ขี้น้อยใจ
ใครๆ ก็เคยน้อยใจกันทั้งนั้น แต่หากคุณผู้อ่านท่านใดที่มักจะเก็บทุกสิ่งทุกอย่างมาน้อยใจ หรือรู้สึกว่าตัวเองต่ำต้อยด้อยค่าอยู่บ่อยๆ จนแทบจะกลายเป็นกิจวัตรประจำวัน คงต้องคอยระวังโรคหัวใจถามหา
เพราะข้อมูลจากมหาวิทยาลัยคอลเลจ ลอนดอน (University College London) ประเทศอังกฤษ ได้ทำการศึกษาวิจัยพบว่า ผู้ที่รู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจและอาจหัวใจวายง่ายกว่าคนทั่วไป
การศึกษาครั้งนี้มีการสอบถามกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นข้าราชการที่ทำงานให้รัฐบาลอังกฤษ จำนวน 8,000 คน ปรากฏว่า กลุ่มตัวอย่างที่เห็นด้วยกับประโยคที่ว่า “ผม / ดิฉันมีความรู้สึกว่าตัวเองได้รับการปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม” จะมีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจสูง เนื่องจากความไม่พอใจที่ไม่ได้รับสิ่งต่างๆ ตามความคาดหวังจนต้องเก็บไปทุกข์ คิดมาก และเกิดความเครียดตามมาจึงส่งผลเสียต่อการทำงานของหัวใจค่ะ

ชอบคิดลบ
นิสัยสุดเสี่ยงในข้อสุดท้ายที่อันตรายไม่แพ้ข้ออื่น คือ การชอบคิดลบ มองโลกใบนี้เป็นสีดำมืดไปหมด จนบางคนอาจถึงขั้นคิดไปเองว่าชีวิตของเราช่างไร้ความสุขเสียจริงๆ คนที่ชอบคิดลบแบบนี้จึงเกิดความเครียดและซึมเศร้าได้ง่าย จนเป็นเหตุให้หัวใจต้องทำงานหนักขึ้น
ดังที่วารสาร ไซโคโลจิคอล บูลเลติน (Psychological Bulletin) ระบุถึงงานวิจัยชิ้นหนึ่งซึ่งกล่าวว่า การมองโลกในแง่ดีช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจได้ถึง 50 เปอร์เซ็นต์ คนที่ใช้ชีวิตอย่างมีความสุขจึงมักจะมีสุขภาพดีตามไปด้วย ซึ่งตรงข้ามกับคนที่ชอบมองโลกในแง่ร้าย เพราะนอกจากคนกลุ่มนี้จะมีหน้าตาหมองหม่นไม่สดใสแล้ว ทัศนคติที่เป็นลบยังส่งผลให้เกิดความเครียดง่ายและทำให้หัวใจทำงานผิดปกติ
ผลวิจัยยังอธิบายเพิ่มเติมว่า การหัวเราะที่ออกมาจากใจจริงบ่อยๆ ยังมีส่วนช่วยกระตุ้นการไหลเวียนเลือดที่หัวใจให้ดียิ่งขึ้นดังนั้น ผู้ที่มักจะคิดลบจนไม่ค่อยได้หัวเราะจึงเท่ากับเป็นการทำให้หัวใจอ่อนแอลงในทางอ้อมด้วย จึงยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจค่ะ
จาก คอลัมน์เรื่องพิเศษ นิตยสารชีวจิต ฉบับ 344 (1 กุมภาพันธ์ 2556)
บทความน่าสนใจอื่นๆ
4 อาการ เสี่ยงโรคหัวใจ ภัยใกล้ตัวคนทำงาน
วิธีดูแลหัวใจให้แข็งแรง ด้วยศาสตร์แผนจีน