ความเปลี่ยนแปลงทางสมอง

Super Food ต้านอัลไซเมอร์ ตา-ยาย

Super Food ต้านอัลไซเมอร์ ตายาย

ในยุคปัจจุบันอัตราการเกิด โรคอัลไซเมอร์ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเป็นในคนที่อายุเฉลี่ยน้อยลง ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้ตั้งแต่ระยะกลางเป็นต้นไป ต้องการการพึ่งพาของสมาชิกในครอบครัวสูงมาก ถือเป็นปัญหาสังคม

แต่ถึงแม้ว่า อัลไซเมอร์ จะมีสิทธิ์เกิดขึ้นได้กับคนที่มีอายุไม่มากด้วยก้ตาม แต่ตามสถิติผู้สูงอายุก็ยังเป็นกลุ่มที่พบโรคนี้มากที่สุดอยู่ดี โดยพบในผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป ถึงร้อยละ 15 และพบมากในผู้ที่มีอายุ 80 ปี ขึ้นไป ถึงร้อยละ 30 ซึ่งสาเหตุของโรคเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสมองบางส่วนที่เกิดการฝ่อ ประสิทธิภาพในการทำงานของสมองลดลง ส่งผลให้เกิดอาการหลงลืมเรื่องง่ายๆ ถามคำถามหรือพูดแบบเดิมซ้ำๆ อยู่บ่อยครั้ง และไม่สามารถจดจำหรือเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ได้ ซึ่งในระยะยาวอาจไม่ใช่การสูญเสียความทรงจำ แต่ร้อยละ 90 ของผู้ป่วยจะมีอาการทางจิตเวช และมีพฤติกรรมก้าวร้าวร่วมด้วย จึงต้องอาศัยการดูแลออย่างใกล้ชิด

ต้านอัลไซเมอร์

อาการปวดเรื้อรังมีผลต่อความเปลี่ยนแปลงทางสมอง

งานวิจัยตีพิมพ์ล่าสุดในวารสาร Journal of Neuroscience ระบุว่าอาการปวดเรื้อรังนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงทางสมองซึ่งจะส่งผลกระทบในระยะยาวต่อผู้ป่วย และนี่อาจบอกเราได้ว่าเหตุใดผู้ป่วยที่มีอาการปวดเรื้อรังจึงมักมีแนวโน้มที่จะเกิดความผิดปกติทางอารมณ์ เช่น ความรู้สึกหดหู่และวิตกกังวล

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยนอร์ทเวสเทิร์น ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ทำการศึกษาเพื่อเปรียบเทียบปฏิกิริยาตอบสนองของสมอง ด้วยการแบ่งกลุ่มผู้ใหญ่ที่เข้ารับการทดสอบออกเป็นสองกลุ่ม คือ กลุ่มผู้ที่มีสุขภาพดีและกลุ่มของผู้ที่มีอาการปวดหลังเรื้อรัง ซึ่งทั้งสองกลุ่มถูกทดสอบง่าย ๆ ด้วยการให้จับตาดูแถบสีที่เคลื่อนผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ ซึ่งระหว่างนั้น นักวิจัยจะบันทึกภาพปฏิกิริยาตอบสนองจากสมองโดยใช้คลื่นสนามแม่เหล็กและคลื่นวิทยุ

ผลก็คือสมองของผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรงจะมีการเคลื่อนไหวในภาวะที่ผ่อนคลาย ขณะที่ภาพถ่ายปฏิกิริยาทางสมองของกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการปวดเรื้อรังกลับแสดงให้เห็นการเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องในบริเวณส่วนหน้าของพื้นที่สมองรอบนอก แสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยที่มีอาการปวดเรื้อรังจะมีปฏิกิริยาตอบสนองทางสมองแตกต่างจากกลุ่มผู้ที่มีร่างกายแข็งแรงนั่นเอง

มีการคาดการณ์กันว่า ในปี ค.ศ. 2050 จะมีประชากรโลกเป็นโรคนี้ถึง 100 ล้านคน ซึ่งเป็นตัวเลขที่คงรอไม่ได้แล้วล่ะค่ะ

กินให้ถูก

กินให้ถูกช่วยต้านโรคสมองเสื่อม

วิธีการหนึ่งที่จะช่วยต้านอาการอัลไซเมอร์ในผู้สูงอายุได้ดีที่สุดอีกอย่างก็คือ “การกิน” กินให้ถูกตั้งแต่วันนี้ช่วยต้านโรคสมองเสื่อมหรืออัลไซเมอร์ได้ เกี่ยวกับเรื่องนี้ ศาสตราจารย์แพทย์หญิงนันทิกา ทวิชาชาติ คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แนะนําอาหาร ป้องกันโรคอัลไซเมอร์ในแต่ละหมวดไว้ในหนังสือ ต้นแบบ การป้องกันความเสี่ยงในการเกิดโรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ ดังนี้

อาหารที่มีโอเมก้า-3 สู ช่วยบํารุงสมอง และต้านอาการซึมเศร้า พบมากในปลาทะเล เช่น ปลาทู ปลากะพง ปลากระบอก  ควรกินอย่างน้อยสัปดาห์ละ 200 กรัม หากหาปลาทะเลลําบาก สามารถทดแทนด้วยวอลนัท เมล็ดแฟล็กซ์ และน้ำมันมะกอกได้ อาหารที่มีแอนติออกซิแดนต์สูงช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์สมอง พบมากในผัก ผลไม้ และเครื่องเทศต่างๆ  เช่น ผักโขม สะเดา ลูกหม่อน ทับทิม พริกไทย ขิง กระเทียม ขมิ้น ควรกินอย่างน้อยวันละ 400 กรัม อาหารที่มีวิตามินซีและอีสูง

อีกหนึ่งตัวช่วย ชะลอความเสื่อมของเซลล์สมองพบมาก ในผักใบเขียว ผลไม้รสเปรี้ยว เช่น ฝรั่ง ผลไม้ตระกูลส้ม ลิ้นจี่ กะหล่ำปลี ขึ้นฉ่าย มะเขือเทศสีดา แนะนําให้กินสด เพื่อให้ได้รับวิตามินมากที่สุด ให้กินในปริมาณเท่าๆ กับกลุ่มที่มีแอนติออกซิแดนต์สูง

กินต้านโรคสมองเสื่อม

อาหารที่มีโฟเลตสูงเสริมการทํางานของกรดแอมิโนที่ซ่อมแซมเซลล์สมองให้ทํางานได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นพบมากในข้าวกล้องผักโขม ถั่วต่างๆ และผลไม้บางชนิด เช่น ส้ม สตรอว์เบอร์รี่ ให้กินในปริมาณเท่าๆ กับกลุ่มที่มีแอนติออกซิแดนต์สูงเลือกอร่อยให้ได้ประโยชน์ต่อสมองกันตั้งแต่วันนี้

ลองดูค่ะ ลองหาอาหารที่ดีตมที่บอกไปให้ผู้สูงวัยที่เรารักกินดู อีกอย่างอย่างการแนะนำให้หลีกเลี่ยงอาหารประเภทไขมันอิ่มตัว ก็เป็นคำแนะนำที่เราได้ยินได้ฟังกันมานานแล้วและเชื่อถือกันมาตลอดว่า ไขมันเป็นสารที่ทำให้คอเลสเตอรอลสูง แล้วคอเลสเตอรอลก็เป็นวัตถุดิบในการสร้างแผ่น บีต้าอมิลอยด์ (beta-amyloid) สะสมในสมองในโรคอัลไซเมอร์ นอกจากนั้นการรับประทานอาหารไขมันสูงๆ เป็นเวลานานๆ ก็ทำให้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 และเป็นโรคอ้วน ซึ่งล้วนเป็นต้นตอของโรคอัลไซเมอร์ทั้งสิ้น

ข้อมูลประกอบจาก: นิตยสาร ชีวจิต ฉบับที่ 377

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

4 EATING TIPS กินคาร์บให้เป๊ะ ลดเสี่ยงอัลไซเมอร์

อดอาหารเช้า ทำเสี่ยง เป็นอัลไซเมอร์ ได้นะ

ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ จำเป็นต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างถูกวิธี

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.