กู้ชีพ, ผู้ป่วยหัวใจวาย, ภาวะหัวใจขาดเลือด, CPR , กู้ชีพด้วยการกดหน้าอก, หัวใจ

เทคโนโลยีใกล้ตัว กู้ชีพ ผู้ป่วยหัวใจวาย เฉียบพลัน

เทคโนโลยีใกล้ตัว กู้ชีพ ผู้ป่วยหัวใจวาย เฉียบพลัน

กู้ชีพ ผู้ป่วยหัวใจวาย บ่อยครั้งที่เราได้ยินข่าวหรือพบเห็นการเสียชีวิต จากภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันของผู้ป่วย ซึ่งหลายครั้ง หากได้รับการช่วยเหลืออย่างทันท่วงที และถูกต้องอาจสามารถช่วยชีวิตผู้ป่วยให้รอดพ้นจากเงื้อมมือมัจจุราชได้

ในต่างประเทศ ให้ความสำคัญเรื่องการช่วยเหลือผู้ป่วยในกลุ่มดังกล่าว โดยมีการติดตั้งอุปกรณ์ช่วยชีวิตไว้ตามพื้นที่สาธารณะ อีกทั้ง มีการฝึกสอนให้ประชาชนรู้วิธีกู้ชีพและโทร.แจ้งเหตุให้ทันท่วงที จึงเพิ่มอัตรารอดชีวิตของผู้ป่วยภาวะฉุกเฉินเช่นนี้ได้

ชีวจิต มีโอกาสได้พูดคุยกับ ดอกเตอร์ นายแพทย์ไพโรจน์ บุญศิริคำชัย รองเลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์ไชยพร ยุกเซ็น อาจารย์ประจำภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ถึงแนวทางช่วยเหลือผู้ป่วยในกลุ่มดังกล่าว ดังนี้

หัวใจวายเฉียบพลัน, กู้ชีพ, ผู้ป่วยหัวใจวาย, หัวใจ, ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

 

GLOBAL PROTOCOL ความสำคัญของเครื่องเออีดีในระดับสากล

คุณหมอไพโรจน์กล่าวว่า ในต่างประเทศ โดยเฉพาะในประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา กลุ่มสหภาพยุโรป ญี่ปุ่น มีการติดตั้งเครื่องฟื้นคลื่น หัวใจแบบอัตโนมัติ (Automated External Defibrillator) หรือเครื่องเออีดี ไว้ตามสถานที่ สาธารณะ เช่น สถานีรถไฟ สนามบิน บนเครื่องบิน บนรถไฟ รวมถึงสถานที่ที่มีผู้คนจำนวนมาก เช่น สถานที่ราชการ ห้างสรรพสินค้า โรงเรียน โรงงาน สนามแข่งขันวิ่งมาราธอน เพื่อเพิ่มโอกาสการกู้ชีพ ผู้ป่วยหมดสติจากภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน ก่อนที่รถพยาบาลจะมาถึงที่เกิดเหตุและรับตัวผู้ป่วย ไปรักษาในขั้นสูงต่อไป

คุณหมอไพโรจน์อธิบายต่อว่า เครื่องเออีดีเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ แบบพกพาซึ่งสามารถวินิจฉัยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่เป็นอันตรายถึงชีวิตโดย อัตโนมัติ ได้แก่ ภาวะหัวใจห้องล่างเต้นแผ่วระรัวและภาวะหัวใจห้องล่าง เต้นเร็วผิดปกติ และให้การรักษาด้วยการช็อกไฟฟ้ากระตุกหัวใจ โดยใช้ กระแสไฟฟ้าหยุดรูปแบบการเต้นของหัวใจผิดจังหวะ ช่วยให้หัวใจกลับมา เต้นใหม่ในจังหวะที่ถูกต้องได้

คุณหมอไชยพรระบุว่า ปัจจุบันในประเทศไทยมีการติดตั้งเครื่องเออีดี ตามห้างสรรพสินค้า สถานีรถไฟฟ้า และสนามบินมากขึ้น แต่คนส่วนใหญ่ ก็ยังไม่ทราบวิธีใช้เครื่องเออีดี รวมถึงไม่ทราบว่าต้องใช้วิธีการช่วยฟื้นคืนชีพ หรือการทำซีพีอาร์ (CPR – Cardiopulmonary Resuscitation) ที่เรียกให้เข้าใจง่ายว่าการกดหน้าอก ร่วมกับการใช้เครื่องเออีดีอย่างไร

 

 

<< อ่านต่อหน้าที่ 2 >>

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.