ภาวะ ไตเสื่อม
ไตเสื่อม ทำอย่างไร ? หลายท่านคงเคยได้ยินเกี่ยวกับเรื่องของโรคไตมาแล้วและอาจเคยเห็นผู้ป่วยโรคไตซึ่งต้องรับประทานยาต่อเนื่องหรือต้องฟอกไต ซึ่งถ้าเข้าสู่กระบวนการอย่างหลังจะหมายถึงไตไม่สามารถทำหน้าที่ได้เหมือนเดิมแล้ว สร้างความทรมานต่อผู้ป่วยอย่างยิ่ง ทั้งยังต้องใช้เงินจำนวนมากเพื่อรักษาพยาบาล
ทว่าการแพทย์ในปัจจุบันก้าวหน้ามากจึงสามารถรักษาดูแลและยืดอายุผ้ปู ่วยโรคไตได้ยาวนานขึ้น พร้อมทั้งสิทธิในการรักษาพยาบาลหรือแม้กระทั่งการปลูกถ่ายไต เช่น หลักประกันสุขภาพ (30 บาท) ประกันสังคมสิทธิของราชการ เว้นกรณีผู้ป่วยที่ต้องใช้ยาซึ่งไม่ได้อยู่ในข้อกำหนด คนไข้จำเป็นต้องเสียค่าใช้จ่ายเอง
อาหารผู้สูงอายุที่มีปัญหาโรคไต
การแพทย์แผนไทยกล่าวถึง “ไต” (ปิหกัง หรือในพุทธศาสนาเรียกว่า วักกัง) เป็นอวัยวะหนึ่งในธาตุดิน (ปถวีธาตุ) มีอยู่สองข้าง ซ้าย – ขวา ติดไปทางด้านหลังส่วนของกลางหลัง มีหน้าที่กรองน้ำต่าง ๆ (อาโปธาตุ) ของร่างกาย และสังเกตการทำงานของไตได้จากการขับถ่ายปัสสาวะ (น้ำมูตร)
หลายคัมภีร์ (เนื้อเรื่องตำรา) ในการแพทย์แผนไทยกล่าวเกี่ยวกับความผิดปกติของปัสสาวะไว้ทั้งอาการปกติจนถึงอาการผิดปกติต่าง ๆ ทั้ง สี กลิ่น สิ่งที่ขับออกมากับปัสสาวะ เช่น เลือด น้ำดี นิ่ว เมือกมูกต่างๆ หรือแม้กระทั่งหนองและน้ำตาลหรือโปรตีนที่ปนมากับปัสสาวะ หรือลักษณะการขับปัสสาวะ เช่น ปัสสาวะขัด ขับกะปริบกะปรอย
อาการเหล่านี้บ่งบอกถึงความไม่ปกติของร่างกายทั้งอาจป่วยเป็นโรคอื่นอยู่เช่น เป็นกษัยปู (โรคกระเพาะที่มีความรุนแรง) ป่วยเป็นไข้ที่มีอาการรุนแรงหรือเป็นกษัยไตพิการเหล่านี้เป็นอาการของไตที่มีภาวะความเสื่อมจากการมีอายุมากขึ้นและไตนั้นเสื่อมตามสภาพ (ธรรมชาติ) หรือเสื่อมจากการป่วยเป็นโรค เช่น เบาหวานเรื้อรังจากยาหรือการรับประทานอาหารที่มีรสจัดมาก ๆ เป็นเวลานาน ทำให้ไตเสื่อมเร็วเพราะต้องกรองของเสียมากขึ้น
โดยเฉพาะอาหารที่มีรสเค็ม อาหารหมักดอง หรืออาหารปรุงแต่งสำเร็จต่าง ๆ หรือจากการรับประทานยารักษาโรคประจำตัวอยู่นานและไม่ระมัดระวังเรื่องอาหารก็ส่งผลให้ไตทำงานหนักและเสื่อมเร็วขึ้น บางครั้งทำให้บวมตามร่างกาย ปวดบริเวณกลางหลังเพียงแค่ใช้มือลูบหรือเคาะเบา ๆ ก็จะปวดสะดุ้ง ซึ่งต้องแยกจากอาการของกล้ามเนื้อหลังอักเสบ และมักมีปัสสาวะผิดปกติ เช่นขุ่น มีตะกอน เป็นฟอง มีกลิ่นฉุนผิดปกติหรือมีอาการบวมผิดปกติ ฯลฯ หากมีอาการเหล่านี้ควรเร่งปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจอาการและนำไปสู่การรักษาที่เหมาะสม
การรักษาโรคไตในแบบแพทย์แผนไทยมักใช้ยาที่มีฤทธิ์ช่วยขับปัสสาวะ เสริมการทำงานของไตหรือบำรุงไตและอวัยวะอื่นไปพร้อม ๆ กัน หรือจะใช้ยาที่ทำหน้าที่ขับความร้อนโดยขับปัสสาวะหรือการลดบวมต่าง ๆ หรือขับของเสียให้ออกทางน้ำมูตร (ปัสสาวะ) หรือบำรุงไตเป็นต้นทั้งนี้จะไม่ใช้วิธีดัวกล่าวในผู้ที่ต้องทำการฟอกไต เพราะต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์เฉพาะทางเพื่อประโยชน์ของคนไข้และป้องกันไม่ให้เกิดภาวะอันตราย
โดยสมุนไพรที่ใช้จะมีรสจืดเป็นส่วนใหญ่เพื่อช่วยขับปัสสาวะ เช่น ผักกาดน้ำ รากหรือตาไผ่ป่า ขลู่ ตำลึง เหง้าสับปะรดหญ้าหนวดแมว หรือสมุนไพร รสเปรี้ยว เพื่อช่วยขับปัสสาวะและรักษาดุลน้ำหรืออาโปธาตุของร่างกาย เช่น ดอกกระเจี๊ยบแดงเนื้อสับปะรดหรือสมุนไพรรสปร่า (เผ็ดร้อนน้อย) เพื่อรักษาสมดุลของธาตุไฟและธาตุลมที่ส่งเสริมให้การขับถ่ายต่าง ๆ ระบบการย่อยการเผาผลาญ การไหลเวียนเป็นปกติ เช่น ตะไคร้ หรืออาจใช้สมุนไพรที่มีรสเค็มเล็กน้อยเพื่อเสริมฤทธิ์ในการขับปัสสาวะและรักษาดุลของอาโปธาตุ สมดุลน้ำและเกลือแร่ อย่างโคกกระสุนที่ช่วยขับปัสสาวะ แก้ไตพิการ
ขอนำเสนออาหารช่วยป้องกันภาวะของโรคไต (โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ) และช่วยเสริมการขับปัสสาวะให้ดีเพราะประกอบด้วยโปรตีนและไขมันต่ำ ส่วนผลไม้ต่าง ๆ ก็ช่วยเสริมการทำงานของไตและขับปัสสาวะ เช่น สับปะรด กระเจี๊ยบแดง ตะไคร้ และยังช่วยควบคุมความดันโลหิต ชื่อเมนูว่า “หลากรสชาด (แดง)”
โดย : อาจารย์วันทนี ธัญญา เจตนธรรมจักร ผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์แผนไทย