วิธีแก้ซึมเศร้า + อยากฆ่าตัวตาย
คำถาม
รู้สึกเหมือนโลกหล่นทับ เครียดจนอยากฆ่าตัวตายเรื่อยๆ ไม่อยากเจอใคร อยากไปให้พ้นๆ จากสังคมนี้ เพราะต้องช่วยเหลือเพื่อนสนิทในครอบครัวคนเดียว ที่อ้วนเดินไม่ไหวไปโน่นมานี่ (แต่ก็ยังกินเบียร์อยู่ น่าโมโหมาก) ซึ่งทำให้ฉันหงุดหงิดใจมาก
บ.ก.ขอหาคำตอบให้
ขออนุญาตยกคำถามของเพื่อนรุ่นพี่วัย 50 ปีคนหนึ่งของบ.ก. มาตอบในที่นี้ เพราะคิดว่าอารมณ์หงุดหงิดใจ กังวล และมีภาวะซึมเศร้าอย่างนี้ เป็นสถานการณ์ร่วมของคนหลายคน โดยเฉพาะเมื่อบ.ก.ได้พบเพื่อนรุ่นพี่คนนี้ และเห็นว่า เขาติดน้ำหวานมาก กินน้ำหวานเป็นน้ำดื่มประจำวันเลย
ความจริงความรู้สึกไม่สบายจิตไม่สบายใจ ทั้งที่เป็นอาการธรรมดาของคนทำงานทั่วไป ซึ่งมีเรื่องให้คิดให้แก้ปัญหาตลอดเวลา และที่เป็นอาการเครียดวิตกกังวลเรื้อรัง จนกลายเป็นภาวะซึมเศร้า เหล่านี้มีสาเหตุแตกต่างกันในแต่ละราย และบ.ก.จะไม่ขอพูดถึงตอนนี้
แต่สิ่งที่ต้องการพูดถึงคือ ภาวะติดการบริโภคของหวาน ซึ่งเคยพบเห็นหลายคนมาหลายคนแล้วว่า จะเป็นคนไม่ค่อยมีความสุข และมีอารมณ์แปรปรวน โดยเมื่อย้อนมารื้อค้นวิชาความรู้ที่เรียนมาจากกูรูต้นตำรับชีวจิต ดร.สาทิส อินทรกำแหง ก็จะพบว่ามีโรคร้ายที่เกี่ยวกับการบริโภคน้ำตาลจริงๆ ชื่อ โรคไฮโปไกลซีเมีย
เริ่มต้น เราเช็คอาการของตนเองดูว่า เข้าข่ายโรคนี้หรือไม่
ความผิดปกติทางร่างกาย
- อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
- ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ
- นอนไม่หลับ
- เหงื่อแตกบ่อยๆ
- มือสั่น
- ปวดกล้ามเนื้อ ปวดหลัง
- เป็นตะคริวบ่อย
- มีอาการกระตุก
- คันตามผิวหนัง
- หน้าร้อนผ่าวบ่อยๆ
- มีอาการภูมิแพ้
- มือเท้าเย็น
- เนื้อตัวชาบางครั้ง
- การทรงตัวไม่ดี
ความผิดปกติของระบบต่างๆ
- ท้องอืด ท้องเฟ้า
- ปากแห้ง คอแห้ง
- เบื่ออาหาร
- อยากกินของหวาน
- หิวอย่างรุนแรง ก่อนถึงมื้ออาหาร
- ถ่ายอุจจาระผิดปกติ
- ถ่ายปัสสาวะผิดปกติ
- หายใจไม่ค่อยออก
- ปากและลมหายใจมีกลิ่นผิดปกติ
- หัวใจเต้นผิดปกติ
- เป็นลมบ่อยๆ
- อ้วน น้ำหนักเกิน
- กามตายด้าน
ความผิดปกติทางจิตและระบบประสาท
- รู้สึกเบื่อหน่อย ซึมเศร้า
- ฟุ้งซ่าน ขาดสมาธิ
- วิตกกังวลง่าย
- ลังเล ตัดสินใจไม่ได้
- รู้สึกสับสนปั่นป่วน
- ทนเสียงอึกทึกและแสงจ้าไม่ได้
- เบื่อเพื่อนฝูงและการพบปะผู้คน
- การประสานของส่วนต่างๆ ของร่างกายแย่ลง
- โมโหง่าย
- ฝันร้ายบ่อยๆ
- ความจำเสื่อม
- มีอาการทางประสาท
- อยากฆ่าตัวตาย
หากลองเช็ค 40 อาการแล้ว แล้วเป็นมากกว่า 10 อาการ หมายความว่า คุณเข้าข่ายเป็นโรคไฮโปไกลซีเมียแล้ว
ว่าแต่ไฮโปไกลซีเมียคืออะไร อาจารย์สาทิส อินทรกำแหงกล่าวว่า ต้นเหตุของโรคนี้คือน้ำตาล ไฮโปไกลซีเมียเป็นภาวะน้ำตาลในเลือดลดต่ำ สลับกับขึ้นสูงตลอดวัน ทุกครั้งที่ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ เราจะมีอาการทั้ง 40 อาการดังกล่าวข้างต้น เนื่องจากกลไกทั้ง 6 อย่างดังที่จะกล่าวต่อไป เกิดการชำรุดเสียหาย
- อาหารประเภทแป้งขัดขาวและน้ำตาล จะถูกย่อยกลายเป็นกลูโคส
- กลูโคสเปลี่ยนไกลโคเจนเก็บไว้ที่ตับ
- ก่อนที่กลูโคสจะเป็นเป็นไกลโคเจน น้ำตาลจากอาหารจะถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือด ซึ่งจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเกิดการเปลี่ยนแปลง จนอาจเกิดอันตรายต่อร่างกายได้
- หากระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไปหรือเพิ่มเร็วเกินไป ตับอ่อนจะผลิตอินซูลินเข้าสู่กระแสเลือด เพื่อเปลี่ยนน้ำตาลเป็นแร่ธาตุอย่างอื่น และปรับระดับน้ำตาลให้เป็นปกติ
- หากน้ำตาลในเลือดต่ำเกินไป ต่อมพิทูอิทารีและต่อมไทรอยด์ในสมอง จะสั่งงานไปยังต่อมหมวกไตให้ผลิตอะดรีนาลีน ไปสั่งตับให้ปล่อยกลูโคสเข้าสู่กระแสเลือดมากขึ้น
วิธีรักษาประสิทธิภาพการทำงานของกลไกทั้ง 6 ประการ และเป็นการแก้ไขโรคไฮโปไกลซีเมีย ทำได้โดยการปรับอาหารอย่างเคร่งครัด คือ
- กินอาหารชีวจิตอย่างเคร่งครัด โดยงดของหวานอย่างเด็ดขาด หลีกเลี่ยงอาหารที่มีส่วนผสมของน้ำตาลและแป้งขัดขาว หันมากินข้าวกล้องและขนมปังโฮลวีต งดเนื้อสัตว์ใหญ่ทั้งหมด กินปลานึงหรือปลาต้มได้สัปดาห์ละ 2 ครั้ง
- กินช้าๆ ไม่เร่งรีบ การเคี้ยวอาหารให้ละเอียดจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ป่วยโรคนี้ เพราะคาร์โบไฮเดรตบางส่วนจะถูกย่อยด้วยเอนไซม์ในน้ำลาย และถูกดูดซึมผ่านผนังช่องปาก ช่วยยืดระยะเวลาในการย่อยและนำสารอาหารจากคาร์โบไฮเดรตมาใช้
- กินทีละน้อยอย่างเป็นระบบ เช่น การแบ่งเป็นมื้อเล็ก ๆ วันละ 5 มื้อ ทั้งนี้ เพื่อให้น้ำตาลที่ได้จากการย่อยอาหารถูกนำไปใช้ประโยชน์ทีละน้อย
- งดอาหารประเภทคาร์ไฮเดรตแปรรูป โดยเฉพาะที่แปรรูปจากแป้งและน้ำตาลขัดขาว เช่น ขนมขบเคี้ยวที่ทำจากแป้ง เส้นก๋วยเตี๋ยว น้ำหวาน
- งดเครื่องดื่มชา กาแฟ และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เนื่องจากคาเฟอีนจะช่วยให้การดูดซึมน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือดเป็นไปอย่างรวดเร็ว เป็นการเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดอย่างรวดเร็ว
- ลดปริมาณเกลือ เกลือในกระแสเลือดที่มีมากเกินไป ทำให้ร่างกายสูญเสียโพแทสเซียม ซึ่งเป็นตัวควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง หรือเสียความสมดุล
ลองแก้ไขเรื่องการกินอาหารก่อนเป็นอันดับแรก ต่อมาก็ลองออกกำลังกายดู จะพบว่าความสุขขึ้น สบายใจขึ้นค่ะ
อย่าลืมนะคะ มีคำถาม อินบ็อกซ์เข้ามา บ.ก.ขอหาคำตอบให้ค่ะ
อ้างอิง
- นิตยสารชีวจิต ฉบับ 157, 258, 330, 348 และ 349