ลองโควิด Long COVID

Long COVID กับอาการทางระบบประสาทและสมอง

Long COVID กับอาการทางระบบประสาทและสมอง

Postacute COVID syndromeหรือที่เรียกติดปากว่า ลองโควิด ( Long COVID ) เป็นอาการตกค้างที่เกิดขึ้นหลังจากการติดเชื้อ COVID19 และรักษาหายแล้ว แต่ไม่ได้ส่งผลเพียงแค่ระบบทางเดินหายใจเท่านั้น ยังส่งผลได้กับทุกระบบในร่างกาย รวมถึงระบบประสาทและสมองได้อีกด้วย ซึ่งอาการที่เกิดจะต่างกันออกไป การรู้เท่าทัน จะสามารถทำให้เราสังเกตและพบแพทย์เพื่อทำการรักษาได้ทันท่วงที ก่อนที่อาการแย่ลง 

ความเห็นจากแพทย์

นพ.ชัยศักดิ์ ดำริการเลิศ แพทย์อายุรกรรมระบบประสาทและแพทย์ผู้ชำนาญการด้านพฤติกรรมประสาทวิทยาและโรคสมองเสื่อม รพ.กรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวว่า สาเหตุของลองโควิด นั้นยังไม่เป็นที่รู้แน่ชัด แต่จากหลักฐานข้อมูลที่มีอยู่คาดการณ์ว่า ภาวะนี้น่าจะเกิดจาก 3 สาเหตุ คือ 1.ไวรัสไปทำลายสมดุลระบบต่าง ๆ ในร่างกาย ทำให้เกิดความผิดปกติขึ้น 2.ติดเชื้อไวรัสแล้วร่างกายถูกกระตุ้นให้สร้างภูมิคุ้มกันและสารอักเสบมากขึ้นจนไปทำลายการทำงานของระบบอวัยวะต่าง ๆ 3.ผลกระทบหลังการเจ็บป่วยรุนแรง (Post  Critical Illness) ซึ่งผู้ป่วยที่มีการเจ็บป่วยรุนแรงจะมีการทำลายของระบบไหลเวียนขนาดเล็ก (Microvascular Injury) รวมถึงมีความผิดปกติของสมดุลเกลือแร่และสารน้ำในร่างกาย จึงทำให้ระบบต่าง ๆ ในร่างกายมีการทำงานที่ผิดปกติหลังจากผ่านพ้นการเจ็บป่วย อาการของโรค COVID19 จะคล้ายกับการติดเชื้อไวรัสทางเดินหายใจอย่างอื่น เช่น ไข้ อาการไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ ปวดศีรษะ มึนศีรษะ หอบเหนื่อย หายใจเร็ว และอาจมีบางอาการที่เกิดจากเชื้อไวรัส COVID19 เช่น การไม่ได้กลิ่น หรือ รับรู้รสชาติ ในผู้ป่วยบางราย เมื่อรักษาหายแล้วยังมีอาการเหล่านี้ตกค้าง หลงเหลืออยู่ ซึ่งเป็นภาวะลองโควิด อาการจะแตกต่างกันไปตามการศึกษาและงานวิจัยของแต่ละประเทศ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของการติดเชื้อ จากข้อมูลทางสถิติผู้ป่วย COVID19 ประมาณ 10,000 คน พบว่าหลังการติดเชื้อมีผู้ป่วย 73ที่ยังคงมีอาการแม้ว่าจะรักษาโรคจนหายแล้ว มีรายงานเบื้องต้นว่า ในเพศหญิง, มีโรคประจำตัวหอบหืด หรืออายุอยู่ในช่วง 35  49 ปี ถือเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดอาการLong COVID มากกว่ากลุ่มอื่น และในคนไข้ที่มีอาการรุนแรง ในช่วงที่มีการติดเชื้อ จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นลองโควิดมากกว่า 

ดูแลผู้สูงวัยช่วงโควิด ลองโควิด Long Covid

อาการเป็นอย่างไร

อาการของลองโควิด ที่พบได้บ่อยระบบหนึ่ง คือในส่วนของระบบประสาทและจิตเวชเช่น อาการปวดศีรษะ มึนศีรษะ นอนไม่หลับ ภาวะสมองล้า (Brain fogภาวะสับสน (delirium) ภาวะเครียดภายหลังเกิดโรค หรือ พีทีเอสดี (Post-traumatic stress disorder, PTSDอาการซึมเศร้า กลุ่มอาการย้ำคิดย้ำทำและภาวะวิตกกังวล (anxiety) ฯลฯ ซึ่งภาวะสมองล้า (Brain fogคือภาวะที่สมองมีการทำงานลดลง ทำให้คิดและตัดสินใจได้ช้าลง การวางแผนและแก้ปัญหาได้ลดลง รวมถึงการมีสมาธิลดลง (attentionในบางคนอาจเป็นมากจนส่งผลให้ลืมความจำระยะสั้นหรือไม่สามารถทำงานที่เคยทำเป็นประจำได้ นอกจากนี้อาการลองโควิด ยังเกิดได้จากความผิดปกติของระบบประสาทอัตโนมัติ (autonomic dysfunctionซึ่งมักจะพบอยู่ 2 ภาวะ คือ 1.กลุ่มอาการหัวใจเต้นเร็วระหว่างเปลี่ยนท่า (Postural Orthostatic Tachycardia Syndrome, POTSซึ่งลักษณะของกลุ่มอาการนี้คือจะมีหัวใจเต้นเร็วมากกว่าปกติเวลาเปลี่ยนท่า เช่น ลุกขึ้นยืนหรือนั่ง ซึ่งทำให้เกิดอาการ ใจสั่น แน่นหน้าอก หายใจลำบาก ปวดศีรษะ มึนศีรษะ ไปจนถึงหน้ามืดและหมดสติได้ และ 2.ภาวะเหนื่อยล้าเรื้อรัง (Myalgia Encephalitis/Chronic Fatigue Syndrome, ME/CFSซึ่งอาการของภาวะนี้คือ อ่อนเพลียอย่างรุนแรง ปวดตามข้อและกล้ามเนื้อ เจ็บคอ ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ สมองล้าคิดได้ช้าลง ขาดสมาธิ และมีปัญหาเรื่องการนอน เป็นต้น

การติดเชื้อ COVID-19 ส่งผลกระทบต่อร่างกายได้ โดยหากมีโรคประจำตัวมาก่อนการติดเชื้อ ก็จะทำให้โรคนั้นแย่ลงเร็วกว่าปกติ แต่หากไม่มีโรคประจำตัวมาก่อน การติดเชื้อก็จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคทางระบบประสาทบางอย่างได้ โดยมีข้อมูลว่าการติดเชื้อโควิด-19 นั้นเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดสมอง ทั้งสมองขาดเลือดและเลือดออกในสมอง โรคสมองเสื่อม และโรคทางจิตเวช (เช่น ซึมเศร้า วิตกกังวล) มากกว่าคนที่ติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่หรือเชื้อไวรัสทางเดินหายใจชนิดอื่น และยังพบว่าคนไข้จะมีความเสี่ยงต่อโรคดังกล่าวมากขึ้น หากมีประวัติการติดเชื้อโควิด-19 ที่ต้องได้รับการรักษาในโรงพยาบาล หรือ ได้รับการรักษาในหอผู้ป่วยวิกฤติ

ส่วนใหญ่การรักษาลองโควิด จะเป็นการรักษาตามอาการเป็นหลัก ยังไม่มีการรักษาจำเพาะ สิ่งที่ควรทำคือการป้องกันตัวเองให้ไม่เป็นโรค COVID-19 การดูแลสุขภาพร่างกาย ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และหากมีอาการผิดปกติแนะนำให้รีบพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยและรักษาทันที

(ที่มา : โรงพยาบาลกรุงเทพ)


บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

LONG COVID ( ลองโควิด ) เรื่องต้องรู้เมื่อหายจาก COVID-19

อย่าประมาท กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ จากภาวะ Long Covid

ไทย 1 ใน 5 ชาติที่เปิดประเทศ ให้ ปชช. ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับโควิด ให้ได้

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.