เทคโนโลยีสุขภาพ, สมาร์ทโฟน

เทคโนโลยีสุขภาพ ล้ํายุคป้องกันป่วย

เทคโนโลยีสุขภาพ ล้ํายุคป้องกันป่วย มีอะไรที่น่าจับจอง มาดูกัน

เทคโนโลยีสุขภาพ กลายเป็นหนึ่งที่หลายคนเลือกนำมาใช้ในชีวิตปัจจุบันแทนการรอจนเจ็บป่วยแล้วเข้าหาหมอ วันนี้ เรามีเทคโนโลยีด้านสุขภาพดีๆ มาแนะนำกันค่ะ

นิยสาร Time ระบุว่า ปี พ.ศ. 2561 ตลาด อุปกรณ์เทคโนโลยีซึ่งสวมได้หรือแกดเจ็ต(Gadget) ที่จําหน่ายทั่วโลกจะเติบโตจนมีมูลค่าสูงถึง 2 พันล้านเหรียญสหรัฐ เนื่องจากผู้คนใส่ใจสุขภาพมากขึ้น อีกทั้งราคาของอุปกรณ์ดังกล่าวเริ่มถูกลง มีศักยภาพในการวัดและประมวลผลข้อมูลพื้นฐานต่างๆ ของร่างกายได้แม่นยําขึ้น เราจึงไม่ยอมพลาด คัดเลือกแกดเจ็ตเพื่อสุขภาพ 4 กลุ่มที่น่าสนใจมานําเสนอดังนี้

1. แกดเจ็ตสําหรับสวมหู

ตัวอย่างที่น่าสนใจคือ บิตไบท์(Bitbite) ซึ่งเป็นแกดเจ็ตรูปทรงสี่เหลี่ยมปลายมนใช้สวมไว้ในช่องหู เพื่อวิเคราะห์คลื่นเสียงขณะที่คุณกําลังเคี้ยวอาหาร หากเคี้ยวเร็วไปจะมีเสียงเตือนให้เคี้ยวช้าลง เตือนให้ดื่มน้ําเมื่อดื่มน้ําน้อย หรือเตือนให้หยุดกินเมื่อกินมากเกินไป และเสนอทางแก้ไข เช่น เตือนให้ออกกําลังกาย ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่กําลังควบคุมน้ําหนัก

ราคา: เครื่องละ 5,600-7,900 บาท

Save More: ลดความเสี่ยงเป็นโรคอ้วน ซึ่งทําให้สูญเสียงบประมาณของประเทศราวปีละ 8 ล้านบาท

2. เคสสมาร์ทโฟนวัดคลื่นหัวใจ

อะไลฟ์คอร์ (AliveCor) คืออุปกรณ์วัดคลื่นหัวใจโดยใช้ปลายนิ้ว แตะที่ปลายเคสแต่ละข้างค้างไว้ 30 วินาที เซ็นเซอร์ที่ติดอยู่ที่เคสจะวัดคลื่นหัวใจออกมาได้ 1 ช่วง ทําให้ทราบว่ามีภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (Atrial Fibrillation) หรือไม่ ซึ่งสามารถบ่งชี้โรคต่างๆ เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ โรคปอด ภาวะผิดปกติของสมอง เช่น เลือดออกในสมอง สมองขาดเลือด เป็นต้น

ราคา: 3,500-6,000 บาท

Save More: ลดโอกาสป่วยด้วยโรคหัวใจ ซึ่งหากต้องเข้ารับการผ่าตัด จะมีค่าใช้จ่ายครั้งละ 5 แสนถึง 1.2 ล้านบาท นอกจากนี้ หากไม่ป่วยเป็นโรคหัวใจจะช่วยลดงบประมาณค่ารักษาโรคหัวใจได้ถึงราวปีละ 1 พันล้านบาท

เทคโนโลยีสุขภาพ แกดเจ็ตวัดสารประกอบในเหงื่อ

3. แกดเจ็ตวัดสารประกอบในเหงื่อ

อิเล็กโทรไซม์(Electrozyme) เป็นแกดเจ็ตที่ใช้สวมข้อมือที่พิเศษคือ มีเซ็นเซอร์สําหรับตรวจวัดสารเคมีจากเหงื่อติดอยู่ด้านใน ซึ่งสามารถวิเคราะห์ระดับความสมดุลของเกลือแร่ ปริมาณน้ําในร่างกาย อัตราการใช้ออกซิเจนของกล้ามเนื้อ จึงช่วยป้องกันอุบัติเหตุจากการเป็นลม ภาวะขาดน้ํา ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทําให้เกิดอุบัติเหตุขณะออกกําลังกายได้

ราคา: ขณะนี้กําลังอยู่ในขั้นตอนการพัฒนา

Save More: ลดโอกาสเกิดอุบัติเหตุรุนแรงขณะออกกําลังกาย เช่น ศีรษะฟาดพื้น ซึ่งต้องเสียค่ารักษาพยาบาลสูงถึงครั้งละ 6 แสนถึง 1 ล้านบาท

4. บลูสตาร์

แอพพลิเคชั่นเพื่อผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 แอพพลิเคชั่นนี้ใช้ได้ทั้งระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์และไอโอเอส ออกแบบโดยบริษัทเวลด็อค โดยผู้ป่วยต้องกรอกข้อมูลประจําวัน เช่น ระดับกลูโคสในเลือด อาหารที่กินในแต่ละมื้อ จํานวนชั่วโมงที่ใช้ในการออกกําลังกาย และการพักผ่อน เพื่อช่วยให้แพทย์ประเมินและติดตามอาการของผู้ป่วยได้สะดวกขึ้น

ราคา: 450 บาท

Save More: ลดโอกาสป่วยด้วยโรคเบาหวาน ซึ่งทําให้สูญเสียงบประมาณของประเทศราวปีละ 3.3 พันล้านบาท

วิธีเลือกแกดเจ็ตให้ปลอดภัย

ดร.นายแพทย์ศักดา อาจองค์ วัลลิภากร อาจารย์และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ กลุ่มสาขาวิชาระบาดวิทยาคลินิกและชีวสถิติ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมทางการแพทย์ แนะนําหลักในการเลือกซื้อดังนี้

•ผ่านการรับรองความปลอดภัยจากหน่วยงานที่เชื่อถือได้ เช่น องค์การอาหารและยา (Food and Drug Administration)

•มีงานวิจัยรองรับ ซึ่งสามารถเข้าไปสืบค้นข้อมูลได้จากเว็บไซต์ของบริษัทนั้นๆ

•เป็นผลงานของหน่วยงานรัฐ สถาบัน หรือโรงเรียนแพทย์ เพราะมีการศึกษาวิจัยรองรับแล้ว ที่สําคัญ ส่วนใหญ่ยังเป็นการเผยแพร่ให้ใช้ฟรีอีกด้วย

•เป็นแอพพลิเคชั่นบน iTunes แม้จะมีราคาสูงกว่าแอพพลิเคชั่นใน Google Play แต่แอพพลิเคชั่นบน iTunes มีการตรวจสอบที่เข้มงวดมากกว่า


บทความอื่นที่น่าสนใจ

คู่มือ ใช้อุปกรณ์ฟิตเนสอย่างมือโปร

ลดเซลลูไลต์ ไม่ง้ออุปกรณ์

ท่าออกกำลังกาย+เมนู ลดไขมันหน้าท้อง

สามารถติดตาม ชีวจิต ในช่องทางอื่นๆ ได้ที่

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.