ปอดอักเสบที่จากการติดเชื้อ

ปอดอักเสบ ป้องกันไว้ ดีกว่ารักษา

ปอดอักเสบ ป้องกันไว้ ดีกว่ารักษา

โรคปอดบวม หรือ ปอดอักเสบ เป็นโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่างเเบบเฉียบพลัน เกิดได้จากเชื้อแบคทีเรีย, เชื้อไวรัส และเชื้อรา พบได้บ่อยในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอ เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยที่พักฟื้นในโรงพยาบาล

สำหรับสาเหตุของโรค มีความแตกต่างกันในแต่ละกลุ่มอายุและสภาพแวดล้อม โดยร่างกายจะได้รับเชื้อผ่านทางระบบทางเดินหายใจ ซึ่งผู้ป่วยที่เป็นปอดอักเสบมีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดโรคแทรกซ้อนสูง เช่น การติดเชื้อในกระแสเลือด หรือระบบทางเดินหายใจล้มเหลว ภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบ โดยเฉพาะในผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีโรคประจำตัว มีโอกาสเสียชีวิตจากโรคนี้สูงกว่า

สาเหตุของโรคปอดอักเสบ

ปอดอักเสบสามารถเกิดได้ 2 สาเหตุ ดังนี้

ปอดอักเสบที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ เป็นการหายใจเอาสารที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ เช่น สารเคมีที่ระเหยได้ ฝุ่น หรือควันที่ก่อให้เกิดโรคปอดอักเสบ

ปอดอักเสบจากการติดเชื้อ เกิดจากการอักเสบของถุงลมปอดและเนื้อเยื่อ ได้แก่ เชื้อไวรัส เชื้อราจากมูลสัตว์ และแบคทีเรีย ซึ่งแตกต่างกันในแต่ละช่วงอายุ และสภาพแวดล้อมรอบตัว

ปอดอักเสบ

อาการเตือน “ปอดอักเสบ”

– มีไข้ หนาวสั่น มีไข้สูงและมีอาการหนาวสั่นร่วมด้วย แสดงว่าการติดเชื้อดังกล่าวนั้นอาจจะกลายเป็นการติดเชื้อที่ปอด

– ชีพจรเต้นเร็ว กว่า 100 ครั้งต่อนาที หากมีอาการดังกล่าวคงอยู่นาน แม้หลังจากหายไข้แล้วควรรีบไปพบแพทย์

– เจ็บหน้าอก มีอาการเจ็บแน่นหน้าอกได้ เป็นสัญญาณเตือนที่บอกว่าการติดเชื้อที่คุณเป็นอาจจะรุนแรงมากขึ้น

– ไอมีเสมหะ แสดงว่าอาจมีการติดเชื้อ และอาจทำให้เกิดภาวะปอดอักเสบได้

– เสมหะมีเลือดปน สัญญาณหนึ่งที่แสดงว่าเสมหะนั้นออกมาจากปอด บ่งบอกว่าอาจจะเป็นปอดอักเสบ

– หายใจลำบาก เริ่มมีอาการหายใจลำบาก คุณอาจจะมีอาการของโรคปอดอักเสบ

โรคปอดอักเสบ

คุณอาจเสี่ยง เป็นโรคปอดบวม จากเชื้อนิวโมคอคคัส

ถ้าคุณมีปัจจัยเสี่ยง 1 ข้อหรือมากกว่านั้น

  • อายุมากกว่าหรือเท่ากับ 65 ปี
  • เป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ โรคตับ หรือโรคไต
  • โรคหอบหืด
  • เบาหวาน
  • ผู้ป่วยปลูกถ่ายอวัยวะ
  • ผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี
  • โรคมะเร็ง
  • ภาวะม้ามไม่ทำงานหรือไม่มีม้าม
  • ใส่ชุดประสาทหูเทียม
  • น้ำไขสันหลังรั่ว
  • สูบบุหรี่
  • โรคพิษสุราเรื้อรัง

การรักษาโรคปอดอักเสบ

การรักษาอาการจำเพาะ พิจารณาให้ยาขยายหลอดลมในกรณีที่ผู้ป่วยมีเสียงดังที่ปอด ให้ยาขับเสมหะกับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี ให้น้ำ และอาหารอย่างเพียงพอ ในกรณีที่ผู้ป่วยรับประทานอาหารไม่ได้แพทย์จะพิจารณาให้อาหารทางสายยางเพื่อไม่ให้ผู้ป่วยเกิดภาวะขาดสารอาหาร นอกจากนี้ยังมีการบำบัดทรวงอก เพื่อช่วยขับเอาเสมหะออกจากปอดได้ดีขึ้น

การรักษาทั่วไป กรณีที่เกิดจากเชื้อไวรัสแพทย์จะรักษาแบบประคับประครอง โดยบำบัดทางระบบหายใจ เพราะไม่มียารักษา ส่วนในกรณีที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย แพทย์จะใช้ยาปฏิชีวนะ โดยจะเลือกใช้ยารักษาตามเชื้อที่ผู้ป่วยได้รับ

อาการปอดอักเสบ หากปล่อยไว้ไม่รักษา อาจทำให้เสียชีวิตได้ ดังนั้น การป้องกันที่ดีที่สุดคือ การฉีดวัคซีนป้องกันไว้ก่อน

แหล่งข้อมูลอ้างอิง: กระทรวงสาธารณสุข

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ 

น้ำท่วมปอด เป็นได้ไม่รู้ตัว

5 อาการน่าสังเกต ที่ อาการคล้ายหวัด แต่ไม่ใช่หวัด

เจ็บหน้าอก ทำไงดี เสี่ยงเป็นโรคอะไรได้บ้าง

 

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.