โรคภูมิคุ้มกัน

การรักษา โรคภูมิคุ้มกัน ภูมิแพ้ และ แพ้ภูมิ ในผู้สูงอายุ

โรคในผู้สูงอายุหรือโรคเอ็นซีดี (NCD : Non-communicable Diseases) โรคภูมิคุ้มกัน เป็นโรคไม่ติดต่อมีความเรื้อรัง หนึ่งในโรคกลุ่มนี้คือโรค ภูมิแพ้ และแพ้ภูมิตนเอง หรือโรคออโต้อิมมูน

โรคออโต้อิมมูน (โรคภูมิคุ้มกัน) อยู่ในกลุ่มเดียวกับโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง เพราะคำว่า “ภาวะแพ้ภูมิตนเอง” เป็นภาวะการอักเสบเรื้อรัง ซึ่งมีสาเหตุมาจากภาวะการดื้ออินซูลินรวมกับภาวะดื้ออะดรีนัล

อะดรีนัล คือ สเตียรอยด์ที่ใช้เป็นยารักษาโรค ถามว่าความผิดปกตินี้คืออะไร อะดรีนัลมีอยู่แล้ว แต่ไม่ทำงาน ไม่หลั่งคอร์ติซอล

ส่วนใหญ่เมื่อเราดื้อ อินซูลิน เรามักดื้อ อะดรีนัลด้วย เพราะฉะนั้น คนกลุ่มที่เป็นโรค NCD ก็จะเป็นกล่มุ คนที่เกิดภาวะแพ้ภูมิตนเอง คือกลุ่มเดียวกัน เพียงแต่ว่าการแสดงออกของโรคกลุ่มนี้จะต่างจากโรค NCD นิดหน่อย

ถ้าสังเกตดี ๆ กลุ่มคนที่เป็นโรค NCD พวกโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงมักจะเป็นกลุ่มคนอ้วนที่แสดงอาการของโรคเบาหวานก่อนวัย ตั้งแต่อายุประมาณ 30 – 40 ปี แต่กลุ่มที่มีภาวะแพ้ภูมิตนเองมักเป็นกลุ่มคนผอม หนึ่งในนั้นคือโรคเอสแอลอี

โรคเอสแอลอี

โรคเอสแอลอี เป็นโรคที่รวมหลายโรคเอาไว้ด้วยกัน เช่น รูมาตอยด์ ฮาชิโมโต้ รวมทั้งการแพ้ภูมิแบบที่มีอาการกับไทรอยด์ ก็มีเยอะ แต่ไม่ว่าจะโรคอะไร กลุ่มนี้มีสาเหตุตั้งต้นเหมือนกันคือ กินแป้งขาวมากเกินไป ต่อมาก็ Gut Leak หรือภาวะลำไส้รั่ว เพียงแต่ว่าภูมิคุ้มกันที่จะมาต่อสู้กับสิ่งแปลกปลอมตามอวัยวะต่าง ๆ ต้องอาศัยบาลานซ์ของสารอาหารในร่างกาย และความแข็งแรงของอวัยวะนั้น ๆ

ทั้งนี้ กลุ่มสารอาหารสำคัญตัวหนึ่งที่คนนขาดกันมาก คือ วิตามินดี ตัวอย่างคือหมอเองมีชีวิตและทำงานอยู่ในห้องแอร์ ไม่เคยโดนแดดเลย พบว่าวันหนึ่งเจาะเลือดดูระดับวิตามินดีต่ำมาก แต่ก็ไม่สนใจปรับอาหารอะไรนะ

จนกระทั่งมาสนใจเรื่องอาหารพบว่า วิตามินดี มีผลต่อโรคภูมิแพ้ตัวเองมาก นอกจากนี้ก็คือวิตามินซี ทั้งนี้หมอเอาตัวเองเป็นหลักคือ เราเป็นคนไม่ชอบกินอาหารรสเปรี้ยว และเพราะพฤติกรรมแบบนี้เลยทำให้แผลในปากที่หมอเป็นไม่หายเสียที แถมยังมีแนวโน้มแย่ลงเรื่อย ๆ อีกด้วย นอกจากนี้หมอยังกินคาร์โบไฮเดรตเยอะ และไขมันที่ดีมีไม่พอ

ส่วนภาวะที่ซ้ำเติมโรค เกี่ยวกับภูมิคุ้มกันในผู่สูงอายุ คือ ความเครียดจากงาน การใช้ชีวิต ความคิดของตัวเอง

เล่าเรื่องของหมอเองละกัน ช่วงหนึ่งก่อนที่แผลในปากของหมอจะไป ตอนนั้นยังเป็นแผลอยู่ทั้งปาก แต่เราคิดว่าเราไม่มีแผลอยู่ในปากเลยนะ วิธีคิดแบบนี้ คือการสะกดจิตสั่งกาย ซึ่งผลปรากฏว่าแผลหายเร็วขึ้น

ลองทำดูสิคะ อยากให้ร่างกายเป็นอย่างไร ก็บอกตนเองอย่างนั้นทุกวัน

การออกกำลังกายในผู้ป่วยโรคออโต้อิมมูน

การออกกำลังกายกับภูมิต้านทานนั้นก็สำคัญ แต่เราไม่ค่อยใส่ใจกันเท่าไร หรือออกกำลังบ้าง ก็ออกกำลังตามใจฉัน อย่างหมอเนี่ย หมอออกกำลังกายอย่างหนัก หักโหม ทำทุกอย่าง แต่หากไม่ปรับการกินก็ไม่ช่วย

โดยเฉพาะหากร่างกายเกิดอาการบาดเจ็บ เรามักปล่อยให้หายเอง ที่จริงถ้าเรากินอาหารที่มีสารอาหารที่ร่างกายต้องการด้วยก็จะช่วยให้อาการบาดเจ็บดีขึ้นอย่างรวดเร็ว ยิ่งหากป่วยเป็นโรคแพ้ภูมิร่างกายตนเอง หลายอาการคือ ความเจ็บปวดอยู่แล้ว ทีนี้ถ้าออกกำลังกายหนักและหักโหม อาการก็จะแย่ลง

นอกจากนี้ การออกกำลังกายบางอย่าง ทำให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้นด้วย ฉะนั้น ผู้สูงอายุที่มีปัญหาโรคเรื้อรัง เราต้องใส่ใจการกินเป็นอันดับแรก หรือถ้าไม่รู้จะกินอะไรก็อดอาหารเสีย ทฤษฎีเดิมที่บอกว่าให้ออกกำลังกายเยอะ ๆ แต่กินน้อย ๆ นั้นไม่ใช่สำหรับผู้ป่วยโรคนี้ เพราะจะยิ่งทำให้ภาวะความเจ็บป่วยแย่ลง

ส่วนเรื่องการอดอาหาร ยิ่งน้ำหนักต้นทุนมากเท่าไร ก็ยิ่งอดอาหารได้มากเท่านั้น และช่วงระหว่างกินก็ให้กินอาหารคาร์โบไฮเดรตต่ำเพื่อลดภาวะดื้ออินซูลิน ซึ่งจะช่วยให้โรคหลายโรคมีอาการดีขึ้นได้ รวมท้งั โรคแพ้ภูมิตนเอง

ไขมันดี – ผลดีต่อโรคแพ้ภูมิคุ้มกัน

ส่วนไขมัน กรรมวิธีการผลิตน้ำมันที่ใช้สารเคมีมาช่วยสกัดน้ำมันนั้น อาจต้องเลี่ยง แล้วใช้วิธีการสกัดเย็น

ทั้งนี้ โอเมก้า – 6 และโอเมก้า – 3 ร่างกายเราต้องการสัดส่วนของโอเมก้า – 6 ไม่เกินสิบเท่าของโอเมก้า – 3 จึงต้องระวังส่วนสารอาหารจำเป็นอันที่เราต้องเสริมให้ร่างกายคือ แบคทีเรียชนิดดี หมอแนะนำว่า เราต้องกินของหมักดองเป็นประจำ ร่างกายจึงแข็งแรง คำว่าหมักดอง
คือหมักดองให้ถูก ไม่ใส่น้ำตาล ผงชูรส ไม่ใส่สารกันบูด

แบคทีเรียชนิดที่ไม่ทำให้อาหารบูดเน่า ก็ไม่ทำให้ร่างกายเกิดภาวะบูดเน่าด้วย ตรงข้ามเขาจะเป็นเพื่อนที่ดีมาก เรื่อง Gut Leak หรือ Leaky Gut คือ ภาวะลำไส้รั่วที่ทำให้ทางเดินอาหารเกิดภาวะผิดปกติ ก็มีสาเหตุจากแบคทีเรียชนิดดีและร้ายในลำไส้ไม่สมดุลด้วย

อย่าลืมว่าคนที่มีปัญหาเรื่องระบบทางเดินอาหารก็จะมีปัญหาเรื่องภูมิคุ้มกันตามมา จะว่าไปเกือบทุกโรคเกิดที่นี่เลยค่ะ…ทางเดินอาหาร

เรื่อง แพทย์หญิงพรเพ็ญ พงศทันธรรม ภาพ iStock เขียนลงเว็บ เนื้อทอง ทรงสละบุญ

ชีวจิต 495 – คอร์สปรับระบบเมแทบอลิก

นิตยาสารรายปักษ์ ปีที่ 21 : 16 พฤษภาคม 2562
บทความน่าสนใจอื่นๆ

HEALTHY BALANCE เบเบ้ – ธันย์ชนก ไอดอลสุดฮ็อตด้านสุขภาพ

HOW TO ใช้ประโยชน์จาก ผลไม้ไทย สับปะรด ให้เวิร์คต่อผิวเราอย่างไรดี?

5 พฤติกรรม ไม่ช่วยลดน้ำหนัก

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.