ซีสต์รังไข่, รังไข่, มะเร็งรังไข่, โรคของผู้หญิง

เช็กอาการ ซีสต์รังไข่ ชนิดไหนยุบได้ ชนิดไหนใช่มะเร็ง

ซีสต์ทั้งสองจำพวกต่างกันดังนี้

ซีสต์ที่เกิดตามธรรมชาติ มักจะมีผิวบางหุ้มของเหลวซึ่งภายในเป็นน้ำใสมีขนาดไม่โต เส้นผ่านศูนย์กลางมักไม่เกิน 7 เซนติเมตร เกี่ยวข้องกับฮอร์โมนและระบบประจำเดือนตามปกติ สามารถยุบหายไปได้เองภายใน 3 - 6 เดือน

ส่วน ซีสต์ที่เป็นโรค มักไม่ยุบหายไปเอง ต้องรักษาด้วยยาหรือการผ่าตัด และต้องระวังซีสต์ที่เป็นมะเร็งรังไข่ หากไม่รักษาอาจเกิดอันตรายถึงชีวิต อย่างไรก็ตาม หากมีซีสต์รังไข่ต้องพบแพทย์เพื่อแยกว่าเป็นจำพวกไหน จะได้ให้การรักษาอย่างถูกต้อง

ในกรณีที่ถามมา ซีสต์ที่คุณเป็นน่าจะเป็นซีสต์ที่เกิดตามธรรมชาติ ซึ่งหากไม่ใช่ซีสต์ที่เกิดพร้อมกับการเจริญเติบโตของฟองไข่ ก็อาจจะเป็นซีสต์ที่เหลือค้างจากไข่ที่ตกไปแล้ว ซึ่งควรไปพบแพทย์เพื่อยืนยันโดยการตรวจวินิจฉัย

รังไข่, ซีสต์รังไข่, ซีสต์, มะเร็งรังไข่

สาเหตุของซีสต์ที่เกิดตามธรรมชาติ

มักเป็นไปตามสรีรวิทยา (Physiology) นั่นคือ แต่ละรอบเดือนของผู้หญิงจะมีฮอร์โมนที่หลั่งจากสมองมายังต่อมใต้สมอง และจากต่อมใต้สมองมากระตุ้นฟองไข่ในรังไข่ให้เจริญเติบโต โดยจะมีฟองไข่หนึ่งฟองที่ได้รับฮอร์โมนสูงสุด มีขนาดโตสุด ฟองไข่เหล่านี้จะเจริญเป็นซีสต์ขนาด 2 - 4 เซนติเมตร โดยภายในมีไข่อยู่ และเมื่อไข่ตกซีสต์ที่เหลือค้างจากไข่ที่ตกไปจะกลายเป็นซีสต์ที่สร้างฮอร์โมน (Corpus Luteum Cyst) ซึ่งมีขนาดต่างๆ กัน แต่ไม่โตมากกว่า 7 เซนติเมตรอาการของซีสต์ที่เกิดตามธรรมชาติ

ส่วนใหญ่ไม่ก่อให้เกิดอาการใด ๆ แต่มักตรวจพบโดยบังเอิญจากการตรวจภายใน อัลตราซาวนด์ หรือคอมพิวเตอร์สแกนช่องท้อง การรักษาคือ การเฝ้าดูทุก 3 - 12 เดือนว่าจะยุบไปหรือโตขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่ก็ยุบไป แต่ในรายที่มีอาการ มักเกิดจากซีสต์ที่มีขนาดใหญ่มากกว่า 4 - 5 เซนติเมตรขึ้นไป ซึ่งอาการ มีดังนี้ค่ะ

1. ปวดท้อง มักจะปวดถ่วง ๆ ที่ท้องน้อย ส่วนใหญ่เป็นช่วงไข่ตกหรือหลังมีประจำเดือนนานสองสัปดาห์

2. ประจำเดือนมาไม่ปกติ เช่น มาไม่ตรงรอบไม่สม่ำเสมอ

3. มีเลือดประจำเดือนผิดปกติ เช่น ออกมากกว่าเดิม น้อยกว่าเดิม

4. ในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉิน ซึ่งปกติไม่ค่อยเกิด เช่น ยกของหนัก กระทบกระเทือนหน้าท้อง มีเพศสัมพันธ์ อาจทำให้ซีสต์บิดขั้ว ซีสต์แตก เกิดอาการปวดท้องกะทันหัน หน้ามืดเป็นลม คลื่นไส้อาเจียน หากเกิดอาการผิดปกติแบบนี้ต้องไปพบแพทย์ค่ะการวินิจฉัยซีสต์รังไข่

แพทย์วินิจฉัยซีสต์รังไข่จากประวัติคนไข้ที่มีอาการปวดถ่วงท้องน้อยหรือคลำก้อนได้ การตรวจภายใน หากซีสต์มีขนาดโตเกิน 3 เซนติเมตร แพทย์มักคลำได้และสงสัยว่ามีซีสต์รังไข่ การตรวจโดยเครื่องอัลตราซาวนด์จะช่วยยืนยันการวินิจฉัยได้

 

 

 

 

<< อ่านต่อหน้าที่ 3 >>

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.