ผู้หญิงวัยทอง จะเลือกกินไฟโตเอสเจนอย่างไร
ฮอร์โมนเอสโตรเจนจะลดลงฮวบฮาบหลังหมดประจำเดือน ส่งผลอย่างมากต่อร่างกายคุณผู้หญิง ดังนั้น ผู้หญิงวัยทอง จึงต้องมีความเอาใจใส่ดูแลสุขภาพมากเป็นพิเศษเมื่อเริ่มเข้าสู่ช่วงวัยนี้
เมื่อวัยทองถามหา โรคกระดูกพรุนก็ตามมา
โรคกระดูกพรุนคือภาวะที่เนื้อกระดูกบางลง เนื่องจากอัตราการสร้างกระดูกน้อยกว่าการสลาย จึงเสี่ยงกระดูกหักหรือยุบตัวได้ง่าย โดยเฉพาะบริเวณกระดูกสันหลัง กระดูกสะโพก และกระดูกข้อมือ โดยมีสาเหตุหนึ่งมาจากฮอร์โมน โดยเฉพาะเมื่อย่างเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน รังไข่ผลิตฮอร์โมนลดลง ส่งผลให้อัตราการสลายกระดูกเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว แม้ไม่อาจต้านทานความเสื่อม หรือทำให้ร่างกายกลับมาผลิตฮอร์โมนเพื่อสร้างกระดูกได้ดังเดิม แต่เราสามารถชะลอการสลายกระดูกและป้องกันโรคกระดูกพรุนได้เพียงรู้จักเลือกกิน
ชีวจิต จะมาแนะนำอาหารที่ได้ชื่อว่าเป็นฮอร์โมนธรรมชาติ และวิธีง่ายๆในการเสริมความแข็งแรงของกระดูกกันค่ะ
เอสโทรเจนลด กระดูกหด
แพทย์หญิงสิรินทร ฉันศิริกาญจน หัวหน้าหน่วยเวชศาสตร์ ผู้สูงอายุ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ให้ข้อมูลว่า
กระบวนการสร้างและสลายกระดูกเกิดขึ้นตลอดเวลา โดยร่างกายจะสร้างและเก็บสะสมกระดูกได้สูงสุดในช่วงอายุ 30 – 35 ปี หลังจากนั้น
อัตราการสลายจะมากกว่าการสร้าง โดยอัตราการสลายของกระดูกในวัย 30 จะน้อยกว่าปีละ 0.5 เปอร์เซ็นต์ เมื่อถึงวัย 40 อัตราการ
สลายของกระดูกจะเพิ่มขึ้นเป็นปีละ 0.5 – 1 เปอร์เซ็นต์ และเมื่อก้าวเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนในวัย 50 อัตราการสลายของกระดูกจะเพิ่มขึ้นถึงปีละ 3 – 5 เปอร์เซ็นต์
แต่หลังจากนั้นเมื่อเข้าสู่วัย 60 อัตราการสลายของกระดูกจะเกิดขึ้นช้าลง คือ ปีละ 0.5 – 1 เปอร์เซ็นต์สาเหตุหนึ่งที่เร่งให้ผู้หญิงในวัยหมดประจำเดือนสูญเสียมวลกระดูกเพิ่มขึ้นคือ ฮอร์โมนเพศหญิงที่มีชื่อว่า “เอสโทรเจน” (Estrogen)ฮอร์โมนเอสโทรเจนมีบทบาทสำคัญในการสร้างกระดูก
แต่เมื่อถึงวัยหมดประจำเดือน ระดับฮอร์โมนเอสโทรเจนจะลดลงมาก ส่งผลให้การสร้างกระดูกลดลงและเกิดการสูญเสียมวลกระดูกเร็วขึ้น หากใครไม่ได้กินแคลเซียมสะสมอย่างเพียงพอในช่วงอายุก่อน 30 ปี จะมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคกระดูกพรุนเมื่ออายุมากขึ้น