลว์คาร์บ (low carbohydrate) และสูตรอาหารคีโตเจนิค (ketogenic diet) เนื่องจากอาจมีความจําเป็นต้องปรับยาเบาหวาน เพื่อลดการเกิดภาวะน้ำตาลต่ำ และเฝ้าระวังการเกิดภาวะเลือดเป็นกรด (DKA) โดยเฉพาะผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1

ให้เราสังเกตดู  เมื่อลดน้ำหนักโดยควบคุมอาหารไปสักระยะหนึ่ง น้ำหนักจะลดช้าลง เนื่องจากมวลกล้ามเนื้อลดลง  การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะช่วยเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ และไม่ให้น้ำหนักกลับเพิ่มขึ้นอีก หรือที่เรียกว่าภาวะ “โยโย่”

การออกกำลังกายหรือมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น ทำได้ง่ายๆ โดยเดินเพิ่มขึ้น อาจเดินพื้นราบ  เดินขึ้นบันไดแทนการใช้ลิฟต์หรือบันไดเลื่อน  ถีบจักรยานระยะทางสั้น ๆ   นอกจากออกกำลังกายแล้ว ยังลดมลภาวะจากน้ำมันรถได้อีกด้วย

ข้อมูลจาก 

รศ.พญ.นันทกร  ทองแตง
ผศ.นพ.พรพจน์ เปรมโยธิน
ภาควิชาอายุรศาสตร์
Faculty of Medicine Siriraj Hospital คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

บทความอื่นที่น่าสนใจ

4 ข้อต้องรู้ นำไปสู่การ กินเท่าไรก็ไม่อ้วน น้ำหนักไม่พุ่ง

ผ่าตัดกระเพาะ รักษาโรคอ้วน ทำได้จริงหรือไม่

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.