ไบโพล่า, อาการไบโพล่า, อาการผีเข้าผีออก, อารมณ์ 2 ขั่ว, โรคอารมณ์แปรปรวน

เช็คด่วน! เป็นไบโพลาร์ หรือเเค่อาการผีเข้าผีออก

ไบโพล่า หรือเเค่อาการผีเข้าผีออก เช็คด่วนเลย !

ไบโพล่า โรคอารมณ์แปรปรวน หรือไบโพลาร์ได้(Bipolar Disorder) เชื่อว่าในออฟฟิศของทุกคนต้องมีคนประเภท “ผีเข้าผีออก” ซึ่งหมายถึงเดี๋ยวอารมณ์ดี เดี๋ยวอารมณ์ร้าย เปลี่ยนแปลงไปมาเสมอ จนสร้างความปวดหัวให้คนใกล้ตัวเพราะไม่รู้จะทำงานกับเขาหรือเธออย่างไร

หากความถี่ของอาการผีเข้าผีออกนี้ค่อนข้างสาหัสจนกระทบต่อการทำงาน เขาหรือเธออาจไม่ใช่แค่ถูกอารมณ์ผี (ความโกรธ หงุดหงิด) สิงเท่านั้น แต่อาจจะเจ็บป่วยจากโรคอารมณ์แปรปรวน หรือไบโพลาร์ได้(Bipolar Disorder)

เหตุสารเคมีในสมองไม่สมดุล

เราสามารถแยกโรคไบโพล่า และอาการผีเข้าผีออกจากกันได้อย่างไร อาจารย์อัมพร รัตนวิทย์ นักจิตวิทยาคลินิกอาวุโส สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา เล่าให้ฟังว่า ไบโพล่า มักจะเกิดกับคนที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะกับคนทำงาน แต่สำหรับในประเทศไทยจะมีอุบัติการณ์เกิดน้อยกว่าในต่างประเทศมาก สาเหตุเกิดจากสมองผลิตสารเคมี 2 ชนิดไม่สมดุลกัน คือ สารเซโรโทนิน(Serotonin) ซึ่งผลิตในปริมาณน้อยเกินไป และสารนอร์เอพิเนฟริน (Norepinephrine) ที่ผลิตในปริมาณมากเกินไป

“สารเคมีทั้งสองชนิดมีผลต่อวงจรกระแสประสาทในสมอง ถ้าสมองผลิตสารเคมีได้สมดุล การควบคุมอารมณ์และพฤติกรรมจะเป็นไปอย่างปกติ ในทางตรงข้ามถ้าสมองผลิตเซโรโทนินน้อยเกินไป อารมณ์หรือพฤติกรรมก็จะเป็นไปทางซึมเศร้า ส่วนการผลิตสารนอร์เอพิเนฟรินปริมาณมากเกินไป เราก็จะแสดงอารมณ์สนุกสนานและตื่นเต้นผิดปกติเช่นกัน”

ส่วนอาการผีเข้าผีออกนั้น อาจารย์อัมพรอธิบายว่า เป็นเพียงแค่การไม่สามารถจัดการหรือควบคุมอารมณ์ ซึ่งอาจเกิดจากความเครียด ความไม่ลงตัวของชีวิตในด้านอื่น ๆ ให้อยู่ในภาวะปกติได้ จึงแสดงอารมณ์หรือพฤติกรรมอย่างไม่เหมาะสมออกมา จึงเป็นเรื่องวุฒิภาวะทางอารมณ์ที่ไม่เกี่ยวข้องกับ ไบโพล่า ซึ่งเป็นโรคที่เกี่ยวกับความผิดปกติทางสมอง

นอกจากนี้คนจำพวกผีเข้าผีออกแม้จะทำให้คนทำงานร่วมด้วยรู้สึกหงุดหงิด แต่เขาก็ยังสามารถทำงานได้อย่างราบรื่นเป็นปกติ ต่างจากคนป่วย ไบโพล่า ที่ไม่สามารถทำงานออกมาเป็นผลงานได้

อ่านต่อ>>เช็กอาการไบโพล่า

อ่านเพิ่มเติม วิธีแก้อาการไบโพล่า

10 แหล่งโอเมก้า-3 บำรุงสมอง หัวใจ ป้องกันซึมเศร้า

วิธีการฝึกสมอง หยุดความฟุ้งซ่าน

อาหาร เสริมสมอง จากห้องวิจัย

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.