ป้องกันโควิด

คนอ้วน กับการดูแลตัวเอง ป้องกันโควิด

คนอ้วนต้อง ป้องกันโควิด เป็นอย่างดี เพราะเป็นแล้วรุนแรงกว่าใคร

ในช่วงที่โควิดระบาด ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงมีด้วยกันหลายกลุ่ม ที่กลุ่มที่ต้องดูแลอย่างใกล้ชิด คือ กลุ่มผู้สูงอายุ ผู้ป่วย 7 โรคเรื้อรัง และกลุ่มผู้ป่วยโรคอ้วน ตอนนี้หลายคนอาจสงสัยว่า โรคอ้วนแล้วไปเกี่ยวอะไรกับโควิด เพราะอ้วนไม่ใช่เรื่องปอดสักหน่อย วันนี้เรามาดูกันค่ะ

 

“อ้วน” แค่ไหนที่เรียกว่าผู้ป่วยโรคอ้วน 

ในตอนนี้ (8 สิงหาคม 2564) เกณฑ์เพื่อใช้คัดกรองการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 จะอยู่ที่ ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากกว่า 100 กิโลกรัมขึ้นไป หรือมีค่าหรือ BMI มากกว่า 35 กก/ตรม. จะถือเป็นกลุ่มผู้ป่วยโรคอ้วน

 

ทำไมอ้วนแล้วเป็นหนักกว่าใคร 

ในปกติแล้วกลุ่มคนอ้วน เป็นกลุ่มที่มีภูมิคุ้มกันน้อยกว่ากลุ่มคนทั่วไปอยู่แล้ว ทำให้เสี่ยงต่อการรับเชื้อได้ง่ายกว่า รวมไปถึงว่าเม็ดเลือดขาวอ่อนแอฆ่าเชื้อโรคได้น้อยกว่า นอกจากนั้นแล้วผู้ป่วยโรคอ้วน มักมีโรคเรื้อรังอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ซึ่งโรคเหล่านี้ทำให้เกิดการอักเสบของหลอดเลือดและอวัยวะต่างๆ  เมื่อได้รับเชื้อก็จะทำให้อวัยวะต่างๆ อักเสบเพิ่มมากขึ้น ทำให้ระบบต่างๆ เสียหายได้

ผู้ป่วยโครอ้วน มีภาวะความจุปอดน้อยกว่าคนทั่วไป เพราะช่องท้องดันช่องอกให้ขยายได้ยาก ในยามที่เชื้อลงปอดทำให้ปอดทำงานได้น้อยกว่าคนปกติ จึงทำให้ความรุนแรงมากกว่าคนทั่วไป

คนอ้วน โควิด

ป้องกันโควิด ที่ดี คือดูแลร่างกาย

การดูแลร่างกายให้น้ำหนักกลับมาอยู่ในเกณฑ์ปกติจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ซึ่งสิ่งที่จะช่วยได้คือเรื่องของการควบคุมอาหารที่ไม่มากไป ไม่น้อยเกินไป และระมัดระวังเรื่องแป้ง น้ำตาล และไขมัน นอกจากนั้นการออกกำลังกายก็มีส่วนอย่างมากในการ ป้องกันโควิด โดยจะใช้สูตร FITT

 

FITT 

  • Frequency ความถี่ในการออกกำลังกาย ควรออกกำลังกายสัปดาห์ละ 3-5 วัน เพื่อให้ได้ความต่อเนื่อง 
  • Intensity ระดับความเหนื่อยในการออกกำลังกาย ควรออกกำลังกายให้เหนื่อยในระดับที่ หัวใจเต็นเร็วขึ้น หายใจเร็วขึ้น แต่ยังสามารถพูดเป็นประโยคสั้นๆ ได้ เพราะหากไม่เหนื่อยเลยก็อาจไม่เพียงพอ
  • Time ระยะเวลาที่ใช้ออกกำลังกาย ในแต่ละวันควรออกำกลังกายต่อเนื่องให้ได้อย่างน้อย 30 นาที หรืออย่างน้อย 10 นาที 3 ครั้ง
  • Type ชนิดของการออกกำลังกาย ชนิดการออกกำลังกาย ซึ่งควรออกกำลังกาย 3 อย่างควบคู่กันไปได้แก่
    • Cardio เพื่อให้หัวใจและปอดทำงานมากขึ้น เช่นการวิ่ง
    • Muscle Strength การใช้แรงต้าน เสริมกล้ามเนื้อ เช่น ยกเวท ซิทอัพ
    • Stretching การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ เพื่อผ่อนคลาย ลดการบาดเจ็บของข้อต่อ ทำให้เอ็นและกล้ามเนื้อแข็งแรงมากขึ้น เช่น โยคะ

 

ข้อมูล กรมอนามัย

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

คำแนะนำ ทำกิจกรรมทางศาสนา ในช่วง โควิดระบาด
รักษาโควิด-19 ด้วยการนอนคว่ำ ช่วยผู้ป่วยได้อย่างไร
คำแนะนำวิธีใช้ “ฟ้าทะลายโจร” กับโรคโควิด พร้อมข้อควรระวัง

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.