มะระขี้นก

มะระขี้นก รสขม…ข่มเบาหวาน สมุนไพรริมรั้ว มากประโยชน์ สรรพคุณเลิศ – A Cuisine

ขี้

Bitter Gourd

มะระขี้นก เป็นผักที่ขึ้นตามริมรั้ว คนโบราณมักนำมาลวกจิ้มน้ำพริก กินเป็นผักแกล้ม หรือเสิร์ฟเป็นผักเคียง ด้วยรสขมของมันนั้น อาจจะไม่ค่อยถูกปากของใครหลายๆคน แต่…รู้หรือไม่ ภายใต้รสชาติที่ไม่ค่อยจะถูกปาก ได้มีการค้นพบว่า…ผักชนิดนี้สามารถรักษาเบาหวานได้! จะมีประโยชน์อย่างไรนั้นมาดูกันเลย…

ประโยชน์ต่อผู้ป่วยเบาหวาน 💗

“มะระขี้นก” มีสารหลายชนิดที่สามารถต้านเบาหวาน และมีหลายกลไกที่ออกฤทธิ์ต้านเบาหวานอีกด้วย ได้แก่ เสริมการหลั่งอินซูลินจากตับอ่อน ลดการสร้างน้ำตาลจากตับ เสริมการเผาผลาญน้ำตาล เพิ่มความไวต่ออินซูลิน เพิ่มความทนต่อกลูโคส (glucose tolerance) ยับยั้งการหลั่งกลูโคสในลำไส้เล็ก และยับยั้งเอนไซม์กลูโคไซเดส

นอกจากนี้ มะระสามารถชะลอความผิดปกติของไต และความเสื่อมของเส้นประสาทภายในร่างกายที่เกิดจากระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงสะสมเป็นเวลานาน ทั้งยังช่วยชะลอการเกิดโรคต้อกระจกในผู้ป่วยเบาหวาน ซึ่งถ้าหากรับประทานเป็นประจำก็สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติได้อีกด้วย

 

มะระกับการรักษาโรคเบาหวาน

การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดเป็นวิธีการรักษาโรคเบาหวาน หากระดับน้ำตาลในเลือดสูงอย่างต่อเนื่อง อาจสร้างความเสียหายต่อเส้นประสาท หลอดเลือด และอวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกาย หลายคนคงเคยได้ยินมาว่ามะระช่วยรักษาโรคเบาหวานได้ อาจเป็นเพราะในมะระมีสารเคมีบางอย่างทำหน้าที่เหมือนอินซูลิน ซึ่งมีรายงานการศึกษาบางชิ้นระบุว่า การรับประทานมะระอาจช่วยปรับระดับน้ำตาลในเลือดได้ และอาจมีประโยชน์ต่อผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่ 2 ด้วย แต่ในขณะเดียวกันมีการศึกษาบางส่วนที่แสดงผลแตกต่างออกไป โดยพบว่ามะระไม่ได้ช่วยปรับระดับน้ำตาลในเลือด อีกทั้งหลักฐานทางการแพทย์ก็ยังมีไม่เพียงพอจะสรุปว่ามะระมีประโยชน์ต่อผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่ 2 จริง จึงจำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติม เพื่อพิสูจน์ประสิทธิภาพของมะระในด้านนี้ให้ชัดเจนต่อไป

 

มะระกับคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ

สารอนุมูลอิสระเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เซลล์ร่างกายเกิดความเสียหาย และอาจทำให้เสี่ยงเผชิญโรคมะเร็ง โรคหัวใจ และโรคอัลไซเมอร์ โดยหลายคนเชื่อว่ามะระอาจเป็นผักสวนครัวชนิดหนึ่งที่ช่วยต้านอนุมูลอิสระได้ เนื่องจากมะระประกอบไปด้วยสารฟีนอลหลายชนิด เช่น กรดแกลลิก (Gallic Acid) กรดคาเฟอิก (Caffeic Acid) และคาเทชิน (Catechin) ซึ่งเป็นสารพฤษเคมีที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ทั้งยังมีการศึกษาที่แสดงให้เห็นว่า ใบมะระขี้นกมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระและอาจช่วยป้องกันจุดด่างดำตามผิวหนังได้ แต่การทดลองดังกล่าวเป็นเพียงการศึกษาในห้องปฏิบัติการเท่านั้น จึงจำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติมต่อไป

 

มะระกับการบรรเทากลุ่มอาการอ้วนลงพุง

อาการอ้วนลงพุงเป็นปัจจัยเสี่ยงหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ตามมา เช่น ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ หรือโรคเบาหวานประเภทที่ 2 เป็นต้น ดังนั้น การรับประทานอาหารที่ดีและมีประโยชน์ต่อสุขภาพจึงอาจเป็นทางเลือกหนึ่งของผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก ป้องกันหรือรักษากลุ่มอาการอ้วนลงพุง ซึ่งมะระขี้นกเป็นพืชที่หลายคนเชื่อว่าอาจช่วยลดน้ำหนักได้ มีการศึกษาชิ้นหนึ่งแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของอาหารเสริมที่มีส่วนผสมของมะระขี้นก โดยพบว่าหลังรับประทานอาหารเสริมชนิดนี้ไปแล้ว 3 เดือน กลุ่มทดลองมีขนาดรอบเอวเล็กลงไปจนถึงสิ้นเดือนที่ 4 แต่ประสิทธิภาพของอาหารเสริมมะระขี้นกกลับเริ่มลดลงในช่วงเดือนที่ 5 และ 6 จากผลการวิจัยจึงอาจกล่าวได้ว่า มะระขี้นกอาจส่งผลดีต่อผู้ป่วยกลุ่มอาการอ้วนลงพุงในระยะแรก ๆ

อย่างไรก็ตาม งานค้นคว้าดังกล่าวเป็นเพียงการทดลองในเบื้องต้น ศึกษากับกลุ่มทดลองบางกลุ่ม และมีผู้เข้าร่วมการทดลองจำนวนน้อย จึงจำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติมให้ชัดเจนยิ่งขึ้น เพื่อยืนยันประสิทธิภาพของมะระในด้านนี้ต่อไป

 

สรรพคุณทางยาโบราณ 🍀

🌱 รากและเถา – ใช้แก้ร้อน แก้พิษ ถ่ายบิดเป็นเลือด หรือแม้แต่รักษาฝีบวมอักเสบ และปวดฟัน

🍁 ใบ – ใช้รักษาโรคกระเพาะ บิด บรรเทาแผลฝีบวมอักเสบ ขับพยาธิ

🌸 ดอก – มีรสขมและเย็นจัด สามารถช่วยรักษาโรคบิดได้

🥔 เมล็ด – ใช้เป็นยากระตุ้นอารมณ์ทางเพศ บำรุงธาตุ และบำรุงกำลัง

🥒 ผลสด – ใช้แก้พิษร้อน และอาการร้อนใน รักษาโรคบิด ตาบวมแดง บรรเทาแผลบวมเป็นหนองและฝีอักเสบ

🍂 ผลแห้ง – ช่วยรักษาอาการของโรคหิด

 

ตำรับทางยาโบราณ

  • แก้ไข้ที่เกิดจากกระทบความร้อน

ใช้ผลสด 1 ผล ควักไส้ในออกใส่ใบชาเข้าไปแล้วประกบกันน้ำไปตากแห้งในที่ร่ม รับประทานครั้งละ 6-10 กรัม โดยต้มน้ำดื่มหรือชงน้ำดื่มต่างชาก็ได้

  • แก้ร้อนในกระหายน้ำ

ใช้ผลสด 1 ผล ขูดไส้ในออก หั่นฝอยต้มน้ำดื่ม

  • แก้บิด

ใช้น้ำคั้นจากผลสด 1 แก้ว ผสมน้ำดื่ม

  • แก้บิดเฉียบพลัน

ใช้ดอกสด 20 ดอก ตำคั้นเอาน้ำมาผสมน้ำผึ้งพอสมควรดื่ม บิดถ่ายเป็นเลือด ก็เพิ่มข้าวแดงเมืองจีน (อั่งคัก Monascus pur-pureus, Went.) อีก 2-3 กรัม บิดมูกให้เพิ่มอิ๊ชั่ว (ยาสำเร็จรูปชนิดหนึ่ง) 10 กรัม ผสมน้ำสุกรับประทาน

  • แก้บิดปวดท้อง ถ่ายเป็นเมือกๆ

ใช้รากสด 60 กรัม น้ำตาลกรวด 60 กรัม ต้มน้ำดื่ม ถ่ายเป็นเลือด ใช้รากสด 120 กรัม ต้มน้ำดื่ม

  • แก้บิดถ่ายเป็นมูกเลือดหรือเลือด

ใช้เถาสด 1 กำมือ แก้บิดมูก ใส่เหล้าต้มดื่ม แก้บิดเลือด ให้ต้มน้ำดื่ม

  • แก้แผลบวม

ใช้ผลสดตำพอก

  • แก้ปวดฝี 

ใช้ใบแห้ง บดเป็นผงชงเหล้าดื่มแก้ฝีบวมปวดอักเสบ ใช้ใบสดตำคั้นเอาน้ำทาบริเวณที่เป็นหรือใช้รากแห้งบดเป็นผงผสมน้ำพอก

  • แผลสุนัขกัด 

ใช้ใบสดตำพอก

  • แก้ปวดฟัน 

ใช้รากสดตำพอก

  • ขับพยาธิ

ใช้ใบสด 120 กรัม ตำคั้นเอาน้ำดื่ม นอกจากนี้ยังใช้เมล็ด 2-3 เมล็ด รับประทานขับพยาธิตัวกลม

  • แก้คัน แก้หิดและโรคผิวหนังต่างๆ

ใช้ผลแห้งบดเป็นผง ใช้โรยแผลแก้คันหรือทำเป็นขี้ผึ้ง ใช้ทาแก้หิดและโรคผิวหนังต่างๆ

 

ผู้ที่ห้ามรับประทานมะระขี้นก📌

ผู้ที่ม้ามเย็นพร่อง กระเพาะเย็นพร่อง หากรับประทานเข้าไปอาจจะทำให้มีอาการอาเจียน ถ่ายท้อง ปวดท้องได้ และควรรับประทานในปริมาณที่พอดี อย่าทำอะไรเกินเลย เช่นการดื่มน้ำมะระขี้นกก็อย่าขมจัด เพราะจะทำให้ตับทำงานหนัก และสำหรับหญิงตั้งครรภ์อาจจะทำให้ตกเลือดหรือแท้งได้หากรับประทานเกินขนาดหรือกินมะระขี้นกที่เริ่มสุกแล้ว

ยังไม่ควรรับประทานมะระติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ เพราะอาจจะทำให้ร่างกายเกิดการเสียสมดุล ควรเว้นระยะในการรับประทาน อีกทั้งผลสุกของมะระขี้นกก็ควรหลีกเลี่ยง เพราะผลสุกของมะระขี้นกมีสารไซยาไนต์ และสารซาโปนินที่ส่งผลโดยตรงต่อระบบประสาท รับประทานเข้าไปแล้วอาจจะทำให้เกิดอาการระบบประสาทผิดปกติ ทำให้เกิดการอาเจียน ท้องร่วงหรือช็อกหมดสติได้ค่ะ

มะระที่สุกแล้วจะมีสารซาโปนิน (Saponin) ในปริมาณมาก การรับประทานอาจทำให้มีอาการอาเจียน ท้องร่วงได้ และอาจทำให้ถึงขั้นเสียชีวิต เพราะฉะนั้นห้ามรับประทานแบบสุก ๆ

😉 อย่างที่คนโบราณกล่าวไว้ว่า “หวานเป็นลม ขมเป็นยา” จริงๆนั่นแหละครับ ได้รับสาระความรู้แล้วอย่าลืมหารับประทานกันด้วยล่ะ เพื่อสุขภาพที่ดีของแฟนเฟจทุกคน ^^

 

ขอบคุณข้อมูลจาก

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.