Check Top 5 โรคร้าย ทำคนทั่วโลกตายเยอะที่สุด
โรคร้าย ที่ทำคนตายเยอที่สุด มีโรคอะไรบ้าง
บ.ก.ยกเรื่องนี้มาจาก บทความของดร.ดีบอร่า วีเธอสปูน ที่เธอได้เก็บข้อมูลจาก World Health Organization (WHO) และตีพิมพ์ลงในเว็บไซต์แห่งหนึ่ง เมื่อปลายปีที่ผ่านมา เธอเก็บข้อมูลของปี 2015 และยกมาทั้งหมด 10 โรค ซึ่งรวมอัตราผู้เสียชีวิตทั้งหมดราว 54,000 ล้านคนทั่วโลก และ 68% ของผู้เสียชีวิตนั้น มีสาเหตุเกี่ยวข้องโดยตรงกับโรคทั้ง 10 ที่ดร.ดีบอร่ายกมา
โดย บ.ก. ก็เลือกเฉพาะโรคที่มีสถิติผู้ป่วยเยอะ ใกล้เคียงกันกับผู้ป่วยบ้านเรา ทั้งนี้ไม่ได้ขู่ให้กลัวอะไร แต่ต้องการให้ทุกคนตระหนักและระวังสุขภาพกันมากขึ้น เป็นเหมือนเครื่องเตือนใจให้ดูแลสุขภาพกันค่ะ เพราะโรคที่กำลังจะกล่าวถึงนั้น เป็นโรคที่ป้องกันได้ ด้วยการดูแลสุขภาพ ได้แก่
1. โรคหัวใจและหลอดเลือด
โดยปัญหาเกี่ยวกับหลอดเลือดที่พบผู้ป่วยมากที่สุดคือ หลอดเลือดที่นำเลือดไปเลี้ยงหัวใจนั้นตีบลง แม้ว่าแชมป์โลกเดิมของผู้ป่วยโรคนี้ อย่างสหรัฐอเมริกาและประเทศในแถบยุโรป จะสามารถลดจำนวนลงได้แล้ว แต่ผู้ป่วยในประเทศอื่นๆ ทั่วโลกกลับเพิ่มขึ้น จึงทำให้สถิติของโรคนี้ครองแชมป์โลก
อย่างไรก็ตามโรคนี้สามารถป้องกันได้ด้วย
– ลดความดันโลหิตลงบ้าง ทั้งนี้ก็ต้องลดความเครียด ลดการดื่มสุรา
– ลดคลอเรสเตอรอล ซึ่งวิธีการลดคลอเรสเตอรอลให้ได้ผลนั้น คือการเพิ่มวิตามินดี (เพราะวิตามินดีเป็นตัวพาคลอเรสเตอรอลไปทำหน้าที่ในผนังเซลล์ และเพิ่มการกินโอเมก้า 3 และโอเมก้า 6 เนื่องจากคลอเรสเตอรอลมีหน้าที่เพิ่มความยืดหยุ่นให้ผนังเซลล์ ฉะนั้นการที่มีคลอเรสเตอรอลในเลือดสูงนั้น แปลว่าหลอดเลือดเริ่มแข็งตัว)
– งดการสูบบุหรี่
– ลดการกินแป้งขาวและของหวาน
– ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
– รักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในระดับมาตรฐาน
2. โรคสโตรก
โรคนี้เกี่ยวข้องกับหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง เกิดตีบหรือตัน ทำให้สมองขาดออกซิเจน โรคนี้มีผลต่อระบบประสาทในร่างกาย เช่น มีอาการชา ความจำเสื่อม เดินไม่ได้ตามปกติ หรือมองเห็นไม่ได้ตามปกติ สโตรกสามารถทำให้เกิดโรคอัมพฤกษ์หรืออัมพาตได้ จากสถิติที่ดร.ดีบอร่าเก็บมา พบว่า 93% รู้ว่าอาการชาเฉียบเพลันที่เกิดขึ้นนั้นคือสโตรก แต่ไปพบหมอไม่ทัน มีแค่ 38% เท่านั้นที่สามารถไปพบแพทย์ได้ทัน
การป้องกันโรคนี้ ทำได้โดย
- ลดความดันโลหิต ทั้งนี้ก็ต้องลดความเครียด ลดการดื่มสุรา
- งดสูบบุหรี่
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
ทั้งนี้ หากเป็นผู้หญิง เป็นชาวอเมริกัน-แอฟริกัน มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคนี้ ต้องดูแลสุขภาพให้มากกว่ากลุ่มอื่น
3. โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ
โรคดังกล่าวได้แก่ โรคหวัด โรคปอดอักเสบ โรควัณโรค โดยโรคเหล่านี้เกิดจากเชื้อไวรัส และแบคทีเรีย (แบคทีเรียเริ่มพัฒนาสายพันธุ์ตนเอง จนก่อโรคทางเดินหายใจได้) ทั้งนี้อาการที่พบยังเหมือนกัน นั้นคือ ไอ จาม หายใจขัด มีเสียงหวีดในหน้าอก
นอกจากการหลีกเลี่ยงไปอยู่ในที่ที่มีผู้คนแออัด ปิดปากเวลาไปหรือจาม ล้างมือสม่ำเสมอแล้ว การกินอาหารสุขภาพ ออกกำลังกายเสมอ ลดเครียดลงบ้าง เพื่อภูมิคุ้มกันแข็งแรง ก็ช่วยป้องกันการติดเชื้อ ที่สามารถลุกลามจนถึงขั้นเสียชีวิตได้
ยิ่งไปกว่านั้น ควรฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ทุกปี หากมีอาการป่วยด้วยโรคหวัด ให้รีบพักผ่อนให้หายก่อนออกไปทำงานหรือทำกิจกรรมอื่นใด
4. โรคเรื้อรังที่มาจากความเสื่อม
ตามสถิติของดร.ดีบอร่า คือโรคมะเร็งปอดและเบาหวาน โดยพบผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดมากที่สุดคือ ประเทศในแถบเอเชียที่มีสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ เช่น อินเดีย ซึ่งยังให้เตาถ่านและเตาฟืนปรุงอาหารอยู่ นอกจากนี้ปัจจัยสำคัญของโรคมะเร็งปอดคือ การสูบบุหรี่ ทั้งสูบเอง และเป็น second hand smoker รวมทั้งการได้รับควันจากรถยนต์ ที่การเผาไหม้น้ำมันไม่สมบูรณ์ ทั้งนี้ในปี 2015 มีผู้เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งปอดถึง 4 ล้านคนทั่วโลก
ส่วนโรคเบาหวานนั้น สาเหตุของการเสียชีวิตมาจาก เบาหวาน ชนิดที่ 2 เนื่องมาจากตับอ่อนไม่ผลิตอินซูลิน เพราะผู้ป่วยบริโภคแป้งขาวและของหวานมากเกินไป และต่อเนื่องมายาวนาน ทำให้ตับอ่อนที่ควรผลิตอินซูลิน เพื่อย่อยแป้งและน้ำตาล เกิดอาการล้าและหยุดทำงาน
ฉะนั้นวิธีที่ง่ายที่สุดในการป้องกัน โรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 คือ ลดการกินแป้งขาว และของหวานลง โดยเพิ่มการกินไขมันดี เช่น ปลา ถั่วต่างๆ เพื่อให้ร่างกายใช้เป็นพลังงานแทนแป้งและน้ำตาล ทั้งนี้การย่อยพลังงานจากไขมันนั้น เกิดขึ้นที่ตับ ไม่ใช่ตับอ่อน (เหมือนการย่อยแป้งและน้ำตาล) ทั้งนี้เพื่อให้ตับอ่อนมีช่วงพัก และไม่เกิดอาการล้า และหยุดผลิตอินซูลิน
5. โรคอัลไซเมอร์
อาการเริ่มต้นของอัลไซเมอร์นั้นเหมือนกับโรคความจำเสื่อม ซึ่งผู้ที่อยู่รอบตัวมักคิดว่าเป็นเรื่องธรรมดาของผู้สูงอายุ โดยหารู้ไม่ว่า โรคอัลไซเมอร์นั้น ไม่ใช่แค่ทำให้ความจำลางเลือนเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการสูญเสียการควบคุมอารมณ์และจิตใจ นำไปสู่การมีพฤติกรรมแปลกประหลาดในช่วงท้ายของโรค ก่อนการเสียชีวิต
ฉะนั้น ให้รู้ไว้ตรงนี้เลยค่ะว่า 60-80 % ของผู้ที่มีอาการความจำเสื่อมนั้นเป็นโรคอัลไซเมอร์ วิธีการป้องกันโรคนี้อาจไม่สามารถทำได้อย่างชัดเจน แต่สามารถบอกได้ว่า ผู้ที่มความเสี่ยงโรคนี้คือ
- อายุมากกว่า 65 ปี
- มีประวัติผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ในครอบครัว
- เคยมีปัญหาเกี่ยวกับสมองมาก่อน
- เป็นผู้หญิง
- กินอาหารจำพวกแป้งขาวและของหวานมาตลอด และไม่ออกกำลังกาย
- ไม่บริโภคไขมันดี เช่น ปลา ถั่วต่างๆ
- มีชีวิตแปลกแยก ไม่เข้าสังคมมาเป็นระยะเวลานาน
บทความน่าสนใจอื่นๆ
NEW YEAR RESOLUTION โปรแกรม ล้างพิษรับปีใหม่