ไต, อาหารมังสวิรัติ, กินรักษาไต, โรคไต

5 เทคนิคกินถนอมไต แม้กินยามานาน ก็ไม่หวั่น

กินรักษาไต แม้กินยามานาน

กินรักษาไต เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมากในไลฟ์สไตล์ของคนเมืองที่เร่งรีบ เพราะถ้ากินผิดจะก่อให้เกิดโรคยอดฮิตอย่างโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และโรคมะเร็ง ซึ่งผู้ป่วยเหล่านั้นแทบจะต้องกินยาแทนข้าวเพื่อรักษาโรค และนั่นทําให้เสี่ยงภาวะไตวายได้ง่ายๆ

เราจึงสรรหาวิธีล้างพิษไตแบบง่าย ๆ  กินเพื่อรักษาไต ที่จะทําให้คนที่จําเป็นต้องกินยามากได้หมดห่วงไปอีกเปลาะ

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิงธัญญารัตน์ ธีรพรเลิศรัฐ อายุรแพทย์โรคไต โรงพยาบาลสถาบันโรคไตภูมิราชนครินทร์ อธิบายหน้าที่ของไตว่า

“ไตมีหน้าที่ขับของเสียในร่างกายซึ่งเกิดจากการเผาผลาญอาหารที่กินเข้าไป รวมทั้งยาต่างๆ โดยสารพิษที่ปนเปื้อนจะถูก ทําลายและขับออกทางตับและทางไตเป็นส่วนใหญ่

ดังนั้นถ้าร่างกายได้รับอาหารหรือยาเป็นจํานวนมาก รวมทั้งยาที่มีฤทธิ์ข้างเคียงทําลายไต เช่น ยาแก้ปวดอย่างแรงที่ชื่อว่า เอ็นเสด (NSAIDs) จะส่งผลให้ไตเสื่อมลงเรื่อยๆและอาจเร็วกว่าปกติจนทําให้ของเสียไม่ถูกขับออก”

Easy Ways
ถนอมไต แม้กินยามาก

เพราะหลายคนมีโรคประจําตัวและต้งกินยาในปริมาณมาก คุณหมอธัญญารัตน์แนะนําว่ายังมีวิธี ที่จะช่วยรักษาไตของคุณได้

  • ใช้ยาเท่าที่จําเป็น คุณหมอธัญญารัตน์กล่าวว่า ผู้ป่วยทุกคนควรใช้ยาเท่าท่ี จําเป็นเพราะแพทย์จะให้ยาตามหลักการรักษาโรค ซึ่งกําหนด ระยะเวลามาแล้วว่าผู้ป่วยต้องกินยานานเท่าไรจึงเหมาะสมกับ อายุ เพศ และการทํางานของไต หากแอบซื้อยากินเองหรือ เพิ่มปริมาณยาด้วยตนเอง ผู้ป่วยอาจได้รับยาเกินขนาดโดยไม่จําเป็น ไตจึงต้องทํางานหนักขึ้น และยังมีโอกาสเสี่ยง ได้รับผลข้างเคียงของยาเพิ่มขึ้น

นอกจากนี้ผู้ป่วยที่เห็นว่าอาการป่วยของตนดีขึ้นแล้วและ หยุดยาเองถือเป็นการกระทําที่เสี่ยงต่อสุขภาพ เพราะร่างกาย อาจเกิดการดื้อยา โรคเก่าอาจกลับมาเป็นซ้ำจึงควรหยุดยา ภายใต้ดุลยพินิจของแพทย์

ปัสสาวะ
Urine sample-series of tubes with yellow coloring gradient
  • ดื่มน้ำมาก ๆ  เพราะไตมีหน้าที่ขจัดสารพิษที่เข้าสู่ร่างกาย คุณหมอ ธัญญารัตน์กล่าวว่า เราควรดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ วันละ 8 – 10 แก้ว (หากไม่มีข้อห้ามจากแพทย์ในการจํากัดปริมาณน้ำ) เพื่อช่วยให้ร่างกายขับถ่ายของเสียได้ดีขึ้น การดื่มน้ำน้อย ส่งผลเสียต่อระบบเผาผลาญ ทําให้มีของเสียคั่งในร่างกาย ไต จึงต้องทํางานหนัก

นอกจากนี้ผู้ป่วยต้องได้รับการตรวจด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งต้องฉีดสารรังสีที่ออกฤทธิ์ทำลายไต คุณหมอธัญญรัตน์ แนะนําว่า ควรดื่มน้ํามากกว่าปกติทั้งก่อนและหลังการตรวจ เพราะไตจะต้องทําหน้าที่ทําลายสารทึบรังสีออกจากร่างกาย ดังนั้นน้ําจะช่วยให้ไตทํางานดีข้ึน

  • ออกกําลังกาย ควรออกกําลังกายอย่างสม่ำเสมอตามประสิทธิภาพของ ร่างกายและหัวใจเพื่อให้โลหิตไหลเวียนทั่วร่างกาย จะส่งผลให้ ไตทํางานได้ดียิ่งขึ้น หากไตขาดเลือดก็จะทําให้ไตทํางานได้ ไม่เต็มที่ ของเสียหรือยาที่เรากินเข้าไปก็จะยิ่งตกค้าง

 

  • นอนหลับให้เพียงพอ คุณหมอธัญญารัตน์อธิบายว่า ใครที่กินยาเป็นประจําต้อง พักผ่อนอย่างเพียงพอ เพื่อให้ร่างกายสดชื่น กระปรี้กระเปร่า ไม่อ่อนเพลีย และมีภูมิต้านทานต่อโรคต่างๆ ซึ่งเวลาของการนอนก็มีส่วนช่วยให้ไตท่ีต้องทํางานหนักได้ พักฟื้น

โดยการนอนในตอนกลางคืนของวัยสูงอายุอาจไม่ต้อง มากเทียบเท่ากับวัยทํางาน ผู้สูงวัยควรแบ่งเวลาตอนกลางวัน นอนราว 1 – 2 ชั่วโมง แต่ท้ังนี้การนอนในเวลากลางคืนจะเป็น เวลาที่ดีที่สุดสําหรับไตของคนทุกเพศทุกวัย

  • กินบํารุงไต สําหรับผู้ที่กินยาในปริมาณมาก คุณหมอธัญญรัตน์ แนะนํา ให้กินอาหารรสจืด รวมทั้งงดและลดอาหารรสเค็มจัด หวานจัด มันจัด ซึ่งการกินผัก ผลไม้ และเนื้อปลา จะช่วยให้ไต ไม่ต้องทํางานหนักเพื่อขจัดของเสียในร่างกาย

อ่านต่อ>> ยาเสี่ยงไตวาย

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.