โรคหัวใจ

สังเกต 8 อาการเสี่ยง ส่อ โรคหัวใจ

อาการผิดปกติที่สังเกตได้จากร่างกาย

นอกจากความผิดปกติชนิดเฉียบพลันแล้ว อาการบ่งชี้ที่สังเกตได้จากร่างกายของเราเอง ก็เป็นอีกหนึ่งความผิดปกติที่เตือนให้รู้ว่า คุณอาจเป็นโรคหัวใจและควรไปพบแพทย์โดยด่วนได้เช่นกันครับ เป็นต้นว่า

  • ขาหรือเท้าบวมโดยไม่ทราบสาเหตุ เมื่อกดดูแล้วมีรอยบุ๋มตามนิ้วที่กดลงไป ซึ่งหากเกิดขึ้นกับใคร ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจเช็คโดยด่วน เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนให้รู้ว่า เวลานี้ คุณอาจอยู่ในภาวะหัวใจล้มเหลวโดยที่ไม่รู้ตัว
  • ปลายมือ ปลายเท้า และริมฝีปากมีลักษณะเขียวคล้ำ อาการดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ทางเดินของเลือดในหัวใจห้องขวากับห้องซ้ายมีเชื่อมต่อที่ผิดปกติ ส่งผลให้เกิดการผสมของเลือดแดงกับเลือดดํา และทําให้ปริมาณของออกซิเจนในเลือดมีปริมาณน้อยลง

อาการผิดปกติที่ตรวจพบขณะตรวจร่างกาย

การไปพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพประจำปี เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะทำให้เราสามารถคาดคะเน ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจได้ เช่น ตรวจเลือดแล้วพบว่าเป็นเบาหวาน หรือมีไขมันในเลือดสูง ก็อาจสันนิษฐานได้ว่า มีความเสี่ยงต่อการเกิดหลอดเลือดหัวใจตีบได้เช่นกัน

เอ็กซเรย์พบว่าขนาดของหัวใจโตกว่าปกติ ซึ่งอาจเกิดจากหลอดเลือดหัวใจตีบ ลิ้นหัวใจรั่ว และกล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวอ่อนกำลังลง ทำให้ห้องต่างๆของหัวใจขยายขนาดใหญ่ขึ้น ทั้งนี้ ในกรณีที่ตรวจพบว่ามีความเสี่ยงสูง ไม่ควรนิ่งนอนใจรีบไปพบแพทย์โดยด่วนครับ

ป้องกัน โรคหัวใจ อย่างไรดี

ข้อมูลที่ได้บอกไปข้างต้น เป็นเพียงข้อสันนิษฐานเบื้องต้นว่า เรามีอัตราเสี่ยงสูงต่อการป่วยเป็นโรคหัวใจเท่านั้น ซึ่งผู้ที่จะวินิจฉัยว่า เราเป็นโรคหัวใจหรือไม่ คือ แพทย์โรคหัวใจเท่านั้น ดังนั้นหากพบความผิดปกติ ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วนดีที่สุด

สำหรับคนที่หัวใจยังเป็นปกติ เรามีข้อแนะนำในการดูแลหัวใจ (ก่อนสายเกินไป) ดังนี้ครับ

  • สังเกตความผิดปกติของตัวเองอยู่เสมอ โดยเฉพาะอาการผิดปกติ ที่เกิดขึ้นเฉียบพลัน เช่น ดูว่าอัตราการเต้นของหัวใจปกติดีหรือไม่ เจ็บหน้าอก ใจสั่น บ่อยๆหรือเปล่า เป็นต้น
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ ซึ่งนอกจากจะทำให้ร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ สุขภาพจิตแจ่มใสแล้ว ยังช่วยให้หัวใจสูบฉีดเลือดได้ดีขึ้นอีกด้วย
  • ดูแลสุขภาพใจ ให้ผ่องใสอยู่เสมอ พยายามไม่เครียด รู้จักควบคุมอารมณ์ และพึงระลึกไว้เสมอว่า ความเครียด และความโกรธ เป็นตัวการสำคัญ ที่ทำให้หัวใจเต้นแรง และทำงานหนักขึ้น
  • รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ โดยงดอาหารที่มีไขมันสูง  ซึ่งทำให้ความดันโลหิตสูง เกิดภาวะเส้นเลือดหัวใจตีบได้ง่าย หันไปกินอาหารจำพวกแป้งไม่ขัดขาว และผักผลไม้ให้มากขึ้น
  • ควรไปตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี เพื่อป้องกันและ รักษาโรคร้ายที่อาจคาดไม่ถึง ซึ่งแฝงเร้นอยู่ในตัวเราตั้งแต่เนิ่นๆ

เมื่อรู้ว่า หัวใจคืออวัยวะที่ทำงานตลอดเวลา อย่าลืมดูแลหัวใจ ให้ดีนะครับ

ข้อมูลเรื่อง ” สังเกต 8 อาการเสี่ยง ส่อโรคหัวใจ” จากนิตยสาร ชีวจิต

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.