ปัสสาวะเล็ด, โรคช้ำรั่ว

9 EASY WAYS หยุดปัญหา ปัสสาวะเล็ด อยู่หมัด

วิธีรับมือเมื่อเกิดปัสสาวะเล็ด  

1. ไม่ดื่มน้ำมากจนเกินไป การดื่มน้ำมากเกินไปอาจทำให้สมองบวม ไตทำงานหนัก และเกิดปัสสาวะเล็ดทางที่ดีหากอากาศไม่ร้อนมาก ควรดื่มน้ำ 30 - 50 มิลลิลิตรต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม นั่นคือ หากมีน้ำหนักตัว 60 กิโลกรัม ควรดื่มน้ำประมาณวันละ 2 ลิตร และไม่ควรดื่มปริมาณมากในครั้งเดียว  แต่ควรดื่มเฉลี่ยทั้งวันและงดดื่มน้ำก่อนเข้านอน

2. งดเครื่องดื่มที่ทำให้ปัสสาวะบ่อย เช่น เหล้า เบียร์ น้ำเย็น น้ำอัดลม น้ำหวาน ชา กาแฟ ควรหันมาดื่มน้ำสะอาดหรือน้ำสมุนไพรไม่หวานที่ช่วยดูแลระบบปัสสาวะ เช่น น้ำกระเจี๊ยบแดง น้ำเบอร์รี่

3. ลดน้ำหนัก หากน้ำหนักเกิน การลดน้ำหนักลงร้อยละ 5 - 10 ของน้ำหนักตัว ช่วยลดอาการปัสสาวะเล็ดได้ถึงร้อยละ 70

4. ฝึกรับมือกับความเครียด เพราะความเครียดทำให้ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะเล็ด

5. ระวังอย่าให้ท้องผูก เพราะท้องผูกจะเพิ่มแรงดันในช่องท้อง ทำให้ปัสสาวะเล็ด

ปัสสาวะเล็ด, โรคช้ำรั่ว, ท้องผูก
ปัสสาวะเล็ด, โรคช้ำรั่ว, ท้องผูก

6. หากเป็นโรคภูมิแพ้ โรคหลอดลม โรคปอด โรคหัวใจ มีอาการไอและจาม จะเพิ่มแรงดันในช่องอกและช่องท้อง ทำให้ปัสสาวะเล็ด ควรพบแพทย์เพื่อรักษา

7. ไม่ควรรอให้ปวดปัสสาวะมากๆ ในช่วงกลางวันควรปัสสาวะทุก 2 - 4 ชั่วโมง การมีน้ำปัสสาวะเต็มกระเพาะปัสสาวะทำให้เกิดปัสสาวะเล็ดได้

8. บริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานหรือขมิบอย่างสม่ำเสมอ หากทำถูกวิธีและต่อเนื่องเกิน 6 เดือน มีโอกาสหายขาด วิธีคือ เกร็งกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานเหมือนกลั้นอุจจาระให้สุดแรง นับ 1 - 10  จากนั้นผ่อนคลาย นับ 1 - 10 กลั้นและผ่อนรวมกันเป็น 1 เซต ทำอย่างน้อยวันละ 30 เซต วิธีเช็กง่ายๆ คือใช้นิ้วมือสอดเข้าไปในช่องคลอดระหว่างขมิบ ถ้ากล้ามเนื้อรัดนิ้วมือแสดงว่าทำถูกต้อง

9. ปรึกษาแพทย์ กรณีที่ดูแลตนเองแล้วไม่ดีขึ้นควรพบแพทย์ แพทย์อาจใช้เครื่องมือช่วยขมิบ ใช้ยาหรือใช้วิธีผ่าตัดรักษา

 

จาก คอลัมน์เปิดห้องหมอสูติ นิตยสารชีวจิต ฉบับ 429


บทความน่าสนใจอื่นๆ

ปัสสาวะ-อุจจาระ เพื่อนซี้ ชี้สุขภาพ

กระเพาะปัสสาวะ อักเสบเพราะ 4 ไลฟ์สไตล์เสี่ยง

ซัลซ่ากระเจี๊ยบแดง และสับปะรด ช่วยขับปัสสาวะ

ติดตาม ชีวจิต ในช่องทางต่างๆ ได้ที่

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.