ระบบย่อย, ดูแลระบบย่อย, การดูแลสุขภาพ, อาหารที่ดีต่อระบบย่อย

ดูแลระบบย่อย ด้วยวิถีสุขภาพระดับโลก

CHINA

ชาวจีนสั่งสมองค์ความรู้ในการรักษาโรคและดูแลสุขภาพมากว่า 2,500 ปี จนกลายเป็นศาสตร์การแพทย์แผนจีน ประกอบด้วยการ ใช้สมุนไพรเป็นทั้งยาและอาหาร โดยเรื่องอาหารเน้นกินตามฤดูกาล มุ่งให้หยิน – หยางสมดุล และส่งเสริมให้ชี่หรือพลังชีวิต ไหลเวียนดี ไม่ติดขัด เมื่อชี่ไหลเวียนไปทั่วร่างกายได้ สุขภาพจะแข็งแรง หากเกิด ภาวะหยิน – หยางไม่สมดุลจนเจ็บป่วยจะใช้วิธีฝังเข็ม การนวดแบบ ทุยหนา และการฝึกชี่กงหรือไทชิ มาช่วยให้ร่างกายคืนสู่สมดุล และกลับมามีสุขภาพแข็งแรงได้อีกครั้ง

หยิน คือ ความนุ่มนวล และ หยาง คือ ความแข็งแกร่ง ตัวอย่างของหยิน – หยาง ได้แก่ เย็น – ร้อน กลางคืน – กลางวัน มืด – สว่าง สงบนิ่ง – เคลื่อนไหว เมื่อสมดุลของหยิน – หยาง ในร่างกายเปลี่ยนแปลงไป จะเกิดโรคภัยไข้เจ็บตามมา

ถัดมาเป็นแนวคิดเรื่องธาตุทั้ง 5 ได้แก่ ธาตุไม้ ธาตุไฟ ธาตุ ดิน ธาตุทอง ธาตุน้ำ ว่าสัมพันธ์กับอวัยวะต่างๆ อย่างไร เช่น ธาตุไม้ สัมพันธ์กับอวัยวะตันคือตับ อวัยวะกลวงคือถุงน้ำดี อวัยวะ รับรู้คือตา กลุ่มเนื้อเยื่อคือเส้นเอ็น ดังนั้นเมื่อตับเกิดความผิดปกติ จะมีอาการแสดงออกที่ตาและเส้นเอ็น เป็นต้น

สุดท้าย เป็นแนวคิดเรื่ององค์ประกอบสำคัญในร่างกาย ได้แก่ สารจำเป็น (จิง) ได้แก่ เลือด ลมปราณ ของเหลวในร่างกาย สารอาหาร ช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโต ลมปราณ (ชี่) ได้จาก สิ่งแวดล้อม ช่วยสร้างแรงกระตุ้น ทำให้ร่างกายเจริญเติบโต ควบคุม การเปลี่ยนแปลงของวัตถุพื้นฐานในร่างกาย

ชาวจีนมักใช้สมุนไพรเป็นทั้งยาและอาหาร ในกรณีที่มีสมาชิก ในครอบครัวเจ็บป่วยจะนิยมปรุงอาหารโดยเน้นการตุ๋น นึ่ง ซุป ที่มี ส่วนผสมของสมุนไพร ซึ่งนอกจากจะได้สรรพคุณทางยาจากสมุนไพร ต่าง ๆ ช่วยปรับให้ธาตุทั้ง 5 และชี่ให้กลับสู่สมดุลแล้ว วิธีปรุงอาหาร ดังกล่าวยังทำให้อาหารเปื่อย นิ่ม ย่อยง่าย ร่างกายดูดซึมไปใช้ได้เร็ว

ส่วนใหญ่สมุนไพรจีนดั้งเดิมมักใช้ในรูปยาตำรับ ประกอบด้วย สมุนไพรหลาย ๆ ชนิดรวมกันและใช้เวลาต้มนาน แต่เพื่อให้ผู้อ่านได้ ทดลองใช้สมุนไพรจีนแบบง่ายๆ ชีวจิต จึงคัดสรรสูตรสมุนไพรจีน ประยุกต์จากแพทย์แผนจีนรุ่นใหม่ที่มีชื่อเสียงในสหรัฐอเมริกามา นำเสนอ ดังนี้

ดูแลระบบย่อย, จีน, อาหารจีน, แพทย์แผนจีน, สมุนไพรจีน

4 HERBS แก้โรคระบบย่อยด้วยสมุนไพรจีน

ดร.พญ.มารินา เดบเซวิค ผู้เชี่ยวชาญด้านศาสตร์การแพทย์ ทางเลือกและการแพทย์แผนจีน รวมทั้งเป็นคอลัมนิสต์ประจำ เว็บไซต์ Mind Body Green แนะนำ 4 สมุนไพรจีนช่วยแก้ ปั ญหา ระบบย่อยที่บุคคลทั่วไปสามารถหามาใช้เองที่บ้านได้ง่าย ๆ ตาม อาการที่พบบ่อย ดังนี้

ท้องอืด อาหารไม่ย่อย

เซียงจา (Shan Zha) ชื่อวิทยาศาสตร์ Crataegus laevigata หรือฮาวทอร์นเบอร์รี่ (Hawthorn Berry) มีรสเปรี้ยว อมหวาน มีฤทธิ์อุ่นเล็กน้อย กระตุ้นให้ชี่เคลื่อนไหว มีผลต่อ ม้าม กระเพาะ ตับ

วิธีปรุง ใช้เซียงจาแห้ง 20 กรัม ต้มกับน้ำ 1 ลิตรด้วยไฟอ่อน 10 นาที ดื่มวันละ 1 – 2 ครั้ง ครั้งละ 1 แก้ว ช่วยบรรเทาอาการ ท้องอืดท้องเฟ้อ บำรุงหัวใจ ลดความดันโลหิตได้

ดูแลระบบย่อย, จีน, อาหารจีน, แพทย์แผนจีน, สมุนไพรจีน
ชาวจีนใช้สมุนไพร ช่วยแก้ปัญหาระบบย่อย

ท้องเสีย

จิงหมี่ (Geng Mi) ชื่อวิทยาศาสตร์ Semen Oryzae Sativae หรือข้าวเมล็ดสั้น มีรสหวาน มีฤทธิ์อุ่น ช่วยปรับชี่ ทำให้ปอด ม้าม ลำไส้ผ่อนคลาย

วิธีปรุง หุงข้าวเมล็ดสั้นให้สุก 1 ถ้วย ต้มกับน้ำ 3 ถ้วย รวมกับกูยา (Gu Ya) หรือข้าวงอกแบบเมล็ดยาว (Rice Sprout) 1 – 2 ช้อนโต๊ะ ใส่ขิงสดสับละเอียด 1 – 2 ช้อนโต๊ะ ต้มด้วย ไฟอ่อน ใช้เวลา 20 นาที กินแทนข้าวสวย นอกจากย่อยง่าย ยังช่วยให้มีแรง ลดอาการอ่อนเพลีย

กระตุ้นความอยากอาหาร

บิบา (Bi Ba) ชื่อวิทยาศาสตร์ Fructus Piperis Longi หรือดีปลี มีรสเปรี้ยว มีฤทธิ์ร้อน ช่วยขับความเย็นออกจาก กระเพาะและลำไส้ ดึงให้ชี่เคลื่อนลงต่ำและลดความเจ็บปวดได้

วิธีปรุง ใช้ดีปลีตากแห้ง 10 – 15 ผล ต้มกับน้ำ 1 ลิตร ด้วยไฟอ่อน ใช้เวลา 10 นาที ดื่มวันละ 1 – 2 ครั้ง ครั้งละ 1 แก้ว

ดูแลระบบย่อย, จีน, อาหารจีน, แพทย์แผนจีน, สมุนไพรจีน

อาเจียน ปวดมวนท้อง

เชนไป (Chen Pi) ชื่อวิทยาศาสตร์ Citrus reticulata หรือเปลือกส้มแมนดาริน มีรสขมและเผ็ดเล็กน้อย มีฤทธิ์อุ่น และมีกลิ่นหอม ช่วยเพิ่มความร้อนภายในร่างกาย ลดการ ขับของเหลวจากอาการหยินพร่อง

วิธีปรุง บดเปลือกส้มตากแห้งเป็นผง 3 – 5 กรัม ชงในน้ำร้อน 1 แก้ว ดื่มวันละ 1 – 2 ครั้ง หรือใส่เปลือกส้มตากแห้ง 1 – 2 ชิ้น รวมกับเครื่องตุ๋นยาจีน 1 หม้อเล็ก ใส่เนื้อปลาหรือเนื้อสัตว์อื่น ๆ ตุ๋น 1 ชั่วโมง กินเป็นอาหาร 1 มื้อ ช่วยบำรุงกระเพาะอาหาร และม้าม ขับความชื้น แก้อาเจียนได้

 

จากคอลัมน์เรื่องพิเศษ นิตยสารชีวจิต ฉบับ 466


บทความน่าสนใจอื่นๆ

โรคระบบทางเดินอาหาร ที่คนรุ่นใหม่ รู้สาเหตุก่อน หายก่อน

อาหารไทย ประโยชน์สารพัด เป็นมิตรต่อระบบทางเดินอาหาร

10 สูตรยา พอก กิน ทา รักษากระเพาะอาหาร

ติดตาม ชีวจิต ในช่องทางต่างๆ ได้ที่

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.