สูงวัยต้องรู้ เบาหวานคือต้นเหตุอีกหลายโรค

สูงวัยต้องรู้ เบาหวานคือต้นเหตุอีกหลายโรค

สูงวัยต้องรู้ เบาหวานคือต้นเหตุอีกหลายโรค

โรคเบาหวาน พบได้ในคนทุกเพศทุกวัยและปัจจุบันอัตราการเป็นโรคเบาหวานของคนไทยเพิ่มขึ้น โดยพบมากในผู้สูงอายุสำหรับเด็กและผู้ใหญ่ที่รูปร่างอ้วนจะมีโอกาสเป็นเบาหวานได้สูงเช่นกัน ดังนั้นจึงมีคนจำนวนมากที่ไม่ทราบว่าเป็นโรคนี้

จริงหรือไม่? ที่คนส่วนใหญ่มักคิดว่าเบาหวานเป็นโรคที่เกิดจากการกินหวานเท่านั้น แต่ที่จริงแล้วยังมีอีกหลายสาเหตุ เราลองไปดูกันว่าสาเหตุนั้นมีอะไรบ้าง

พันธุกรรม เราพบว่าโรคเบาหวานเป็นโรคทางพันธุกรรม คือโรคที่สามารถถ่ายทอดจากรุ่นหนึ่งไปสู่รุ่นได้ กลุ่มคนเหล่านี้จึงมีอัตราเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวานได้มากกว่าคนปกติถึง 50 % เลยนะคะ โรคทางพันธุกรรม ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ทำได้เพียงบรรเทาอาการไม่ให้เกิดขึ้นมากเท่านั้นเอง ดังนั้นการป้องกันโรคทางพันธุกรรมที่ดีที่สุด คือการตรวจร่างกายคัดกรองสภาพทางพันธุกรรมเพื่อทราบระดับเสี่ยง

ความอ้วน จากการศึกษาพบว่าเซลล์ไขมันในคนอ้วนมีการหลั่งฮอร์โมน อะดิโปเนคติน (Adiponectin) ซึ่งมีผลต่อการดื้อของอินซูลิน ผู้ที่เป็นเบาหวานจะมีระดับของอะดิโปเนคตินในเลือดต่ำกว่าคนปกติที่มีน้ำหนักตัวเท่ากัน นอกจากนี้ในเซลล์ไขมันยังมีการหลั่งฮอร์โมนตัวอื่นที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคเบาหวานอีกหลายชนิด คนอ้วนจึงมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานได้มากกว่าคนปกติถึง 3 เท่าเลยคะ

การรับประทานอาหาร มีกการศึกษาพบว่าทารกที่ทานนมแม่เพียง 2-4 เดือน และได้รับนมวัวเป็นอาหารเสริมในช่วงนั้น มีโอกาสเป็นโรคเบาหวานได้ การขาดวิตามินดีในวัยเด็ก การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงหรือหวานจัด เป็นต้น

สิ่งแวดล้อมอื่นๆ เช่น ได้รับเชื้อไวรัสที่ทำให้เร่างกายเกิดการทำลายเบตาเซลล์ ความเครียด

ผู้สูงวัยอ้วน

อาการแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานานหลายปี จะทำให้เกิดความเสื่อมโทรมในทุกระบบของร่างกาย เซลล์ เนื้อเยื่อทุกชนิดในร่างกายจะมีอายุสั้นลง ผนังเซลล์ไม่แข็งแรง ร่างกายเสื่อมก่อนวัยโดยเฉพาะอย่างยิ่งผนังหลอดเลือด เบาหวานจึงกลายเป็นโรคต้นเหตุของโรคแทรกซ้อนร้ายแรงอีกหลายโรค

หลอดเลือดอุดตัน คือ ผนังภายในของหลอดเลือดทั่วทั้งร่างกาย แข็งกระด่าง ไม่อ่อนนุ่ม ไม่ยืดหยุ่น เสื่อมสภาพ ทำให้คลอเรสเตอรอลชนิดเลวที่อยู่ในกระแสเลือดทำปฏิกิริยารวมตัวกับออกซิเจนกลายเป็นแผ่นไขมันเกาะที่ผนังภายในหลอดเลือดได้ง่าย เมื่อสะสมนานเข้าจะทำให้หลอดเลือดมีขนาดตีบลง ทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก จนนำไปสู่อาการความดันสูง และโรคหัวใจต่อไป

โรคหลอดเลือดหัวใจ เพราะหลอดเลือดทั่วร่างกายตีบลง ทำให้ส่งเลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่เต็มที่ โดยเฉพาะส่วนปลายของหลอดเลือดฝอย ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจบางส่วนขาดเลือด

หลอดเลือดสมอง มีสาเหตุเช่นเดียวกับอาการหลอดเลือดหัวใจอุดตัน ผู้ป่วยเบาหว ๆานมีหลอดเลือดที่แข็ง ไม่ยืดหยุ่นอุดตันได้ง่าย หากมีก้อนไขมันหลุดจากผนังหลอดเลือด ถูกพัดมาตามกระแสเลือดแล้วมาอุดตันที่หลอดเลือดที่ส่งไปหล่อเลี้ยงสมอง จะทำให้เกิดอาการอัมพฤกษ์อัมพาตขึ้นได้

อาหารควรเลี่ยง

ไตเสื่อม ไตเป็นอวัยวะที่ทำหน้ากรอกของเสียที่อยู่ในกระแสเลือดออกจากร่างกายแล้วขับทิ้งทางปัสสาวะ ภายในไตประกอบด้วยการเรียงตัวของเส้นเลือดขนาดเล็กจำนวนมหาศาล เมื่อผู้ป่วยเบาหวานที่ป่วยมานาน เส้นเลือดเริ่มเสื่อมสภาพ การทำหน้าที่กรอกเลือดจึงทำได้ไม่สมบูรณ์ ทำให้มีโปรตีนรั่วปะปนออกมากับปัสสาวะ เรียกว่า โปรตีนไข่ขาว Albutin หากปล่อยไว้นานจะนำไปสู่ภาวะไตวายได้

ตาเสื่อม จากเบาหวานหรือเบาหวานขึ้นจอตา เบาหวานสามารถทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนกับระบบประสาทตา เช่น ต้อหิน ต้อกระจก ปลายประสาทตาเสื่อม

ปลายประสาทรับความรู้สึกเสื่อม เกิดจากเส้นเลือดฝอยที่หล่อเลี้ยงเส้นประสาทตามปลายมือ นิ้วเท้า แขน ขา เสียหายจากเบาหวานจนไม่สามารถนำเลือดไปเลี้ยงเส้นประสาทได้อีกต่อไป ทำให้เส้นประสาทเสื่อม ความรับรู้ความรู้สึกต่าง ๆ ลดลง

แผลเรื้อรังจากเบาหวาน เมื่อเกิดบาดแผลขึ้นบนผิวหนัง ปริมาณน้ำตาลสูงจะไปขัดขวามการซ่อมแซมเซลล์เนื้อเยื่อของเกล็ดเลือด จนแผลไม่สามารถแห้งตกสะเก็ดได้ แผลจะติดเชื้อง่ายเพราะระบบภูมิคุ้มกันทำงานไม่เต็มที่ทำให้แผลเกิดอักเสบลุกลามกินเนื้อเยื่อจนเกิดเป็นแผลเน่า

การดูแลป้องกันโรคเบาหวาน

เริ่มต้นจากการดูแลสุขภาพตนเองให้ดีโดยเฉพาะเรื่องการรับประทานอาหาร หมั่นออกกำลังกายอยู่เสมอ ควบคุมปริมาณอาหารประเภทแป้ง น้ำตาลและไขมัน ตรวจสุขภาพเป็นประจำ ควรตรวจปีละ 2 ครั้ง เพื่อตรวจระดับน้ำตาลในเลือด ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และสูบบุหรี่หรือสารเสพติด และถ้าหากสงสัยว่าเป็นโรคเบาหวานควรรีบพบแพทย์ทันที

ผู้สูงวัยออกกำลังกาย

ทั้งนี้ การรักษาโรคเบาหวานจะต้องอาศัยการควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย และการใช้ยาซึ่งทั้งนี้ต้องการกำลังใจของผู้สูงอายุ และความร่วมมือจากญาติ พี่น้องหรือผู้ดูแล การใช้ยารักษาจะเริ่มเมื่อผู้ป่วยสูงอายุไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้บรรลุเป้าหมาย ด้วยการควบคุมอาหารและออกกำลังกายและการออกกำลังกาย

การใช้ยาจึงมีความสำคัญมากต่อชีวิตผู้ป่วยเบาหวานในปัจจุบันซึ่งมีวิถีชีวิตที่แตกต่างจากในอดีต โดยทั่วไปแพทย์จะให้ยาที่เหมาะสม คือออกฤทธิ์ไม่แรงและหมดฤทธิ์เร็ว เริ่มจากขนาดยาต่ำๆ ก่อน มีวิธีการใช้ยาที่ง่ายและเกิดผลข้างเคียงน้อยที่สุด อย่างไรก็ตามผู้ป่วยที่ใช้ยาจะต้องควบคุมอาหาร และออกกำลังกายร่วมด้วยเสมอ ผู้ที่จะต้องใช้ยาตลอดชีวิตเพื่อควบคุมระดับน้ำตาล และอาการของโรคเบาหวานตามเป้าหมายที่กำหนด ปัญหาจึงอยู่ที่ว่าจะทำอย่างไรผู้ป่วยสูงอายุจึงจะอยู่กับโรคเบาหวานและการใช้ยาอย่างมีความสุข

อ่านประสบการณ์สุขภาพ : รักษาโรคเบาหวาน ด้วยการกินชีวจิต

ข้อมูลประกอบจาก: คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ 

STOP SWEET หยุดเซลล์สมองพัง อัลไซเมอร์ถามหา

เปิดตำราดูแลผู้สูงวัย ไม่ให้เกิดภาวะโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ

ผู้สูงวัยเกิดปัญหาการกลืนลำบาก ลูกหลานอย่านิ่งนอนใจ!!

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.