2. ทำงานอดิเรกที่ไม่เคยทำ เช่น งานฝีมือ เย็บปักถักร้อยเรียนดนตรี เต้นรำ เล่นกีฬา หรือฝึกโยคะ
3. เล่นเกมฝึกสมองต่างๆ เช่น ปริศนาอักษรไขว้ ปัญหาเชาวน์หมากฮอส และหมากล้อม หรือฝึกฝนความจำ โดยพยายามจำหน้าและชื่อของบุคคลสำคัญ หรือเปิดพจนานุกรมท่องคำศัพท์ใหม่ๆ
4. ทำสมาธิและฝึกตั้งสติ โดยกำหนดจิตให้รู้เท่าทันตนเองว่าขณะนี้มีอารมณ์ความรู้สึกอย่างไร กำลังทำอะไร หรือจะไปที่ไหน
5. นัดพบเพื่อนฝูง พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น หรือข่าวสารที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน เพื่อฝึกสมองให้รู้จักคิดวิเคราะห์
6. สมัครเข้าชมรมต่างๆ ทำกิจกรรมแปลกใหม่ และทำความรู้จักกับเพื่อนใหม่
7. เปลี่ยนการใช้ประสาทสัมผัสที่เคยใช้เป็นประจำ เช่น ใช้มือข้างไม่ถนัดหยิบของ เขียนหนังสือ วาดรูป ปั้นดินน้ำมัน หรือกวาดบ้าน
8. ฟังเพลงคลาสสิก ช่วยกระตุ้นการทำงานของสมอง ทำให้มีสมาธิและความจำดี
9. ฝึกผ่อนคลายสมองด้วยการมองโลกในแง่ดี มีเมตตา หมั่นนึกถึงแต่ประสบการณ์ดีๆ หัดเป็นคนยิ้มง่ายและมีอารมณ์ขัน
สนับสนุนข้อมูล : คอลัมน์เรื่องพิเศษ นิคยสารชีวจิต ฉบับ 326 (1 พ.ค.55)
บทความที่น่าสนใจอื่นๆ
วิธีดูแลสมอง ป้องกันอัลไซเมอร์ สไตล์บอกอ
วิจัยชี้! ยิ่งกลัวแก่ ยิ่งเร่งให้เป็นอัลไซเมอร์
15 Super Foods ป้องกัน อัลไซเมอร์
อาหารต้องห้ามทำป่วย อัลไซเมอร์
5 เคล็ดลับบำรุงสมอง ของคนวัยทำงาน