น้ำท่วมปอด(อาการน้ำท่วมปอด) เป็นได้ไม่รู้ตัว แถมป้องกันไม่ได้ ต้องสังเกตตัวเองเท่านั้น
เมื่อไม่กี่วันก่อนหน้านี้ได้ทราบข่าวว่าคนรู้จักที่ดูแข็งแรง และชอบออกกำลังกายอยู่เป็นประจำมีอาการน้ำท่วมปอด (Pulmonary Edema) เลยขอหยิบยกเอาอาการดังกล่าวมาฝากกันค่ะ เพราะดูแล้วแม้แต่คนที่ดูแลสุขภาพอยู่ตลอดยังเกิดปัญหานี้ขึ้นได้เลย ก่อนอื่นต้องเข้าใจกันก่อนว่า น้ำท่วมปอด แม้ไม่ใช่โรค แต่ก็มีความเกี่ยวพันกับโรคอื่น ๆ ได้ เช่น หัวใจขาดเลือด หัวใจวาย รวมไปถึงโรคไต ซึ่งเป็นสาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้เกิด อาการน้ำท่วมปอด ดังกล่าวขึ้น
อาการน้ำท่วมปอด
- ไอ
- หายใจหอบเหนื่อย (โดยเฉพาะเวลานอนราบ ที่จะส่งผลให้หอบเหนื่อยมากกว่าปกติ)
- เจ็บแน่นหน้าอก
- หายใจไม่อิ่ม
- บวมตามแขนขา
- หัวใจเต้นเร็ว
สาเหตุ
- มีความดันในเส้นเลือดสูง ทำให้น้ำดันเข้าไปในปอดจนเกิดน้ำท่วมปอด ซึ่งอาการนี้เกิดจากปัญหาโรคหัวใจ หรือโรคไตวาย
- โปรตีนที่ทำหน้าที่รักษาระดับน้ำในเลือดลดต่ำ ทำให้น้ำรั่วเข้าสู่อวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย จนเกิดน้ำท่วมปอด
- เส้นเลือดอักเสบ ทำให้น้ำรั่วออกไปข้างนอก
- ปอดบวมจนเกิดการติดเชื้อ
- ได้รับกับสารพิษหรือการใช้ยาบางชนิด
- หัวใจมีความผิดปกติ
นอกจากนี้ การอยู่ในพื้นที่ซึ่งมีระดับความสูงมาก ๆ ก็อาจทำให้เกิด ภาวะปอดบวมน้ำจากการอยู่ในพื้นที่สูง หรือ High Altitude Pulmonary Edema (HAPE) ได้ สำหรับภาวะนี้จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการเหนื่อยมากขึ้นแม้ในขณะพัก การหายใจทำได้ลำบาก มีอาการไอแห้ง และถือเป็นภาวะอันตรายที่ส่งผลต่อชีวิต หากเกิดภาวะนี้ขึ้นควรนำผู้ป่วยลงจากที่สูง และต้องพบแพทย์อย่างทันที
น้ำท่วมปอดเป็นภาวะที่ไม่สามารถป้องกันได้ ดังนั้น ผู้ที่มีความเสี่ยงเช่นผู้ป่วยโรคหัวใจ ผู้ป่วยไตวาย จึงควรหมั่นสังเกตตัวเอง และพบแพทย์เป็นประจำ เพื่อตรวจภาวะต่าง ๆ ของร่างกายค่ะ
การดูแลหากเกิดอาการน้ำท่วมปอด
- หาสาเหตุของอาการ
- กินยาขับปัสสาวะ เพื่อลดน้ำในปอด
- ควบคุมปริมาณน้ำที่ดื่มในแต่ละวัน
- ลดโซเดียม และอาหารรสเค็ม
- หลีกเลี่ยงการกินยาตระกูล NSAIDs ซึ่งเป็นกลุ่มยาแก้ปวด แก้อักเสบบางชนิด
อย่างไรก็ตาม เราควรดูแลตัวเองให้ห่างไกลจากโรคที่มีความสัมพันธ์กับภาวะน้ำท่วมปอด เช่น โรคหัวใจ หรือ ภาวะหัวใจขาดเลือด ความดันโลหิตสูง เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะนี้ได้
สำหรับวิธีดูแลตัวเองให้ห่างไกลจากโรคหัวใจ ก็คือ การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และทานให้ครบ 5 หมู่ โดยเน้นไปที่ผัก ผลไม้ ซึ่งมีกากใยสูง และอาหารที่มีไขมันดีอย่างธัญพืชไม่ขัดสี อโวคาโด รวมถึงปลาทะเลน้ำลึก แซลมอน ทูน่า แมคเคอเรล พร้อมกับหลีกเลี่ยงของอาหารที่มีไขมันไม่ดีอย่างเช่น ของหวาน ของมัน และอาหารรสจัด เพื่อควบคุมระดับน้ำตาล ระดับไขมัน และควบคุมน้ำหนัก ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
อีกทั้งเรายังควรที่จะต้องออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยวันละ 30 นาทีขึ้นไป ซึ่งสามารถทำได้หลากหลายวิธี เช่น เดิน วิ่ง เต้นแอโรบิค รำกระบอง ว่ายน้ำ เพื่อให้ร่างกายได้เผาผลาญพลังงาน ซึ่งจะช่วยลดไขมัน และคาร์โบไฮเดรตส่วนเกินได้ นอกจากนี้ยัง ควรงดสูบบุหรี่ และดื่มเครื่องดื่มแอกอฮอล์ เนื่องจากมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน
พักผ่อนอย่างเพียงพอ อย่างน้อย 7-8 ชั่วโมง ในแต่ละวัน เพื่อให้ร่างกายได้ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ และปรับจิตใจให้สมดุล ปราศจากความเครียด ทั้งนี้ ควรเข้ารับการตรวจร่างกายอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ให้รู้ถึงภาวะและความเสี่ยงในการเกิดโรคต่าง ๆ เพื่อหาวิธีป้องกันตัวเองไม่ให้ป่วย
เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ
- 6 เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ เติมความสดชื่นให้ร่างกายในตอนเช้า
- หยุด! ดื่ม บรรดาเครื่องดื่มแบบนี้ ถ้าไม่อยากมีไขมันพอกตับ
- 6 ไอเดียบ้านกันฝุ่น PM 2.5
- 10 วิธีกำจัด ไรฝุ่น ให้อยู่หมัด
- สมาคมสภาองค์กรโรคหืดฯ รณรงค์ปัญหาโลกร้อน ลดฝุ่น PM 2.5 ลดความเสี่ยงโรคหืด
- ส่องประโยชน์ หัวไชเท้า ปลูกง่าย กินอร่อย สารอาหารเยอะ
สามารถอ่านเคล็ดลับสุขภาพดีเพิ่มเติมได้ที่ : นิตยสารชีวจิต ฉบับที่ 587 (พฤศจิกายน 2566) “คลีนร่างกายให้เคลียร์!!! แค่รู้วิธีดีท็อกซ์อวัยวะขับพิศ”
หรือติดตามนิตยสารชีวจิต ฉบับอื่น ๆ ได้ที่ ร้านนายอินทร์
หรือติดตามช่องทาง Social Media ของนิตยสารชีวจิตได้ที่ :
Facebook : นิตยสารชีวจิต
Instagram : Cheewajitmedia
TikTok : cheewajitmediaofficial