โรคแพนิก

เมื่อตกใจจนเกิดเป็น “โรคแพนิก” ควรรับมือกับมันยังไง ?

โรคแพนิก อาการตกใจหรือตื่นตระหนก วิตกกังวลอย่างกะทันหัน และมีอาการรุนแรงมากกว่าทั่วไป ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้มีเหตุการณ์ที่เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดขึ้นได้ แต่เรารู้สึกกังวลและเครียดขึ้นมาก่อน สำหรับในไทยสามารถพบคนที่เกิดอาการนี้ได้ถึงร้อยละ 3 – 5 และส่วนใหญ่มักเคยเกิดอาการแบบนี้ อย่างน้อยหนึ่งถึงสองครั้งในชีวิตได้

เมื่อมีอาการแพนิกเกิดขึ้น สมองที่เป็นส่วนเกี่ยวข้องกับอารมณ์ “อะมิกดาลา” (Amygdala) จะส่งสัญญาณไปที่ระบบประสาท ให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนอะดรีนาลิน ทำให้เรารู้สึกตื่นเต้น ใจเต้นรั่ว รู้สึกปั่นป่วนไปทั่วท้อง ตัวเริ่มเกร็ง ชา เหงื่อแตก ทำอะไรไม่ถูก รู้สึกไม่เป็นตัวเอง 

สำหรับวิธีการรับมือเบื้องต้นทำได้ง่ายๆ โดย

– พยายามหายใจเข้าออกอย่างช้าๆ เมื่อเริ่มรู้สึกหายใจติดขัด ให้เริ่มหายใจทางปาก และตั้งสติให้ได้มากที่สุด

– หลับตาลงช้าๆ และค่อยๆ คุยกับตัวเองดึงสติกลับมา การหลับตาจะช่วยให้จิตใจเราสงบมากขึ้น

– ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ เริ่มจากคลายมือที่เกร็ง ค่อยๆ ขยับไปมาอย่างช้าๆ และทำร่างกายให้สบายๆ 

เมื่อเกิดอาการแพนิก ส่วนใหญ่แล้วจะสามารถหายได้เอง โดยใช้เวลาประมาณ 10 – 15 นาที แต่ทั้งนี้ก็ต้องมีตัวช่วยและวิธีการรับมือที่ดีเช่นกัน หากรู้สึกว่าอาการไม่ดีขึ้น ควรไปพบแพทย์เพื่อหาทางแก้ไขต่อไป 


อ่านบทความอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่ : 

“แพนิก” ภาวะตื่นตระหนกที่ต้องรักษา คุณเป็นอยู่หรือเปล่า?

แพนิก โรคขี้กลัว กลัวจนรู้สึกเหมือนกำลังจะตาย

รู้จัก โรคมนุษย์น้ำ หรือโรคที่มี เหงื่อออกมือ พร้อมคำแนะนำเพื่อการรักษา

เหงื่อออกที่มือ สัญญาณผิดปกติที่ควรเช็ก พร้อมแนะนำวิธีรักษา

 

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.