บำรุงข้อ ข้อเข่า ปวดข้อ ปวดเข่า ปวดข้อเข่า

อาหาร บำรุงข้อ

กินอาหารบู๊สต์ข้อ

ก่อนจะพูดถึงสารอาหารที่แนะนำ เรามาพูดถึงการควบคุมน้ำหนักเพื่อข้อกันก่อน โดยส่วนใหญ่แล้วสัดส่วนของการออกกำลังกายและกินอาหารเพื่อสุขภาพนั้นคิดเป็น 50 - 50 เนื่องจากการลดน้ำหนักคือ การคำนึงถึงการรับพลังงานเข้าและการใช้เผาผลาญพลังงานออก โดยอาหารจะเป็นตัวช่วยควบคุมการนำเข้าพลังงานของร่างกาย และการออกกำลังกายจะช่วยนำพลังงานออกไปจึงรักษาน้ำหนักได้ดี

ดังนั้นจึงควรทำควบคู่กันทั้งสองอย่าง ทั้งควบคุมอาหารและออกกำลังกาย เพราะยิ่งอายุมากขึ้น อัตราการเผาผลาญพลังงานในร่างกายจะลดลง การออกกำลังกายจะช่วยทดแทนความสามารถในการเผาผลาญพลังงานที่เราเสียไปกับอายุที่มากขึ้นได้ค่ะ

 

สำหรับอาหาร หรืออาหารเสริม ที่ช่วยบำรุงข้อต่อต่างๆ มีดังนี้

1. กลูโคซามีน (Glucosamine) คือ สารตั้งต้นในการสร้างสารประกอบในเนื้อเยื่อต่างๆ ของร่างกาย รวมถึงเนื้อเยื่อภายในข้อต่อ โดยแพทย์จะจัดให้ในปริมาณที่เหมาะสมเป็นรายบุคคล ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขและสุขภาพเฉพาะด้านของคนไข้

2. เอ็มเอสเอ็ม (Methyl-Sulfonyl-Methane) คือ กำมะถันธรรมชาติที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของโปรตีนเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน โดยเฉพาะคอลลาเจนและกระดูก

3. โอเมก้า - 3 ไขมันดีที่ช่วยในการหล่อลื่นข้อต่อต่างๆ สามารถพบได้ในปลาทะเล เช่น ปลาแซลมอน ปลาทูน่า ปลาแมกเคอเรล

 

ง่ายๆ เท่านี้ก็สามารถเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและข้อต่อต่างๆ ได้แล้วค่ะ

บำรุงข้อ ข้อเข่า ปวดข้อ ปวดเข่า ปวดข้อเข่า
บำรุงข้อ ข้อเข่า ปวดข้อ ปวดเข่า ปวดข้อเข่า

Eating Tips

ไขมันดี 

หากสามารถกินปลาที่มีโอเมก้า - 3 ได้สัปดาห์ละ 4 มื้อ โดยให้แต่ละมื้อมีปริมาณเท่ากับสเต๊กปลาทั่วๆ ไป จะช่วยให้ได้รับไขมันดีอย่างเพียงพอ นอกจากนี้ยังสามารถกินอาหารประเภทถั่วที่มีไขมันดี รวมไปถึงวิตามินอีที่มีผลดีต่อข้อต่อด้วย

ผักผลไม้ 

ควรกินผักผลไม้หลากสี เพราะในแต่ละสีจะมีคุณค่าทางสารอาหารแตกต่างกันไป ช่วยให้เราได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วน

 

Let’s do this

ท่าทางในชีวิตประจำวันเป็นสิ่งสำคัญมาก ควรศึกษาการย่อตัวการเอี้ยวตัว และการยกของที่ถูกต้อง เพื่อป้องกันการบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งจะขอยกตัวอย่างวิธีพื้นฐานในการเอี้ยวตัวและการก้มเก็บของดังนี้

1. ก่อนการเคลื่อนไหว ไม่ว่าจะเป็นท่าใดๆ พยายามใช้แกนกลางลำตัวทำหน้าที่หลักในการเคลื่อนไหว

2. เมื่อต้องเอี้ยวตัวหยิบของให้หันลำตัวไปในทิศทางที่มีสิ่งของนั้นๆ ก่อนจะเอื้อมแขนไปหยิบไม่ควรเอื้อมไปเฉพาะแขนจนรู้สึกตึงเพราะจะทำให้ข้อต่อต้องทำงานหนัก

3. หากต้องก้มยกของ ให้นึกถึงท่าสควอต คือ ย่อลง แล้วยกขึ้น ไม่ควรก้มลงยกในท่ายืน

 

จาก คอลัมน์กินเป็นลืมปวย นิตยสารชีวจิต ฉบับ 452


บทความน่าสนใจอื่นๆ

โปรแกรมฟิตข้อเข่า หยุดปวด บวม อักเสบ

คู่มือดูแลโรคข้อเข่าเสื่อมเพื่อคนทุกวัย

ติดตาม ชีวจิต ในช่องทางต่างๆ ได้ที่

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.