รู้หรือไม่ โรคอ้วนลงพุงเป็นอันตรายต่อสุขภาพของ สว.อย่างมาก?
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดลได้เปิดเผยงานวิจัยที่พูดถึงอายุเฉลี่ยของคนไทยว่าเราอายุยืนกันกว่าเดิม โดยได้เพิ่มขึ้นจาก 60 ปี เป็น 73 ปี และมีแนวโน้มจะถึง 80 ปีในอีกไม่ถึงสิบปีข้างหน้า แต่ความสงสัยนั้นมีอยู่ว่า การมีอายุยืนจะยังใช่เรื่องน่าสนุกอยู่ไหม หากเรามีสุขภาพไม่แข็งแรงเต็มร้อย หรือโดนโรครุมเร้ามากกว่าหนึ่งโรค
วันนี้เราอยากพูดถึงถึงเรื่องของโรคสุดฮิตของผู้สูงอายุอย่าง “โรคอ้วน” เพราะสังเกตเห็นว่าผู้สูงอายุของไทยส่วนใหญ่จะมีรูปร่างอ้วนมากขึ้น ยิ่งตอนนี้จากสถานการณ์การระบาดของไวรัสร้ายอย่างโควิด-19 ยิ่งแล้วใหญ่ ทำให้คนสูงวัยไม่ได้ออกไปไหน ไม่มีสวนสาธารณให้ไปเดิน หรือบางท่านอาจขยับเขยื้อนร่างกายน้อย ส่งผลให้น้ำหนักพุ่งขึ้นกว่าคนวัยอื่น นำมาซึ่งโรคอ้วนนั่นเอง
มารู้จักโรคอ้วนลงพุงกัน
“โรคอ้วน” คือภาวะน้ำหนักเกินและ เป็นปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพที่สำคัญอันดับต้นๆ ของประชากรทั่วโลก ส่งผลกระทบทางสุขภาพมากมายทั้งผลกระทบเฉียบพลันและปัญหาเรื้อรัง ทั้งปัญหาสุขภาพกายและสุขภาพจิต ถือเป็นโรคต้นทางที่จะพาไปสู่โรคอื่นได้ง่าย ซึ่งไม่ได้เกิดเฉพาะในผู้สูงอายุเท่านั้น เพราะเป็นกันได้ตั้งแต่เด็กจนถึงผู้ใหญ่ด้วยระบบการเผาผลาญที่แย่ลงมาตั้งแต่อายุ 30 ปีทำให้คนมีอายุค่อนข้างเสียเปรียบเรื่องสุขภาพเสมอตรงที่กินเท่ากัน กลับเบิร์นออกได้ยากกว่ามาก และการขยับออกกำลังกายมักจะเป็นสิ่งท้ายๆ ที่หลายคนเลือกทำ
แม้ประเทศไทยจะไม่ประสบปัญหาโรคอ้วนมากนักแต่พออายุมากขึ้น การรักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ มาตรฐานก็เป็นเรื่องที่ควรทำเพราะถ้าเป็นโรคอ้วนแล้วโรคอื่นๆ ที่จะตามมา โดยโรคอ้วนนี้จะพบมากขึ้นในผู้สูงอายุ ทำให้เคลื่อนไหวร่างกายได้ช้า และมีโรคประจำตัวซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการเคลื่อนไหว เช่นความดันโลหิตสูง อัมพฤกษ์ อัมพาต หลอดเลือดดำอุดตันที่ขา และหลุดไปอุดตันหลอดเลือดใหญ่ที่ปอด เบาหวาน ระดับไขมันในเลือดผิดปกติ
ข้อมูลขององค์กรอนามัยโลก อัตราผู้ป่วยโรคอ้วน ซึ่งสัมพันธ์กับภาวะอ้วนลงพุงโดยตรง กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็วในภูมิภาคนี้ เมื่อเทียบกับในประเทศฝั่งตะวันตกอย่างสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร สาเหตุเกิดจากการขาดการออกกำลังกาย การรับประทานอาหารที่ขาดสมดุล ภาวะความเครียด และปัจจัยที่น่ากังวลอื่น ๆ ที่มาจากไลฟ์สไตล์ที่เคร่งเครียดและเร่งรีบในปัจจุบัน
ป้องกันและควบคุม“โรคอ้วน” ให้ตาจ๋ายายจ๋า
การควบคุมและป้องกัน โรคอ้วนของผู้สูงอายุ จำเป็นต้องควบคุมทั้งคาร์โบไฮเดรต, ไขมัน (บริโภคไขมัน 1 กรัม จะได้พลังงาน 9 แคลอรี) แนะนำว่า ใน 1 วันผู้สูงอายุไม่ควรกินน้ำมันเกิน 2 ช้อนโต๊ะ และน้ำตาลไม่เกิน 6 ช้อนชาต่อวัน ดังนั้นจึงต้องหลีกเลี่ยงของทอด แต่ให้เปลี่ยนเป็นการต้ม นึ่ง ปิ้ง นอกจากก็ไม่ควร “บริโภคเนื้อสัตว์บด” เช่น ไก่ หมู เนื้อบด เพราะมักจะปนเปื้อนน้ำมันจำนวนมาก เพื่อให้เนื้อสัตว์มีความนิ่มในการนำไปปรุงอาหาร หรือแม้แต่เนื้อสัตว์สำเร็จรูป เช่น ไส้กรอก, ติ่มซำ, ขนมจีบ ก็ควรหลีกเลี่ยงเช่นเดียวกัน เพราะในอาหารดังกล่าวจะมีปริมาณน้ำมันเกิน 30% แต่ให้เน้นรับประทานผักและข้าวไม่ขัดสี จะช่วยทำให้ผู้สูงวัยอิ่มเร็วขึ้น ที่ลืมไม่ได้คือไขมันแฝง ที่อยู่ในถั่วลิสงคั่ว, อะโวคาโด เช่น หากคุณตาคุณยายกินน้ำจิ้มที่ใส่ถั่วลิสงคั่ว นั่นจะทำให้ได้รับไขมันเพิ่ม หรือแม้การบริโภคอาหารที่มีกะทิ ถ้าเป็นไปได้ให้ตักผักเยอะๆ ขณะเดียวกันก็ต้องบริโภคอาหารหวานให้น้อยที่สุด หรือใช้สมุนไพรอย่างหญ้าหวานแทนน้ำตาล เป็นต้น
รวมถึงควรหาเวลาให้ออกไปเดินยืดเส้นยืดสายบ้างอย่างน้อย 20 นาที ไม่จำเป็นต้องเร่งความเร็ว ขอแค่ได้ออกไปเดินรับอากาศดีๆ ยืดเส้นยืดสายเป็นพอ หากแข็งแรงมากพอค่อยเพิ่มเวลาขึ้นตามสภาพร่างกายได้
ทางที่ดีคิดว่าทุกคนควรให้ความสนใจต่อสุขภาพ ระวังน้ำหนักตัวไม่ให้เกินมาตรฐาน ตั้งแต่ก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุ จะดีทุ่ดค่ะ ปัญหาของโรคต่างๆ ที่จะเกิด ย่อมน้อยลงได้ หรือเมื่อมีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐานแล้ว ต้องพยายามควบคุมอาหาร จัดอาหารที่ให้คุณค่าอาหารสูง แต่พลังงานต่ำ เพื่อช่วยลดน้ำหนักลง ก็เป็นการช่วยลด ปัญหาสุขภาพได้อีกทางหนึ่ง
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
เบาหวานเป็นได้ในคนทุกวัย โดยเฉพาะผู้สูงวัยยิ่งเป็นง่าย!
การควบคุมน้ำหนักของผู้สูงวัยให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานคือสิ่งสำคัญ!
ขั้นตอนการออกกำลังกายที่ถูกต้อง ช่วยยืดอายุผู้สูงวัยที่เรารักได้