ไบโพล่า, อาการไบโพล่า, อาการผีเข้าผีออก, อารมณ์ 2 ขั่ว, โรคอารมณ์แปรปรวน

เช็คด่วน! เป็นไบโพลาร์ หรือเเค่อาการผีเข้าผีออก

เช็กอาการแบบไหนใช่ไบโพล่า

อาจารย์อัมพรเน้นลักษณะสำคัญของโรคไบโพล่า ว่า คนไข้จะมีอาการสำคัญ 2 ขั้ว คือ มีอารมณ์รื่นเริงสนุกสนาน ตื่นเต้นผิดปกติ เป็นอาการหลัก และมีอาการซึมเศร้า อารมณ์แปรปรวน โกรธ หงุดหงิด เป็นอาการรอง สลับกันเป็นครั้งคราว ซึ่งสามารถแบ่งอาการออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ

ด้านอารมณ์
• มีอารมณ์ดี ขี้เล่น สนุกสนานผิดปกติ
• อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย หงุดหงิด โกรธง่าย พูดจาคึกคะนองไม่สำรวม แสดงอารมณ์อย่างขาดความยับยั้งชั่งใจ
• พูดจาก้าวร้าวหยาบคายแบบที่ไม่เคยทำมาก่อน

ด้านพฤติกรรม
• เคลื่อนไหวหรือทำกิจกรรมมากผิดปกติ ผู้ป่วยจะมีกำลังวังชามากกว่าปกติ ขยันทำงาน แต่ทำโดยไม่มีสติ จึงไม่ได้ผลงาน
• นอนน้อยลง หลับยาก ผู้ป่วยจะลุกมาทำงานตลอดคืนโดยไม่เพลีย
• ชอบออกไปนอกบ้านเพื่อพบเพื่อนหรือพี่น้องอย่างไม่มีเหตุผล
• พูดมาก พูดเร็ว พูดโดยไม่มีความหมาย
• มีการตัดสินใจไม่เหมาะสม เช่น ใช้เงินเปลือง แจกเงินคนอื่น ๆอย่างไร้เหตุผล
• ไม่สนใจเรื่องอาหารการกินและน้ำหนักลด

ด้านความคิด
• มีความคิดสร้างสรรค์มากมายและมีความเชื่อมั่นในตัวเองมากเกินความเป็นจริง
• ไม่ยอมรับฟังผู้อื่น มีความคิดสับสนหลายเรื่องในเวลาเดียวกัน
• รู้สึกว่าตัวเองมีพลังหรืออำนาจพิเศษ มีความร่ำรวย มีความเก่งและความสวยมากกว่าคนอื่น และอาจมีอาการหลงผิด หูแว่ว ประสาทหลอนร่วมด้วย

ไบโพล่า, อาการไบโพล่า, อาการผีเข้าผีออก, อารมณ์ 2 ขั่ว, โรคอารมณ์แปรปรวน
ผู้ป่วยไบโพล่า จะมีอารมณ์รื่นเริงสนุกสนานผิดปกติ สลับกับอาการซึมเศร้า โกรธ หงุดหงิด

ใครเสี่ยงตกเป็นเหยื่อไบโพล่าบ้าง

เมื่อถามถึงปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรค อาจารย์อัมพรเล่าว่า ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด แต่พบว่าผู้ที่มีญาติพี่น้องป่วยเป็นโรคไบโพลาร์หรือจิตเภทจะมีโอกาสป่วยเป็นโรคนี้สูงกว่าคนทั่วไปนอกจากนี้ผู้ที่มีความเครียดเรื้อรัง ซึ่งอาจนำมาสู่โรคซึมเศร้าได้ก็ควรระวัง รวมไปถึงผู้ที่ไม่ดูแลสุขภาพร่างกายก็เช่นกัน

“เพราะไบโพล่าเป็นโรคที่ยังไม่ทราบสาเหตุชัดเจน แต่ก็เชื่อว่า นอกจากพันธุกรรมแล้ว โรคอาจเกิดจากการที่เราไม่รักษาสมดุลของสภาพร่างกาย สังคม อารมณ์ และจิตวิญญาณของตัวเองให้เป็นปกติ”

ส่วนวิธีป้องกันง่าย ๆ อาจารย์อัมพรแนะนำให้ไปออกกำลังกายเพื่อสลายความเครียด มีสติรู้ตัวว่าเราอยู่ในภาวะอารมณ์ไหน ถ้าโกรธ หงุดหงิด ให้หาทางผ่อนคลาย อย่าสะสมอารมณ์ลบนี้ไว้กับตัวนาน ๆ ไปพบเพื่อนพูดคุยกันอย่างสนุกสนาน ก็จะได้สังคมแห่งการช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งทำให้เราอยู่บนโลกใบนี้โดยไม่รู้สึกโดดเดี่ยวและมีความอบอุ่นใจ

สรุปสุดท้าย การป้องกันทุกสารพัดโรคภัย ไม่ว่าจะ่ไบโพล่า ซึมเศร้า หรือเครียด ต้องเริ่มต้นที่ตัวเรา เพียงรู้จักกิน นอน พักผ่อน ออกกำลังกาย และทำงานให้สมดุลเท่านั้นเองค่ะ

อ่านเพิ่มเติม วิธีแก้อาการไบโพล่า

10 แหล่งโอเมก้า-3 บำรุงสมอง หัวใจ ป้องกันซึมเศร้า

วิธีการฝึกสมอง หยุดความฟุ้งซ่าน

อาหาร เสริมสมอง จากห้องวิจัย

อ้างอิง

นิตยสาร ชีวจิต ปี 2556 ฉบับที่ 351 หน้า 64-65, คอลัมน์ : healthy lifestyle

ติดตาม ชีวจิต ในช่องทางต่างๆ ได้ที่

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.