น้ำมัน, การเลือกใช้น้ำมัน, น้ำมันรำข้าว, น้ำมันงา, น้ำมันแฟลกซ์ซี้ด, น้ำมันมะพร้าว

น้ำมัน บนเชลฟ์เลือกอย่างไรได้ประโยชน์

น้ำมัน บนเชลฟ์เลือกอย่างไรได้ประโยชน์

สารพัด น้ำมัน บนชั้นในซูเปอร์มาร์เก็ตล้วนกล่าวอ้างสรรพคุณที่โดดเด่นเหนือน้ำมันชนิดอื่น ฟังแล้วชวนปวดหัว ไม่รู้จะเลือกใช้น้ำมันชนิดไหนดี จะใช้น้ำมันเพียงชนิดเดียวปรุงทุกเมนูอาหาร ใช้น้ำมันหลากหลาย ใช้น้ำมันพืชใช้น้ำมันจากสัตว์ หรือใช้น้ำมันปริมาณมากแค่ไหน ร่างกายจึงจะได้รับประโยชน์

 

น้ำมันรำข้าว & น้ำมันงา

สมาคมโรคหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกา (American Heart Association) เผยผลการวิจัยจากประเทศอินเดียผ่านวารสาร Clinical Lipidology ที่พบว่า น้ำมันรำข้าวและน้ำมันงามีผลช่วยลดความดันโลหิต ช่วยให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงมีระดับไขมันในเลือดดีขึ้นและอาจช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจ

นักวิจัยทำการทดลองโดยแบ่งผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง 300 คน อายุเฉลี่ย 57 ปี ออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มแรก ใช้ยาลดความดัน (Calcium Channel Blocker) วันละ 30 มิลลิกรัม กลุ่มที่ 2 ใช้น้ำมันรำข้าวผสมน้ำมันงาปรุงอาหารวันละ 1 ออนซ์ หรือประมาณ 28 กรัม (มีส่วนประกอบของน้ำมันรำข้าวชนิดออริซานอลสูง 80 เปอร์เซ็นต์ และน้ำมันงา 20 เปอร์เซ็นต์) ส่วนกลุ่มสุดท้าย กินทั้งยาลดความดันและใช้น้ำมันรำข้าวผสมน้ำมันงาปรุงอาหาร

ผ่านไป 60 วัน พบว่า กลุ่มที่ใช้ทั้งยาลดความดันและใช้น้ำมันรำข้าวผสมน้ำมันงาปรุงอาหารมีค่าความดันโลหิตลดลงมากที่สุด รองลงมาคือ กลุ่มที่ใช้ยาและกลุ่มที่ใช้น้ำมันเพียงอย่างเดียว

สำหรับระดับไขมันในเลือด พบว่า กลุ่มที่ใช้ทั้งยาลดความดันและใช้น้ำมันรำข้าวผสมน้ำมันงาปรุงอาหารมีระดับคอเลสเตอรอลร้ายชนิดแอลดีแอล (LDL – Cholesterol) ลดลงมากที่สุด คือ 27 เปอร์เซ็นต์ และมีระดับคอเลสเตอรอลดีชนิดเอชดีแอล (HDL – Cholesterol) เพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มอื่น คือ 10.9 เปอร์เซ็นต์ กลุ่มที่ใช้น้ำมันเพียงอย่างเดียวมีระดับคอเลสเตอรอลร้ายชนิดแอลดีแอลลดลง 26 เปอร์เซ็นต์ มีระดับคอเลสเตอรอลดีชนิดเอชดีแอลเพิ่มขึ้น 9.5 เปอร์เซ็นต์ ส่วนกลุ่มที่ใช้ยาเพียงอย่างเดียวพบว่า ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดไม่เปลี่ยนแปลง

ดร.ดีวาราแจน แซนคาร์ (Devarajan Sankar) นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยฟุกุโอะกะ ประเทศญี่ปุ่น มีความเห็นว่า คอเลสเตอรอลดีที่เพิ่มขึ้น คอเลสเตอรอลร้ายและความดันโลหิตที่ลดลง น่าจะมีผลมากรดไขมันดีและสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น เซซามนิ (Sesamin) เซซามอล (Sesamol) และเซซาโมลิน(Sesamolin) ในน้ำมันงา และออริซานอล (Oryzanol) ในน้ำมันรำข้าว

ทั้งนี้แม้น้ำมันงาและน้ำมันรำข้าวจะให้ผลดีต่อผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง แต่ก็ควรใช้อย่างเหมาะสมควบคู่กับการปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์

How to Cook

น้ำมันงาไม่เหมาะสำหรับการทอด แต่เหมาะสำหรับผัดไฟกลางหรือทำน้ำสลัด ส่วนน้ำมันรำข้าวเป็นน้ำมันอเนกประสงค์ มีจุดเกิดควันสูง จึงสามารถใช้ได้ทั้งทอด ผัด และทำน้ำสลัด

น้ำมัน, น้ำมันรำข้าว, การเลือกน้ำมันรำข้าว, การเลือกน้ำมัน
น้ำมันรำข้าว สามารถใช้ได้ทั้งทอด ผัด มีสรรพคุณช่วยลดความดันโลหิต

น้ำมันอะโวคาโด

น้ำมันที่สกัดจากผลอะโวคาโดอุดมด้วยกรดไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียว (Monounsaturated Fatty Acid) สูงถึง 70 เปอร์เซ็นต์ด้วยคุณสมบัติดังกล่าวจึงมีหลายงานวิจัยยืนยันถึงประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น รายงานจากวารสาร Diabetes Care พบว่า การกินอาหารที่อุดมไปด้วยกรดไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียว (MUFA-Rich Diet) อย่างเหมาะสม สามารถลดน้ำหนัก ลดไขมันหน้าท้อง และเพิ่มประสิทธิภาพของอินซูลินในการลำเลียงน้ำตาลเข้าสู่เซลล์ได้

การทดลองหนึ่งจากวารสาร American Heart Association ทำการแบ่งคนอ้วนออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มแรก ให้กินอาหารไขมันต่ำมีสัดส่วนไขมัน 24 เปอร์เซ็นต์ของพลังงานทั้งหมด (มีกรดไขมันไม่อิ่มตัว

ตำแหน่งเดียว 11 เปอร์เซ็นต์) กลุ่มที่ 2 ให้กินอาหารที่มีสัดส่วนของไขมันที่เหมาะสม คือ 34 เปอร์เซ็นต์ของพลังงานทั้งหมด (มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียว 17 เปอร์เซ็นต์) กลุ่มสุดท้าย จัดอาหารเช่นเดียวกับกลุ่มที่ 2 พร้อมกับเพิ่มไขมันจากอะโวคาโด 1 ผลรวมในมื้ออาหารทุกวันด้วย

ผ่านไป 5 สัปดาห์ พบว่า กลุ่มที่ได้รับไขมันจากอะโวคาโดสามารถลดระดับไขมันในเลือดได้มากที่สุด โดยช่วยลดคอเลสเตอรอลร้ายในเลือดชนิดแอลดีแอลได้ถึง 13.5 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ซึ่งเพียงพอต่อ

การลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ ในขณะที่กลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2 ช่วยลดคอเลสเตอรอลร้ายได้น้อยกว่า คือ 8.3 และ 7.4 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร

How to Cook

เมื่อนำผลอะโวคาโดมาสกัดน้ำมัน พบว่า มีจุดเกิดควันสูงกว่าน้ำมันปาล์มและน้ำมันรำข้าว จึงสามารถใช้ผัดไฟแรง ทอด อบ หรือทำน้ำสลัดได้

 

 

<< อ่านต่อหน้าที่ 2 >>

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.