ทาครีมกันเเดด, ครีมกันเเดด

ทาครีมกันแดด เสี่ยงโรคมะเร็ง

ทาครีมกันแดด ลดความเสี่ยงเกิดโรคมะเร็ง

ทาครีมกันแดด  ก่อนออกจากบ้านทุกครั้งสามารถช่วยช่วยป้องกันแดดเผา และลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งได้

แต่เราจะเลือกครีมกันเเดดที่ขายในท้องตลาดยี่ห้ออะไรดี ส่วนผสมอะไรดี ถึงจะมีประสิทธิภาพในการป้องกันเเดด และปลอดภัยในการใช้และ ทาครีมกันเเดด

ข้อมูลล่าสุด จากศูนย์วิจัยสุขภาพแห่งชาติ (NCHR) ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้เปิดเผยข้อมูลกฎระเบียบใหม่ของ FDA  ประเทศสหรัฐอเมริกา เกี่ยวกับครีมกันเเดดที่ขายในตามท้องตลาด โดยเฉพาะส่วนส่วนผสมและข้อมูลของผลิตภัณฑ์ที่ติดบนฉลากครีมกันเเดด  ที่มีผลต่อการป้องกันรังสียูวีเอ (UVA) เเละคลื่นความถี่ในระดับต่างๆ

องค์การอาหารและยา (FDA) พบว่า ส่วนผสมทั่วไปของครีมกันแแดด มีส่วนผสมที่สำคัญ เช่น  ซิงค์ออกไซด์ (Zinc oxide ) และไทเทเนียมไดออกไซด์ (Titanium dioxide)  ซึ่งเป็นที่เข้าใจกันว่ามีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ (เรียกว่า GRASE )ในการป้องกันเเดด และรังสียูวี

อ่านเพิ่มเติม : ตากแดดเพิ่มระดับวิตามินดีในร่างกาย

ทาครีมกันแดด, ครีมกันเเดด
Sunscreen Sunglasses Towel Book Recess Relax Concept

สารเคมีที่อันตรายในครีมกันแดด

แต่ในทางกลับกันส่วนผสมอีกสองอย่าง คือ   PABA และ trolamine salicylate ที่มีอยู่ในครีมกันเเดด พบว่าไม่มีความปลอดภัย  ดังนั้น ห้ามมีส่วนผสมนี้ในครีมกันเเดดเป็นอันขาด

สาวๆเลือกกันดีๆนะจ๊ะ โดยเฉพาะอย่าลืมอ่านฉลากด้วยนะ

นอกจากนี้ยังมีสาร oxybenzone ส่วนผสมของครีมกันแดด  พบว่าไม่มีความปลอดภัย  กล่าวคือสารชนิดนี้ทำให้การผลิตฮอร์โมนหยุดชะงัก และอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ( endometriosis )ในผู้หญิง และมีผลต่อคุณภาพของอสุจิในสัตว์ทดลองด้วย

อ่านเพิ่มเติม : เลือกครีมกันแดด อย่างไร ไม่ให้ใช้แล้วแพ้

ด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้ NCHR แนะนำว่าในปี 2559 ห้ามใช้ส่วนผสมนี้ในผลิตภัณฑ์ครีมกันแดด

เพราะมีความเป็นไปได้ที่ความเป็นพิษของสาร oxybenzone  สามารถดูดซึมผ่านผิวหนังได้  เพื่อลดปัจจัยการเสี่ยง และความปลอดภัยของผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารนี้เป็นสารออกฤทธิ์ที่ไม่ปลอดภัย

ครีมกันแดด ได้รับการพิสูจน์แล้วว่า สามารถใช้ทาเพื่อป้องกันการถูกแดดเผาไหม้ ลดความเสี่ยงเพิ่มในการเกิดโรคมะเร็งผิวหนังได้

แล้วอย่าลืม ทาครีมกันเเดดนะครับ 

อ่านเพิ่มเติม : รู้ลึก รู้จริงเรื่อง ครีมกันแดด

ที่มา :National Center for Health Research

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.