สาเหตุสำคัญที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอ
เมื่อ ภูมิคุ้มกัน ในร่างกายเปรียบเสมือนปราการด่านแรกสำหรับต้านโรคภัยไข้เจ็บที่จะเข้ามาเยี่ยมเยือน หากเราไม่ดูแลสุขภาพของตนเอง รับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ ไม่ออกกำลังกาย มีความเครียด พักผ่อนน้อย โรคภัยก็ถามหาได้ง่ายๆ ดังนั้น การสร้างภูมิคุ้มกัน ให้กับร่างกายจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด เพื่อให้เรามีร่างกายที่แข็งแรง สามารถต่อสู้กับโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ โดยเฉพาะช่วงที่มีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19
ในช่วงเวลานี้พวกเราทุกคนคงจะรู้สึก ตื่นตระหนกกันไม่น้อยที่พบว่ามีปริมาณผู้ที่ติดเชื้อโคโรนาไวรัส 19 เพิ่มขึ้นจำนวนมากในแต่ละวันเมื่อเทียบกับ 4-5 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งประเทศไทยทำได้ดีมากมาตลอดในเรื่องการควบคุมจำนวนผู้ติดเชื้อภายในประเทศ
วันนี้เราจะมาสรุปถึงสาเหตุสำคัญ 7 ประการที่มีผลทำให้ระบบภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอลง เพื่อที่เราจะได้ตระหนักรู้ หลีกเลี่ยง และลงมือปรับปรุง
1.ความเครียดและวิตกกังวลเรื้อรัง
ความเครียดและวิตกกังวลเรื้อรังเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอและมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ คนไข้ที่มีการติดเชื้อไวรัสมีระดับคอร์ติซอลในเลือดสูงขึ้น เมื่อได้รับความเครียดในปริมาณมาก ความเครียดสามารถเกิดขึ้นได้จากทั้งทางกายภาพและทางจิต เช่น จากการออกกำลังกายหนักเกินไป อดนอนเรื้อรัง แยกตัวจากสังคม ความกลัว วิตกกังวล ความโกรธที่ไม่ได้รับการเยียวยา
การฝึกมองโลกในแง่ดีสามารถที่จะช่วยลดความเสียหายที่เกิดขึ้นจากความเครียดได้แต่ก็ไม่เสมอไป แต่การฝึกมองโลกตามความเป็นจริง ไม่วิตกกังวลในเรื่องที่เราควบคุมไม่ได้ และวางใจให้สงบน่าจะเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพกว่า มีงานวิจัยที่แสดงว่า การอยู่อย่างโดดเดี่ยวและซึมเศร้าทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายอ่อนแอลง การมีคุณภาพความสัมพันธ์ที่ดีต่อคนรอบข้าง ถึงแม้จะไม่ได้มีปริมาณมาก รวมถึงการรับมือกับการอยู่คนเดียวได้ดีสำหรับคนที่ชอบอยู่กับตัวเองมากกว่า ก็เป็นทางออกที่ดีในการรับมือกับความเครียด
2.การจัดการระดับน้ำตาลในเลือดที่ไม่มีคุณภาพ
สุขภาพเมตาบอลิสมและความไวต่ออินซูลินสำคัญในการเพิ่มความอึดถึกทนต่อตัวสร้างความเครียดภายนอก มันเป็นตัวกำหนดว่าคุณจะเจ็บป่วยหนักและนานแค่ไหน ระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงเกินปกติลดความสามารถของนิวโทรฟิลต่อการทำลายแบคทีเรีย เชื้อโรคบางชนิดสามารถเพิ่มความดุดันและแบ่งตัวได้รวดเร็วในสภาวะสิ่งแวดล้อมที่มีระดับน้ำตาลสูง การจัดการระดับน้ำตาลในเลือดขึ้นอยู่กับสุขภาพเมตาบอลิสม ความไวต่ออินซูลินน้ำหนักตัวหมุนกล้ามเนื้อกิจกรรมทางกายและความเครียดของแต่ละบุคคลมาก
3.น้ำหนักเกิน
คุณภาพเมตาบอลิสมที่แย่ลง ส่วนใหญ่มักจะเกิดจากปล่อยให้น้ำหนักเกิน และมีระดับไขมันร่างกายมากเกินระดับปรกติ คนอ้วนมีความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นต่อการติดไวรัสไข้หวัดและจำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล นอกจากนั้นยังยืดระยะเวลาที่ไวรัสไข้หวัดสายพันธุ์เอจะคงอยู่ในร่างกาย งานวิจัยจำนวนมากเกี่ยวกับผู้ติดเชื้อโคโรน่าไวรัส 19 แสดงว่า คนอ้วนจะมีไวรัสตัวนี้อยู่ในร่างกายนานกว่าคนที่น้ำหนักปกติ ทำให้คนอ้วนจะมีระยะเวลาการติดเชื้อนานกว่า ที่เป็นดังนี้เพราะความอ้วน โดยเฉพาะไขมันประเภท visceral fat ส่งเสริมภาวะอักเสบต่ำเรื้อรัง ซึ่งทำให้ระบบภูมิคุ้มกันร่างกายจะต้องทำงานตลอดเวลาจึงอ่อนแอลง
4.การไม่ค่อยมีกิจกรรมทางกาย
การไม่ค่อยมีกิจกรรมทางกาย มีความเกี่ยวข้องกับภาวะอักเสบต่ำๆเรื้อรังจากเนื้อเยื่อไขมัน ซึ่งลดประสิทธิภาพของภูมิคุ้มกัน เนื่องจากร่างกายไม่เคยได้ฝึกให้ภูมิคุ้มกันร่างกายรับแรงเครียดจากการออกกำลังกาย
นอกจากนั้นการออกกำลังกายยังส่งเสริมการไหลเวียนภายในระบบหลอดเลือดและท่อน้ำเหลืองอีกด้วย งานวิจัยพบว่าการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอช่วยลดอุบัติการติดเชื้อที่ระบบหายใจด้านบน แต่ต้องระวังการออกกำลังกายหนักเกินกำลังภายหลังจากการทำงานหนักมาทั้งวัน ซึ่งพบว่าเป็นผลเสียมากกว่าผลดี
5.ดื่มแอลกอฮอล์มากเกินควร
การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินควร สร้างความเสียหายให้ระบบภูมิคุ้มกันร่างกายและเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อที่ปอด ควรดื่มในปริมาณเล็กน้อยเพื่อสร้างการตอบสนองแบบ hormesis ให้ร่างกาย
6.การอดนอน
การอดนอนมีความสัมพันธ์อย่างชัดเจนระหว่างการนอนกับระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย ในงานวิจัยหนึ่งพบว่าผู้ที่นอนน้อยกว่า 7 ชั่วโมงต่อคืน มีความน่าจะเป็นที่จะป่วยเพิ่มขึ้นถึง 3 เท่าเมื่อเทียบกับผู้ที่นอน 8 ชั่วโมงขึ้นไป การอดนอนลดจำนวนเซลล์ภูมิคุ้มกันที่ชื่อ Natural Killer Cell แค่นอนไม่พอหนึ่งคืนสามารถลดประสิทธิภาพของ NK ลงถึง 75% ซึ่งหมายถึงความสามารถของระบบภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอลงในการรับมือกับผู้บุกรุก
นอกเหนือจากการระมัดระวังตัวเพื่อ ลดความเสี่ยงการติดเชื้อ และ ทำงานจากบ้านในกรณีที่บริษัทอนุญาตแล้ว การดูแลรักษาร่างกายให้มีระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงย่อมเป็นสิ่งที่ทุกคนควรจะต้องให้ความสนใจเป็นที่สุด
ที่มา: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ