กู้ชีพ, ผู้ป่วยหัวใจวาย, ภาวะหัวใจขาดเลือด, CPR , กู้ชีพด้วยการกดหน้าอก, หัวใจ

เทคโนโลยีใกล้ตัว กู้ชีพ ผู้ป่วยหัวใจวาย เฉียบพลัน

CPR IN 4 MINUTES กู้ชีพหัวใจวายก่อนสายเกินแก้

คุณหมอไชยพรย้ำว่า กรณีที่พบผู้ป่วยนอนหมดสติและไม่หายใจ ต้องเร่ง กู้ชีพ โดยการกดหน้าอกให้เร็วที่สุด หากกู้ชีพได้ทันทีจะช่วย ให้หัวใจกลับมาเต้นเป็นปกติและป้องกันภาวะสมองขาดออกซิเจนได้

ดังนั้น เมื่อพบผู้ป่วยหมดสติ ให้ปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไปนี้

1. เรียกชื่อ โดยการใช้มือตบที่บ่าแล้วเรียกผู้ป่วย ถ้าผู้ป่วย รู้สึกตัว ให้จัดท่านอนตะแคง แต่ถ้าเรียก 2 – 3 ครั้งแล้วผู้ป่วยยัง ไม่ตอบสนอง ให้ทำตามข้อถัดไป

2. หาสัญญาณชีพ วิธีที่ง่ายที่สุดคือ ตรวจดูว่ายังหายใจหรือไม่ หากพบว่าไม่หายใจ ไม่รู้สึกตัว หรือหายใจเฮือก ต้องรีบกดหน้าอก

3. โทร.แจ้ ง1669 กรณี ที่ ผู้ป่วยหมดสติให้รีบโทร.แจ้งเพื่อเรียกรถพยาบาลมารับ โดยระบุอาการของผู้ป่วยและสถานที่เกิดเหตุ หลังจาก โทร.แจ้งแล้วให้รีบลงมือกู้ชีพผู้ป่วยทันทีและแจ้งคนรอบข้างให้ช่วยหา เครื่องเออีดีมาด้วย โดยในขณะที่รอรถพยาบาลและเครื่องเออีดี ให้ลงมือกดหน้าอกทันที

กู้ชีพ, ผู้ป่วยหัวใจวาย, ภาวะหัวใจขาดเลือด, CPR , กู้ชีพด้วยการกดหน้าอก, หัวใจ
การกู้ชีพผู้ป่วยหัวใจวายอย่างทันท่วงที ผู้ป่วยจะมีโอกาสรอดชีวิตสูง

CPR : STEP BY STEP ขั้นตอน กู้ชีพ ด้วยการกดหน้าอก

คุณหมอไชยพรอธิบายว่า ให้ทำตามขั้นตอนดังนี้

1. จัดท่าผู้ป่วย ให้นอนหงายราบบนพื้นแข็ง โดยให้ผู้ช่วยเหลือนั่งคุกเข่าอยู่ด้านข้างของผู้ป่วย

2. กรณีที่ทำซีพีอาร์ไม่เป็น สามารถใช้วิธีโทร.แจ้ง 1669 แล้วให้เจ้าหน้าที่บอกขั้นตอนการทำซีพีอาร์และ ลงมือทำตามคำอธิบายของเจ้าหน้าที่ไปได้เลย

3. วางตำแหน่งมือ วางส้นมือข้างหนึ่งครึ่งล่าง ของกระดูกหน้าอกซึ่งเป็นกระดูกที่หนาที่สุด แล้ววาง มืออีกข้างประสานกันไว้ แขนสองข้างเหยียดตรง ให้แขนตั้งฉากกับหน้าอกผู้ป่วย

4. กดหน้าอก โดยกดตรงกึ่งกลางหน้าอก (ไม่ใช่ หน้าอกด้านซ้ายเพราะอาจทำให้ซี่โครงหักได้) ด้วยอัตรา 100 – 120 ครั้งต่อนาที โดยให้ส้นมือสัมผัสกับหน้าอก ของผู้ป่วยตลอดเวลา ต้องกดลงให้ลึกอย่างน้อย 5 เซนติเมตรหรือ 2 นิ้วครึ่ง ตามจังหวะเพลง Sugar ของวง Maroon 5 ทำไปเรื่อยๆ จนกว่าผู้ป่วย จะรู้สึกตัว หรือทำไปสัก 2 นาทีแล้วให้คนอื่นมาทำ ซีพีอาร์สลับกัน

ทั้งนี้คุณหมอไพโรจน์อธิบายว่า การกดหน้าอก นั้นต้องการให้น้ำหนักของการกดลงไปที่หัวใจเพื่อ ช่วยบีบเลือดออกมา ขณะที่ปล่อยมือขึ้น เลือดจะไหล เข้ามาในหัวใจ สาเหตุที่ต้องกดด้วยอัตรา 100 – 120 ต่อนาที เนื่องจากถ้าเร็วกว่านี้เลือดจะไหลเข้าหัวใจไม่ทัน ทำให้ปริมาณเลือดไม่มากพอที่จะไปเลี้ยงสมองได้ แต่ ถ้ากดหัวใจด้วยอัตราที่ช้ากว่านี้ก็จะไม่ทันกาล

“การบีบไล่เลือดด้วยการกดหัวใจในอัตราสม่ำเสมอ เช่นนี้ จะทำให้มีออกซิเจนขึ้นไปเลี้ยงเซลล์สมอง ระหว่างที่รอรถพยาบาลมาช่วยชีวิตในขั้นสูง เช่น ใส่ท่อช่วยหายใจ ให้น้ำเกลือ หรือให้ยาฉีดกระตุ้น หัวใจทางเส้นเลือดต่อไป

“ถ้าการกดหน้าอกได้ผล แม้เวลาจะผ่านไป 30 นาที หรือ 1 ชั่วโมง ผู้ป่วยจะยังมีโอกาสรอดชีวิต แต่ถ้า ไม่กดหัวใจภายใน 4 – 8 นาที หลังหมดสติ เมื่อไม่มี เลือดไปเลี้ยงสมองและหัวใจ อวัยวะดังกล่าวก็จะขาดออกซิเจน ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ครับ”

 

AED : STEP BY STEP ขั้นตอนการใช้เครื่องเออีดี

คุณหมอไชยพรอธิบายว่า เมื่อได้เครื่อง เออีดีมาแล้ว ให้ปฏิบัติตามขั้นตอนดังนี้

1. ตรวจสอบก่อนติดเครื่องเออีดี ตรวจดู ว่าไม่มีโลหะอยู่บนร่างกายผู้ป่วย เช่น ตะขอ เสื้อชั้นใน ตะขอกางเกง กระดุมเสื้อ ถ้ามีต้อง ถอดออก กรณีที่ร่างกายผู้ป่วยเปียกน้ำต้องเช็ด ให้แห้ง

2. ติดเครื่องเออีดีที่ตัวผู้ป่วย เมื่อได้เครื่อง เออีดีมาแล้วให้ติดแผ่นไฟฟ้าบริเวณใต้กระดูก ไหปลาร้าด้านขวาและชายโครงด้านซ้าย จากนั้น ห้ามสัมผัสตัวผู้ป่วย

3. ปฏิบัติตามเครื่องเออีดี ปัจจุบันเครื่อง เออีดีมีระบบอธิบายวิธีใช้งานด้วยเสียงภาษา ไทย เมื่อติดแผ่นไฟฟ้าที่ตัวผู้ป่วยแล้ว เครื่อง จะวิเคราะห์คลื่นหัวใจของผู้ป่วย หากเครื่อง สั่งให้ช็อกไฟฟ้า ให้กดปุ่มช็อก จากนั้นให้ ผู้ช่วยเหลือกดหน้าอกผู้ป่วยต่อทันที

4. ถ้าเครื่องไม่สั่งให้ช็อกไฟฟ้า ให้กดหน้าอก ต่อไปจนกว่าจะมีทีมกู้ชีพมาช่วยเหลือผู้ป่วย และนำส่งโรงพยาบาลต่อไป

จากนั้นคุณหมอไพโรจน์ได้อธิบายเสริมว่า

“เมื่อเปิดกล่องเครื่องเออีดีออกมา ตัว เครื่องจะบอกวิธีใช้ด้วยเสียงภาษาไทย ถ้า ปฏิบัติตามขั้นตอนที่เครื่องแนะนำจะไม่เกิด อันตรายกับผู้ป่วย เพราะเครื่องจะตรวจคลื่น หัวใจก่อน ถ้าคลื่นหัวใจปกติ เครื่องจะไม่ ช็อกไฟฟ้า ถ้าคลื่นหัวใจไม่มี เป็นเส้นเรียบๆ เครื่องก็จะไม่ช็อกไฟฟ้าเช่นกันครับ

“การเต้นของหัวใจเกิดจากสัญญาณที่ออก มาจากสมองและระบบประสาท ทำให้เกิด การเต้นของหัวใจเป็นจังหวะ ถ้าสัญญาณนี้ เสียไปจะทำให้หัวใจเต้นผิดปกติ วิธีแก้คือ ระหว่างที่ยังไม่มีสัญญาณไฟฟ้ากลับคืนมาทำให้ หัวใจเต้นตามปกติ ต้องรีบกดหัวใจร่วมกับ การใช้เครื่องเออีดีกระตุกหัวใจให้สัญญาณ ไฟฟ้าหัวใจกลับคืนมา

“ถ้าใช้เครื่องเออีดีแล้วสัญญาณการเต้น ของหัวใจกลับมาก็ไม่ต้องกดหัวใจต่อ แต่ถ้าใช้ เครื่องช็อกไฟฟ้าแล้วสัญญาณการเต้นของหัวใจ ไม่กลับมา ก็ต้องกดหัวใจต่อไปจนกว่ารถ พยาบาลจะมารับตัวผู้ป่วย”

ทั้งนี้คุณหมอไพโรจน์ทิ้งท้ายว่า การ ช่วยชีวิตผู้ป่วยฉุกเฉินจำเป็นต้องได้รับข้อมูล ที่ถูกต้องและฝึกฝนอยู่เสมอ จึงจะสามารถ กู้ชีพผู้ป่วยได้อย่างปลอดภัย

 

 

<< อ่านต่อนหน้าที่ 3 >>

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.